Page 75 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 75
มาตรฐานวิชาชีพครูและสมรรถนะครู 13-65
2.2.5 ขั้นตอนท่ี 5: การติดตามและทบทวน มีวัตถุประสงค์เพ่ือให้ทราบผลการด�ำเนินงาน
พัฒนาตามแผนพัฒนาสมรรถนะตนเองอย่างเป็นระบบและสนับสนุนต่อการพัฒนาอาชีพของบุคคล ซึ่งหลัง
จากบุคลากรได้ใช้แผนพัฒนาสมรรถนะตนเองไประยะหน่ึงแล้ว ควรมีการทบทวนแผนพัฒนาสมรรถนะ
ตนเอง โดยการนัดประชุมปรึกษากับผู้บังคับบัญชาเป็นระยะทุก ๆ หกเดือน เพ่ือรายงานความก้าวหน้าและ
การปรบั ปรงุ แผนพฒั นาสมรรถนะตนเองสว่ นตา่ ง ๆ ตามสภาวะการเปลย่ี นแปลงทอ่ี าจเกดิ ขนึ้ เชน่ เมอื่ ภารกจิ
องค์กรเปล่ียนไปก็สามารถปรับแผนพัฒนาสมรรถนะตนเองให้สอดคล้องกับภารภิจใหม่ได้ตามความ
เหมาะสม
2.3 องคป์ ระกอบของแผนการพัฒนาสมรรถนะตนเอง จากการจัดท�ำแผนพัฒนาสมรรถนะตนเอง
ของครูที่มีขั้นตอนการด�ำเนินการต่าง ๆ เพ่ือให้ครูได้แก้ปัญหาสมรรถนะท่ีเป็นจุดอ่อนของครู หรืออาจจะ
เป็นการพัฒนาหรือสร้างสมรรถนะท่ีจ�ำเป็นใหม่ให้กับครู องค์ประกอบของแผนพัฒนาสมรรถนะตนเอง
ของครูควรมีองค์ประกอบต่าง ๆ (ชัชรินทร์ ชวนวัน, 2550) ดังต่อไปน้ี
2.3.1 สมรรถนะครูท่ีจะพัฒนา สมรรถนะใดที่มีคุณภาพต่�ำจากผลการประเมิน ครูควรน�ำ
สมรรถนะนั้นมาจัดท�ำแผนพัฒนาตนเอง เช่น ครูมีสมรรถนะต�่ำเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลตามสภาพ
จริงในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระภาษาไทย ครูควรท�ำแผนพัฒนาตนเองเก่ียวกับความรู้และการ
ปฏิบัติในเรื่องการสร้างเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ภาษา การก�ำหนดเกณฑ์ในการให้คะแนนและเกณฑ์การ
ตัดสินคุณภาพผลงานของผู้เรียน ตลอดจนการายงานผลและการให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้เรียน
2.3.2 วัตถุประสงค์ของการพัฒนาสมรรถนะครู หลังจากที่ครูได้ก�ำหนดสมรรถนะที่จะ
พิจารณาแล้วครูควรก�ำหนดวัตถุประสงค์ของการพัฒนาสมรรถนะครูให้ชัดเจน เช่น ครูจะท�ำแผนพัฒนา
ตนเองเก่ียวกับการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระภาษาไทย ครูอาจ
ก�ำหนดวัตถุประสงค์ ดังน้ี 1) เพ่ือให้มีความเข้าใจเก่ียวกับการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงวิชาภาษาไทย
และ 2) เพ่ือน�ำความรู้มาใช้ในการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง กลุ่มสาระภาษาไทย ช่วงช้ันที่ 2 เป็นต้น
2.3.3 วัน เวลา และสถานที่ท่ีจะด�ำเนินการพัฒนาสมรรถนะครู เม่ือครูได้ก�ำหนดสมรรถนะ
และวัตถุประสงค์ของการพัฒนาของครู ครูจะต้องวางแผนการเก่ียวกับ วัน เวลาและสถานท่ีที่จะด�ำเนินการ
พัฒนาสมรรถนะครู เช่น ครูอาจใช้วิธีอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจาก
สถาบันอุดมการศึกษาแห่งหนึ่งแห่งใด ในวันและเวลาที่สถานบันอุดมศึกษาประกาศล่วงหน้าหรือหากมีครู
จ�ำนวนมากในเขตพ้ืนท่ีการศึกษา สถานศึกษาอาจจะรวมกลุ่มในเขตพื้นท่ีและจัดการอบรมในเขตพื้นท่ี ตาม
วัน เวลา/สถานท่ีท่ีเขตพื้นท่ีการศึกษาก�ำหนดได้
2.3.4 วิธีการท่ีใช้ในการพัฒนาสมรรถนะครู ครูจ�ำเป็นต้องระบุวิธีการที่ใช้ในการพัฒนา เช่น
วิธีศึกษาทางไกล วิธีการอบรมเชิงปฏิบัติ วิธีศึกษาต่อ การเรียนงานจากครูพี่เลี้ยง หรือใช้วิธีพัฒนาตนเอง
ควบคู่ไปกับการท�ำงานภายใต้การนิเทศของครูที่มีความเช่ียวชาญ วิธีการเหล่าน้ีต้องก�ำหนดให้ชัดเจน
เหมาะสมและทันเวลาส�ำหรับการแก้ปัญหาหรือพัฒนาสมรรถนะท่ีต้องการพัฒนาเหล่าน้ัน