Page 15 - ศิลปะกับสังคมไทย
P. 15
วรรณกรรมกบั สงั คมไทย 8-5
เรอ่ื งที่ 8.1.1
วรรณกรรมในฐานะที่เปน็ ศิลปะ
วรรณกรรม คือ งานเขียนที่มีการเรียงร้อยถ้อยคำ�อย่างไพเราะสละสลวย และสามารถสร้าง
จนิ ตนาการใหแ้ กผ่ อู้ า่ นผฟู้ งั ดงั นนั้ แลว้ วรรณกรรมจงึ สามารถจดั เปน็ งานศลิ ปะแขนงหนงึ่ ซง่ึ มคี วามแตกตา่ ง
ไปจากศิลปะแขนงอื่นๆ เน่ืองด้วยความงามท่ีเกิดจากการช่ืนชมวรรณกรรม มิได้เกิดจากการมองเห็น
สีสันอันสวยงามเหมือนอย่างงานจิตรกรรม หรือการมองเห็นรูปปั้นที่จัดได้อย่างสมส่วนเหมือนอย่าง
ประติมากรรม เพราะวรรณกรรมแสดงความงามใหผ้ ชู้ ื่นชมเหน็ ผ่านการใชภ้ าษาของกวนี ักเขยี น และการ
แสดงออกผา่ นภาษาทเี่ รา้ ใหผ้ ชู้ น่ื ชมสามารถสรา้ งจนิ ตนาการไดด้ ว้ ยตนเอง กลา่ วโดยสรปุ แลว้ วรรณกรรม
กค็ อื งานศิลปะทแี่ สดงออกผ่านทางภาษาท่ีกวีนกั เขยี นสรรมาใชน้ ่นั เอง
ส่ิงที่ช่วยสร้างความงามให้แก่วรรณกรรมไทยในฐานะท่ีเป็นศิลปะน้ัน ท่ีสำ�คัญได้แก่ วรรณศิลป์
และรสค�ำ -รสความ ซึง่ มรี ายละเอยี ด ดงั น้ี
1. วรรณศิลป์
เสฐยี รโกเศศ (2531: 18-20) ได้กลา่ ววา่ วรรณคดเี ปน็ หน่งึ ในศิลปะ 5 แขนง อนั ประกอบไปด้วย
สถาปตั ยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม ดรุ ิยางคศิลป์ และวรรณกรรม ซึง่ ตา่ งเปน็ งานท่ลี ว้ นสรา้ งขนึ้ จาก
อารมณ์สะเทอื นใจ หรอื จากจินตนาการดว้ ยการแสดงออกของศิลปนิ ในส่วนของวรรณกรรม กวีนักเขยี น
จะต้องสร้างความงามทางศิลปะข้ึนผ่านทาง “วรรณศิลป์” หรือศิลปะในการแต่งหนังสือ โดยวรรณศิลป์
ประกอบด้วยองค์ประกอบสำ�คัญ 6 องค์ประกอบ (ศิราพร ณ ถลาง และปรียา หิรัญประดิษฐ์. 2540:
320-322, คณุ หญิงกหุ ลาบ มัลลิกะมาส. 2542: 7-35) ประกอบดว้ ย
1.1 อารมณส์ ะเทอื นใจ (emotion) งานศลิ ปะเกดิ จากอารมณส์ ะเทอื นใจของศลิ ปนิ ทศี่ ลิ ปนิ แสดงออก
มาให้ผู้อื่นได้รับรู้ หากกวีนักเขียนสามารถแสดงอารมณ์สะเทือนใจออกมาให้ผู้อ่านผู้ฟังเกิดอารมณ์
คล้อยตามได้ก็เท่ากับว่ากวีนักเขียนประสบความสำ�เร็จในการแสดงอารมณ์นั้นออกมา ตรงกันข้ามหาก
กวีนักเขียนมีอารมณ์สะเทือนใจ แต่ไม่สามารถหาวิธีการแสดงออกซึ่งอารมณ์เหล่าน้ันให้ผู้อ่ืนเกิดอารมณ์
รว่ มกับกวีนักเขียนแลว้ วรรณกรรมน้ันกไ็ ม่อาจนับได้ว่ามวี รรณศลิ ป์ เช่น การท่สี มเดจ็ พระมหาสมณเจ้า
กรมพระปรมานชุ ติ ชโิ นรส ทรงมคี วามประทบั ใจในวรี กรรมของสมเดจ็ พระนเรศวรมหาราชทไี่ ดท้ รงกระทำ�
ยทุ ธหตั ถพี ชิ ติ สมเดจ็ พระมหาอปุ ราชาของพมา่ ท�ำ ใหพ้ ระองคท์ รงพระนพิ นธว์ รรณกรรมเรอื่ งลลิ ติ ตะเลง-
พา่ ยขนึ้ เพ่ือสดุดเี ทดิ พระเกียรติสมเดจ็ พระนเรศวรมหาราช
1.2 จินตนาการ (imagination) เป็นภาพที่กวีนักเขียนสร้างขึ้นไว้ในใจ โดยอาจเกิดจากอารมณ์
สะเทือนใจ ความคดิ ฝัน และประสบการณ์ของกวีนักเขยี น กวนี ักเขียนท่สี ามารถแสดงออกถงึ จินตนาการ
ของตนให้ผู้อ่านผู้ฟังเกิดภาพตามได้ ย่อมเท่ากับว่ากวีนักเขียนผู้น้ันประสบความสำ�เร็จในการแสดงออก