Page 44 - ศิลปะกับสังคมไทย
P. 44
8-34 ศิลปะกับสงั คมไทย
จากบทประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่า น้อยหน่าเสวยน้ันจะต้องคว้านเอาเมล็ดข้างในออกให้หมด
และจะต้องปอกเปลือกให้สวยงาม เพ่ือท่ีจะให้พระองค์เสวยได้ในทันทีและไม่ต้องทรงกังวลเรื่องของเมล็ด
น้อยหน่า ซ่ึงผู้ท่ีคว้านเมล็ดดังกล่าวจะต้องมีฝีมือในการคว้านและปอก มิฉะนั้นแล้วน้อยหน่าอาจช้ํา
จนดูไม่น่ารับประทาน จึงนับได้ว่าเป็นการแสดงให้เห็นถึงความประณีตบรรจงในการจัดเคร่ืองต้นให้แก่
พระมหากษตั ริย์ไดเ้ ป็นอย่างดี
ส่วนอาหารของชาวบ้านน้ันมีการกล่าวไว้ในวรรณกรรมหลายเรื่อง เช่น เรอ่ื งขนุ ชา้ งขนุ แผน ซึง่
กลา่ วถึงอาหารของชาวบ้านหลายตอน เชน่ ท่กี ลา่ วว่า
ฝา่ ยพวกแมค่ รัวทีต่ ัวยวด หุงต้มเร็วรวดอลหมา่ น
หน้าดำ�คล้าํ ไหม้ใกลเ้ ชงิ กราน บ้างซาวขา้ วสารใส่กระทะ
บา้ งต้มบา้ งพะแนงบ้างแกงขม คว่ั ยำ�ทำ�ขนมอยู่เอะอะ
สม้ สูกลูกไมใ้ ส่ธารณะ ใส่กระบะเรยี งรายไวห้ ลายใบฯ
(ขุนชา้ งขนุ แผน เลม่ 1. 2544: 39)
จะเห็นได้ว่าภาพของการบรรยายอาหารที่ปรากฏในเร่ืองขุนช้างขุนแผนนั้นอาจจะมิได้สวยงาม
มากนัก แต่ก็เป็นการแสดงให้เห็นถึงสภาพของชาวบ้านในการหุงหาทำ�อาหารอย่างสมจริง โดยแสดง
ใหเ้ ห็นภาพของแมค่ รัวท่กี ำ�ลงั รีบเร่งทำ�อาหารกนั อยา่ ง “อลหมา่ น” อยหู่ น้าเตาไฟจน “หน้าดำ�คลํา้ ไหม้”
อาหารทที่ �ำ รบั ประทานกนั นน้ั กม็ อี ยหู่ ลายอยา่ ง ทง้ั แกงตม้ แกงพะแนง แกงขม แกงควั่ ย�ำ ขนม และผลไม้
เร่ืองขุนช้างขุนแผนจึงสามารถแสดงให้เห็นถึงลักษณะอาหารของภาคกลางซ่ึงเป็นอาหารประเภทแกงได้
อยา่ งชดั เจน
ส่วนชาวบ้านท่ีอาศัยอยู่บริเวณใกล้ป่า ก็มักจะล่าสัตว์ป่ามารับประทานกัน ดังปรากฏในนิราศ
เมอื งแกลงของสุนทรภู่ ตอนหน่ึงความว่า
เวลาเช้าก็ชวนกันออกปา่ มันโม้หมาไลเ่ นอ้ื ไปเหลือหลาย
พอเวลาสายณั ห์ตะวนั ชาย ได้กระตา่ ยตะกวดกวางมายา่ งแกง
ท้งั แย้บ้งึ อึ่งอา่ งเน้อื คา่ งค่วั เขาทำ�ครัวครน้ั ไปปะขยะแขยง
ตอ้ งอดส้นิ กนิ แตข่ ้าวกับเต้าแตง จนเรี่ยวแรงโรยไปมิใครม่ ี
(นริ าศเมอื งแกลง. 2518: 103)
จากบทประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่า ชาวบ้านในสมัยก่อนมีชีวิตความเป็นอยู่ท่ีเรียบง่าย โดยมัก
จบั สัตว์ในป่ามาท�ำ อาหารดว้ ยวธิ ีง่ายๆ เชน่ การน�ำ ไปยา่ ง นำ�ไปแกง หรอื น�ำ ไปควั่ แตเ่ นอ่ื งจากสนุ ทรภู่
ไมเ่ คยตอ้ งรบั ประทานสง่ิ เหลา่ นม้ี ากอ่ น จงึ รสู้ กึ ขยะแขยง จน “ตอ้ งอดสน้ิ กนิ แตข่ า้ วกบั เตา้ แตง จนเรยี่ วแรง
โรยไปมใิ คร่ม”ี