Page 49 - ศิลปะกับสังคมไทย
P. 49

วรรณกรรมกบั สงั คมไทย 8-39

กจ็ ะเหน็ ไดว้ า่ คนไทยในชว่ งเวลาดงั กลา่ วยงั คงนยิ มปลกู บา้ นอยรู่ มิ นาํ้ เพอ่ื ความสะดวกในการคมนาคมและ
ใช้อุปโภคบริโภค นอกจากนี้ ยังแสดงให้เห็นถึงความเชื่อของคนไทยในการเก็บอัฐิบรรพชนท่ีล่วงลับไว้
ในบา้ นอกี ด้วย

       จากตัวอย่างท่ีนำ�มาแสดงข้างต้นน้ี ทำ�ให้เห็นถึงลักษณะของการสร้างบ้านเรือนของคนไทยใน
อดีตท่ีมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงข้ึนมาโดยลำ�ดับ และยังมองเห็นถึงความนิยมในการสร้างบ้านเรือนท่ีมี
ความแตกต่างกันไปตามกาลเวลา ค่านิยมของคนในสังคม และฐานะทางเศรษฐกิจ นอกจากน้ี ยังเป็น
การแสดงให้เห็นถึงความเชื่อของคนไทยในด้านต่างๆ ท้ังความเช่ือในเร่ืองฤกษ์ยาม และการเก็บอัฐิของ
บรรพชนผู้ลว่ งลบั ไว้ในบ้านอกี ดว้ ย

4. 	 การรักษาโรค

       วรรณกรรมไทยแสดงให้ผู้อ่านผู้ฟังเข้าใจวิธีการรักษาโรคภัยโดยวิธีการต่างๆ อันแสดงให้เห็น
ภูมิปัญญาและความคิดความเชื่อของคนไทยในอดีตได้อย่างชัดเจน ภูมิปัญญาในการรักษาโรคของ
คนไทยนน้ั เหน็ ไดจ้ ากการน�ำ พชื สมนุ ไพรมาใชใ้ นการรกั ษาโรค ดงั ปรากฏในวรรณกรรมหลายเรอื่ ง เชน่ การใช้
ไพลในการบรรเทาอาการปวดเม่ือย เคล็ดขัดยอก หรือฟกช้ําบวม ดังที่ปรากฏในเรื่องขุนช้างขุนแผนว่า

	 	 ชว่ ยฝนไพลใหเ้ หลวเรว็ เร็วเขา้ 	 	  อีเปลเอาขันลา้ งหนา้ ออกมาน่ี
แกตกั น้าํ ร่ํารดหมดราคี	 	 	            ช่วยขดั สีโซมขม้ินสนิ้ เปน็ ชาม
แล้วทาไพลใหห้ ลานสงสารเหลอื 	 	          นางนง่ั เสื่อลันไตปราศรัยถาม
เจา้ ชื่อไรใครบอกออกเนือ้ ความ	 	        จงึ ได้ตามข้ึนมาถึงยา่ ยายฯ

                                              (ขุนช้างขุนแผน เล่ม 1. 2544: 439)

       บทประพนั ธข์ า้ งตน้ เปน็ ตอนทพ่ี ลายงามตอ้ งเดนิ ทางจากสพุ รรณบรุ มี าอาศยั พง่ึ พงิ นางทองประศรี
ถึงกาญจนบุรี ซ่ึงเป็นระยะทางท่ีไกลมาก ดังน้ัน เม่ือนางทองประศรีทราบเร่ืองจึงให้บ่าวไพร่ช่วยกันฝน
ไพลแล้วนำ�มาทาให้แก่พลายงามเพ่ือบรรเทาอาการเมื่อยล้าจากการเดินทางไกล นอกจากเรื่องขุนช้าง
ขนุ แผนแลว้ ในนริ าศของสนุ ทรภกู่ ม็ กี ารกลา่ วถงึ การใชไ้ พลเพอื่ บรรเทาอาการปวดเมอื่ ยเชน่ กนั ดงั ปรากฏ
ในนิราศเมอื งแกลงว่า

	 	 ทา่ นชูช่วยอวยพรให้ผอ่ งแผ้ว	 	      ดังฉัตรแก้วกางกน้ั ไวเ้ หนือหวั
อตุ สา่ หฝ์ นไพลทารักษาตัว	 	 	          ค่อยยังช่วั มนึ เม่ือยท่เี หนอ่ื ยกาย

                                                   (นริ าศเมืองแกลง. 2518: 103)

       จากความท่ีปรากฏในนิราศเมืองแกลงข้างต้น สุนทรภู่ต้องเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปหาบิดาที่
บ้านกรํ่า เมืองแกลง จังหวัดระยอง ซ่ึงท่านต้องเดินทางท้ังโดยเรือและโดยเท้าเป็นเวลานานกว่าจะถึงที่
หมาย ดงั นนั้ เมอื่ พบกบั บิดาทบ่ี วชเป็นพระอย่ทู ีบ่ ้านกรํ่าแลว้ บดิ าของสนุ ทรภูจ่ งึ ฝนไพลมาทาใหส้ นุ ทรภู่
เพอื่ บรรเทาอาการเม่อื ยล้า ท�ำ ให้สนุ ทรภรู่ ู้สกึ “คอ่ ยยงั ช่วั มึนเมอ่ื ยท่ีเหนอื่ ยกาย”
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54