Page 51 - ศิลปะกับสังคมไทย
P. 51
วรรณกรรมกบั สังคมไทย 8-41
สุนทรภู่กล่าวว่าหมอผีสันนิษฐานว่าเหตุท่ีสุนทรภู่ต้องเจ็บป่วยเพราะไป “เก็บดอกไม้ท่ีท้ายเขา”
ท�ำ ให้ “ทา่ นปเู่ จา้ คมุ แคน้ ” หมอผจี งึ ท�ำ การขอขมาทา่ นปเู่ จา้ แทนสนุ ทรภู่ สนุ ทรภจู่ งึ หายจากอาการเจบ็ ปว่ ย
ซึ่งสุนทรภู่ได้แสดงทรรศนะในเชิงตำ�หนิว่า “พ่ีก็รู้อยู่ว่าปด” คือไม่เช่ือที่หมอผีกล่าว แต่สุนทรภู่เห็นว่า
“ชาวบ้านท่านถือข้างท้าวมด” จึงยอมท่ีจะ “อดนิ่งไว้ในอุรา” ไม่แสดงออกว่าตนเห็นเป็นเร่ืองงมงาย
เนื้อความข้างต้นยังแสดงให้เห็นถึงลักษณะนิสัยของสุนทรภู่ที่ค่อนข้างเป็นคนหัวสมัยใหม่ ไม่เช่ือเรื่องท่ี
ไม่สามารถพสิ จู น์ได้ เช่น เรื่องของผี เป็นต้น
จากตวั อย่างทน่ี ำ�มาแสดงขา้ งตน้ นี้ สามารถแสดงใหเ้ หน็ ถึงวิธีการรักษาโรคของคนไทยทีส่ ะท้อน
ผ่านทางวรรณกรรมได้อย่างชัดเจน โดยจะเห็นได้ว่าคนไทยในสมัยก่อนนิยมการรักษาโรค โดยการใช้
สมนุ ไพร แตห่ ากอาการยงั ไมห่ ายดี จงึ จะใหห้ มอ ทง้ั หมอพน้ื บา้ นและหมอผมี ารกั ษาอาการให้ แสดงใหเ้ หน็
ภมู ปิ ญั ญาของคนไทยในการใชพ้ ชื พรรณธรรมชาตใิ นการรกั ษาโรค ทง้ั ยงั แสดงออกถงึ ความเชอื่ ของคนไทย
ทมี่ ีตอ่ การเกิดโรคภยั ไขเ้ จ็บได้เป็นอยา่ งดี
5. การประกอบอาชีพ
วรรณกรรมไทยบันทึกภาพการประกอบอาชีพของคนไทยไว้ในวรรณกรรมหลายเร่ือง ส่วนใหญ่
มักจะเปน็ อาชีพเกษตรกรรมและคา้ ขาย ส�ำ หรบั อาชพี เกษตรกรรมนน้ั นบั ไดว้ ่าเปน็ อาชพี หลักของคนไทย
มาช้านานแลว้ นอกจากการปลูกขา้ ว คนในสังคมไทยยังปลกู พืชพรรณสวนครวั ตา่ งๆ เพอื่ การบรโิ ภคใน
ครัวเรือนและนำ�ไปขายหากมีปริมาณผลผลิตมากเพียงพอสะท้อนให้เห็นสภาพเศรษฐกิจแบบยังชีพของ
สงั คมไทย ดงั เช่น ท่ีมีการกลา่ วถงึ ในโคลงนิราศสพุ รรณ ของสนุ ทรภู่วา่
บางปลามา้ ป่าอ้อ กอรกำ�
ไมไ้ ผ่ใหญ่สลวยลำ� สะลา่ งเฟอื้ ย
ชาวบา้ นย่านนัน้ ทำ� ทไี่ ร่ ไวแ้ ฮ
ปลกู ผักฟักแฟงเลอื้ ย ลกู หอ้ ยยอ้ ยไสวฯ
(โคลงนิราศสพุ รรณ. 2518: 251)
เมื่อสุนทรภู่เดินทางผ่านอำ�เภอบางปลาม้า สุนทรภู่พบว่าชาวบ้านในท้องที่นั้นส่วนหนึ่งเป็น
เกษตรกรชาวไรท่ ี่ “ปลกู ผักฟักแฟง” เล้ียงชพี และเมื่อเดนิ ทางต่อไปถงึ บ้างสวนขิง สุนทรภู่ได้กลา่ วว่า
สวนฃิงตลิง่ แต่ลว้ น สวนมเฃือ
พรกิ เทดเม็จอรา่ มเหลอื เร่ือไหร้
กล้วยปลกู สกุ หา่ มเครือ ครบซ่ม มยมเอย
คิดค่อู ยสู่ วนได ้ แต่งตม้ ซ่มต�ำ
(โคลงนิราศสุพรรณ. 2518: 253)