Page 48 - ศิลปะกับสังคมไทย
P. 48
8-38 ศิลปะกบั สังคมไทย ตะปตู ียกเสาดั้งตง้ั ขึ้นไป
สับข่ือพรึงตดิ สนทิ ด ี เอาจนั ทนั เข้าไปรับกับอกไก่
ใสเ่ ต้าจงึ เขา้ แปลานพลัน จ่วั ใสเ่ ขา้ ฝาเชด็ หนา้ อึง
พาดกลอนผ่อนมงุ กันยุ่งไป เกะกะกบไสไชเหล็กจ้ึง
บา้ งเจาะถากถงุ้ เถยี งเสียงเอะอะ วนั หนงึ่ แล้วเสรจ็ ส�ำ เร็จการ
บ้างผ่าฟนั สนนั่ อึงคะนงึ
(ขุนชา้ งขนุ แผน เลม่ 1. 2544: 134)
จากบทประพันธ์ข้างต้น เม่ือพลายแก้วทราบว่านางศรีประจัน มารดาของนางพิม เรียกสินสอด
เป็นเรือนหอไม้กระดานขนาด 5 ห้อง จึงคุมคนเดินทางมาก่อสร้าง ซ่ึงจากเหตุการณ์ตอนน้ี ทำ�ให้เห็น
ได้ว่าคนไทยในสมัยก่อนมีวิธีการสร้างเรือนท่ีมีขั้นตอนต่างๆ โดยต้องเร่ิมต้นจากการรอฤกษ์ที่เหมาะสม
ในการก่อสร้าง เม่ือถึงฤกษ์ดีแล้วจะ “ทำ�ขวัญเสา” และเริ่มก่อสร้างเรือนตามลำ�ดับ โดยเรือนหอในสมัย
ก่อนใช้เวลาปลูกไม่นานนัก เพราะเป็นงานท่ีมีการเกณฑ์คนมาช่วยกันปลูก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความ
มีน้าํ ใจเออ้ื อาทรกนั ของคนในสังคมในอดีตไดเ้ ปน็ อย่างดี
เม่ือสังคมไทยได้รับอิทธิพลจากชาติตะวันตกมากข้ึน รูปแบบการสร้างที่อยู่อาศัยของคนไทย
ก็ได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต โดยผู้ที่มีฐานะทางสังคมได้เร่ิมท่ีจะปลูกสร้างท่ีอยู่อาศัยเป็นตึกปูนมากขึ้น
จนกลายเป็นค่านิยมของสังคมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน วรรณกรรมเรื่องส่ีแผ่นดิน ได้กล่าวถึงสภาพของ
บา้ นผูม้ ฐี านะในสมยั พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา้ เจ้าอยู่หัวไวต้ อนหน่งึ ว่า
บ้านพลอยอยู่ในคลองบางหลวง เรียกได้ว่าเป็นบ้านใหญ่ มีกำ�แพงอิฐเสริมรั้วเหล็ก
กนั้ ตลอดรมิ นา้ํ ทท่ี า่ นาํ้ มศี าลาหลงั ใหญท่ �ำ ดว้ ยไม้ ขนึ้ จากกระไดทา่ นาํ้ เดนิ ผา่ นลานกวา้ งกถ็ งึ ตวั ตกึ
เป็นที่อยู่ของเจ้าคุณพ่อ ตึกน้ันจะพูดไปก็เป็นตึกทันสมัยสำ�หรับระยะเวลาระหว่าง พ.ศ. 2425
ถึง พ.ศ. 2435 อันเป็นเวลาในรัชสมัยของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงมหาราชในกรุงรัตนโกสินทร์นี้
ตกึ น้ันเป็นตกึ กอ่ อฐิ ฉาบด้วยปูนขาว หลงั คามุงกระเบอื้ งจีนเป็นลูกฟูก หนา้ ตกึ เปน็ บนั ไดขนึ้ สองขา้ ง
มาบรรจบกัน ตรงกลางเป็นชาลาย่อมๆ แลว้ จากนั้นมีบนั ไดขึน้ ตรงไปชนั้ บนของตึก บนตกึ มีเฉลียง
เดินได้รอบ ลูกกรงมีลูกมะหวดกระเบ้ืองสีเขียวแก่ พ้นจากเฉลียงเข้าไปก็มีห้องใหญ่ๆ สามห้อง
เป็นท่ีอยู่เจ้าคุณพ่อ มีห้องเล็กๆ อีกห้องหน่ึงสำ�หรับเจ้าคุณพ่อไว้พระและอัฐิเจ้าคุณปู่และคุณชวด
ท้งั หลาย
(สีแ่ ผ่นดิน เลม่ 1. 2548: 19-20)
ผู้ประพันธ์กล่าวว่าบ้านของพลอยท่ีได้บรรยายข้างต้นนี้ สามารถจัดได้ว่าเป็น “ตึกทันสมัย”
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะเป็นอาคารที่ก่ออิฐถือปูน มุงหลังคาด้วย
กระเบ้ืองจีน มีเฉลียงท่ีสามารถเดินได้รอบ มีห้องหลายห้อง และล้อมบ้านด้วยกำ�แพงอิฐเสริมเหล็ก ซึ่ง
แสดงให้เห็นว่าเจ้าของบ้านเป็นผู้ที่มีฐานะดี จึงสามารถสร้างบ้านหลังใหญ่เช่นนี้ได้ และเป็นการแสดง
ให้เห็นถึงความนิยมในการสร้างบ้านแบบตะวันตกในสังคมไทยสมัยรัชกาลท่ี 5 ได้อย่างชัดเจน กระนั้น