Page 60 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
P. 60

15-50 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ

       ผู้ที่ต้องการพัฒนาตนเป็นผู้น�ำทางวิชาการในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษต้องวิเคราะห์ตนเองว่า
ต้องการพัฒนาการเรียนการสอนในด้านใด และตัวเองมีความรู้และประสบการณ์มากน้อยเพียงใด สามารถ
จะเป็นผู้นิเทศหรือควรอาศัยความช่วยเหลือของผู้นิเทศเพื่อพัฒนาตน ท้ังนี้ อาจเป็นผู้นิเทศในบางเร่ือง และ
เป็นผู้ถูกนิเทศในบางเรื่อง เพ่ือพัฒนาตนเองในทุก ๆ ด้านก็ได้

3. 	การเป็นพีเ่ ลี้ยง (Peer mentoring)

       ผู้ท่ีต้องการพัฒนาตนเป็นผู้น�ำทางวิชาการในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษควรจะรับหน้าท่ีเป็น
พ่ีเลี้ยง (mentor) คอยให้ความช่วยเหลือ ให้ค�ำแนะน�ำ เป็นแบบอย่าง และเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้สอนที่
เพ่ิงเร่ิมสอน (novice) หรือผู้ท่ีอ่อนประสบการณ์ในด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ โดยการนัดพูดคุย
อย่างสม่ําเสมอ ชวนให้มาสังเกตการเรียนการสอน สอนร่วมกัน ช่วยเหลือในเรื่องการจัดการเรียนการสอน
เป็นพี่เล้ียงงานวิจัย ซ่ึงวิธีการต่าง ๆ เหล่าน้ีจะท�ำให้พ่ีเล้ียงมีความเข้าใจเรื่องการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
ได้ลึกซึ้งข้ึนจากการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ และอาจน�ำไปสู่หัวข้อวิจัยได้ (Crandall, 2001)

4. 	การสอนแบบทีม (Team teaching)

       การสอนแบบทมี คอื การทผี่ สู้ อนมากกวา่ หนง่ึ คนรว่ มสอนในวชิ าเดยี วกนั ตงั้ แตเ่ รมิ่ จนจบ กระบวนการ
โดยต้องมีการวางแผนการสอนร่วมกัน สอนร่วมกัน ประเมินผลและติดตามผลร่วมกัน ซึ่งผู้ที่สอนร่วมกัน
อาจมีความสามารถและประสบการณ์เท่าเทียมกัน หรืออาจจะประกอบด้วยผู้ที่มีความสามารถและ
ประสบการณ์มากน้อยต่างกันก็ได้ แต่สมาชิกแต่ละคนในทีมจัดว่ามีสถานะเท่าเทียมกัน ส่ิงส�ำคัญในการสอน
แบบทีมให้ประสบความส�ำเร็จคือ สมาชิกทุกคนต้องเข้าใจบทบาทของกันและกัน ไว้ใจกัน และมีความเคารพ
ซึ่งกันและกัน (Richards & Farrell, 2005)

       การสอนแบบทีม ถือคติว่า สองหัวดีกว่าหัวเดียว ประโยชน์ของการสอนแบบทีม คือ ท�ำให้เกิดความ
สัมพันธ์อันดีระหว่างเพ่ือนร่วมงาน ได้เรียนรู้ความเชี่ยวชาญ (expertise) ของกันและกัน ได้ใช้ประโยชน์จาก
ความคิดและประสบการณ์ของกันและกัน ได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์จากการท�ำงานร่วมกัน และเป็น
ประโยชน์ต่อผู้เรียน เพราะได้สัมผัสกับการสอนในหลายรูปแบบ

       ในการสอนแบบทมี ใหเ้ กิดประสทิ ธภิ าพน้ัน ตอ้ งเปน็ การทำ� งานรว่ มกนั ทกุ ขน้ั ตอนอยา่ งแท้จริง ไมใ่ ช่
แบ่งงานเป็นส่วนและให้แต่ละคนในทีมรับผิดชอบเฉพาะส่วนของตน เหมือนต่างคนต่างสอนแต่สอนวิชา
เดียวกัน ดังนั้น ค�ำแนะน�ำในการสอนแบบทีมให้ได้ผล (Leavitt, 2006) คือ

       1. 	 วางแผนร่วมกันอย่างละเอียดรอบคอบ ทุกข้ันตอนของการจัดการเรียนการสอนรวมทั้งช้ินงาน
ที่จะให้ท�ำ เกณฑ์การตรวจงาน และกลวิธีการสอน เพ่ือไม่ให้เกิดความขัดแย้งในภายหลัง

       2. 	 แมจ้ ะมผี ทู้ ท่ี ำ� หนา้ ทส่ี อนเพยี งคนเดยี ว แต่สมาชิกในทีมต้องเข้าสอนด้วยกันทุกครั้ง โดยอาจเข้า
ทั้งทีมหรือผลัดกันเข้าก็ได้ แต่ไม่ควรปล่อยให้ผู้ท่ีท�ำหน้าท่ีสอนสอนตามล�ำพังคนเดียว เพราะการได้เข้าสอน
ร่วมกันท�ำให้ได้รับรู้และเรียนรู้ส่ิงท่ีสมาชิกในทีมน�ำเสนอและวิธีการน�ำเสนอ เหมือนเป็นการสังเกตการสอน
ของเพ่ือนร่วมงานด้วย และท�ำให้การเปลี่ยนถ่ายจากผู้สอนคนหน่ึงไปสู่อีกคนหน่ึงเป็นไปอย่างราบรื่น
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64