Page 59 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
P. 59
ความเป็นผู้น�ำทางวิชาการในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ 15-49
2. การนิเทศแบบเพ่อื นชว่ ยเพ่ือน (Peer coaching)
ริชาร์ดส์และฟาเรล (Richards & Farrell, 2005) ได้อธิบายถึงการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อนว่า
หมายถึงการที่ผู้สอนสองคนช่วยเหลือกันในการพัฒนาทักษะการสอน โดยการพูดคุยเปล่ียนความคิดเห็น
กันอย่างไม่เป็นทางการ สอนร่วมกันเพ่ือสังเกตการสอนของกันและกัน จัดเตรียมส่ือการสอนร่วมกัน ท�ำวิจัย
ร่วมกัน หรือร่วมกันแก้ปัญหาในการเรียนการสอน โดยผู้ท่ีท�ำหน้าท่ีเป็นผู้นิเทศ (coach) ท�ำหน้าท่ีให้ค�ำ
แนะน�ำหรือให้ค�ำวิจารณ์ฉันท์เพื่อน (critical friend) และให้ข้อมูลย้อนกลับท่ีสร้างสรรค์ (constructive
feedback) โดยไม่มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของอีกฝ่าย
ข้อดีของการนิเทศแบบเพ่ือนช่วยเพ่ือนคือ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สอนสองคนได้เห็นปัญหาการ
เรียนการสอนและช่วยกันพัฒนาหาทางแก้ พร้อมพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน (collegiality)
ไปด้วย ทั้งนี้ ผู้ที่ท�ำหน้าที่เป็นผู้นิเทศจะรู้สึกภูมิใจท่ีตนมีความสามารถในการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ
และในขณะเดียวกันก็สามารถพัฒนาทักษะการสอนของตนให้ดีย่ิงขึ้นผ่านการนิเทศเพ่ือนร่วมงาน รวมท้ัง
อาจจะได้มุมมองใหม่ในการจัดการเรียนการสอน ส่วนผู้ท่ีได้รับการนิเทศก็จะได้รับความรู้และทักษะใหม่ ๆ
จากข้อมูลย้อนกลับของผู้นิเทศ และท�ำให้เกิดความรู้สึกไม่โดดเดี่ยวที่จะต้องแก้ปัญหาด้วยตนเอง
การนิเทศแบบเพ่ือนช่วยเพ่ือนมี 3 ลักษณะ ได้แก่
1. การนิเทศทางเทคนิค (Technical coaching) คือ สถานการณ์ท่ีผู้สอนคนหนึ่งต้องการเรียนรู้
ส่ิงใหม่ ๆ หรือวิธีการสอนใหม่ ๆ และได้ขอความช่วยเหลือจากผู้สอนอีกคนหนึ่งที่มีความรู้และประสบการณ์
ในเรื่องน้ันให้มาเป็นผู้นิเทศ
2. การนเิ ทศทางวชิ าการ (Collegial coaching) คือ สถานการณ์ท่ีผู้สอนคนหนึ่งเกิดความไม่แน่ใจ
ว่าการสอนของตนมีประสิทธิภาพจริงหรือไม่ จึงขอให้ผู้สอนอีกคนหนึ่งมาเป็นผู้นิเทศโดยการเข้าสังเกต
การสอนของตนและให้ข้อมูลย้อนกลับ ซึ่งผู้นิเทศอาจจะไม่ได้มีความรู้และประสบการณ์มากกว่าผู้ที่ได้รับ
การนิเทศ แต่การที่ได้พูดคุยแลกเปล่ียนความคิดเห็นกัน จะท�ำให้เกิดการเรียนรู้ไม่มากก็น้อย จากกรณีน้ี
เห็นได้ว่า การสังเกตการสอนของเพื่อนร่วมงานจัดเป็นส่วนหน่ึงของการนิเทศแบบเพ่ือนช่วยเพ่ือน
3. การนเิ ทศเพื่อแกป้ ัญหา (Challenge coaching) คือ สถานการณ์ท่ีผู้สอนสองคนต้องการศึกษา
ปัญหาในการเรียนการสอน และท�ำงานร่วมกันเพ่ือแก้ไขปัญหาน้ัน
การนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อนแบ่งเป็น 3 ช่วง ดังน้ี
1) ช่วงเฝ้าดู (Peer watching) เป็นช่วงที่ผู้นิเทศสังเกตและเก็บรวบรวมข้อมูลเช่น จดบันทึก
ซ่ึงในระยะนี้ผู้นิเทศจะไม่เสนอความคิดเห็นหรือให้ข้อเสนอแนะใด ๆ เมื่อผู้ถูกนิเทศเร่ิมรู้สึกผ่อนคลาย
ข้ึนกับการถูกสังเกต จึงเข้าสู่ช่วงท่ีสอง
2) ชว่ งให้ข้อมลู ยอ้ นกลบั (Peer feedback) เป็นช่วงท่ีผู้นิเทศจะให้ข้อมูลย้อนกลับในรูปแบบ
ของการบรรยายหรือพรรณาข้อมูลท่ีเก็บได้ โดยไม่มีการให้ข้อเสนอแนะหรือค�ำแนะน�ำใด ๆ เช่น บอกว่าการ
ด�ำเนินการสอนเป็นไปในรูปแบบไหน ผู้เรียนมีการตอบสนองอย่างไร
3) ช่วงนิเทศ (Peer coaching) เป็นช่วงท่ีผู้นิเทศให้ข้อเสนอแนะหรือค�ำแนะน�ำในกรณีท่ี
ผู้ถูกนิเทศต้องการ