Page 58 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
P. 58

15-48 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ

       ริชาร์ดส์และฟาเรล (Richards & Farrell, 2005) ได้เสนอข้ันตอนในการสังเกตการสอนไว้ดังนี้
       ขั้นตอนท่ี 1 สังเกตการสอน และบันทึกข้อมูล ด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้แก่		

            1) เขียนบรรยาย (written narrative) สิ่งที่เกิดข้ึนในช้ันเรียน กระบวนการสอน กิจกรรมที่
ใช้ และเหตุการณ์ส�ำคัญ โดยใช้ภาษาที่เป็นกลาง ไม่มีการประเมินการสอน ซึ่งข้อดีคือได้เห็นภาพรวมของ
การจัดการเรียนการสอน ขณะท่ีขอ้ เสยี คอื ไมส่ ามารถบรรยายทกุ อยา่ งทเี่ กดิ ข้นึ ได้ เช่น คำ� พดู โต้ตอบระหวา่ ง
ผู้สอนและผู้เรียน										 	

            2)	ใช้แบบบันทึกสถานการณ์ (field notes) โดยเขียนค�ำบรรยายส้ัน ๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์
ส�ำคัญ ๆ ในระหว่างการเรียนการสอน ซึ่งข้อดีคือ เม่ือไม่มีเหตุการณ์ส�ำคัญ ผู้บันทึกอาจสังเกตเหตุการณ์
เล็ก ๆ น้อย ๆ ได้ดีข้ึน แต่ข้อเสียคือ ข้อมูลท่ีเก็บได้อาจไม่ครบถ้วน				

            3) ใช้แบบตรวจสอบรายการ (checklists) ซึ่งต้องมีประเด็นของการสังเกตไว้ก่อนแล้ว
ดังน้ันข้อดีคือมีรายละเอียดประเด็นอย่างชัดเจน แต่ข้อเสียคือรายการที่ระบุไว้อาจไม่ครอบคลุมส่ิงที่เกิดขึ้น
ระหว่างการเรียนการสอน									

       ขั้นตอนท่ี 2 อภิปรายและไตร่ตรองร่วมกัน เพ่ือให้รับทราบถึงข้อดี ข้อเสียในการจัดการเรียน
การสอน และอาจช่วยกันหาวิธีแก้ไข

       ส่วน โรว์และคณะ (Rowe et al., 2010) ได้เสนอกระบวนการสังเกตการสอนไว้ 4 ช่วง ดังน้ี
            1) 	ช่วงพูดคุยท�ำความตกลง (briefing session) ซ่ึงต้องพูดคุยกันให้ชัดเจนก่อนว่าต้องการ

ให้สังเกตการสอนในประเด็นใด เช่น สื่อการสอน การน�ำเสนอบทเรียน วิธีการสอน หรือการประเมินผล
            2) 	ช่วงสังเกตการสอน (observation) ซึ่งผู้สังเกตควรจะน่ังอยู่ในที่ที่ไม่รบกวนการเรียน

การสอน สังเกตและจดบันทึกในประเด็นท่ีได้คุยกันไว้ในช่วงพูดคุยท�ำความตกลง			
            3) 	ช่วงหลังการสังเกตการสอน (post-observation) ซ่ึงผู้สังเกตและผู้ถูกสังเกตมาน่ังคุยกัน

เพื่อสะท้อนความคิดเก่ียวกับประเด็นการสอนที่ได้ระบุไว้ ทั้งนี้ ผู้สังเกตควรจะให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับส่ิง
ท่ีดีของประเด็นการสอนในครั้งน้ันและสิ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์ถ้าได้รับการปรับปรุง ทั้งน้ีข้อแนะน�ำท่ีให้ควร
เป็นไปในทางสร้างสรรค์	

            4) 	ชว่ งจดบนั ทกึ รว่ ม (joint statement or record) ซงึ่ ผสู้ งั เกตและผถู้ กู สงั เกตรว่ มกนั บนั ทกึ
สรุปส่ิงที่ดีของประเด็นการสอนในครั้งน้ันและประเด็นที่น่าจะน�ำไปสู่การพัฒนาการเรียนการสอนได้

       การสังเกตการสอนของเพ่ือนร่วมงานจะเกิดขึ้นได้และเอ้ือต่อการพัฒนาความเป็นผู้น�ำทางวิชาการ
ในการเรยี นการสอนภาษาองั กฤษตอ้ งอาศยั ความสมั พนั ธท์ ดี่ รี ะหวา่ งเพอื่ นรว่ มงานทพ่ี รอ้ มจะใหก้ ารสนบั สนนุ
และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความจริงใจต่อกัน และรับฟังความคิดเห็นที่สร้างสรรค์ของกันและกัน
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63