Page 49 - การวิจัยเบื้องต้นทางสารสนเทศศาสตร์
P. 49

เครื่องมือการวิจัยและการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัย 5-39
                     -	 เปิดโอกาสให้ผู้สัมภาษณ์ได้อธิบายคำ�ถามหรือประเด็นที่ต้องการทราบได้ชัดเจน เพื่อ
ให้ได้คำ�ตอบที่ตรงตามที่ต้องการมากที่สุด
                     - 	ผู้สัมภาษณ์มีโอกาสปรับกระบวนการสัมภาษณ์ให้มีความยืดหยุ่นได้สูง
                2) 	ขอ้ จ�ำ กัดของการสัมภาษณ์เชงิ ลึก คือ
                     - 	เสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายสูง
                     - 	ต้องใช้ผู้สัมภาษณ์ที่มีความสามารถสูง จึงจะได้ข้อมูลที่มีคุณภาพตามต้องการ
                     - 	บางครั้งผู้ให้สัมภาษณ์อาจให้ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงทั้งหมดเพื่อเป็นการเอาใจ	
ผู้สัมภาษณ์
                     - 	ไม่สามารถตั้งข้อคำ�ถามที่กระทบความรู้สึกที่รุนแรงได้ เพราะจะได้คำ�ตอบที่ไม่เป็นจริง
เนื่องจากมีการเผชิญหน้ากันระหว่างผู้ถามและผู้ตอบ
                     - 	ข้อมูลจากการสัมภาษณ์อาจมีปริมาณมากเกินไป จนทำ�การลดทอนข้อมูลลงได้ยากใน
ตอนวิเคราะห์ข้อมูล
                     - 	อาจมีช่องว่างของความรู้ที่ห่างระหว่างผู้สัมภาษณ์กับผู้ให้สัมภาษณ์ในทางใดทางหนึ่ง
       1.2 	การจดั การสนทนากล่มุ (focus group interview) การสนทนากลุ่มมิใช่เป็นการอภิปรายกลุ่ม หรือการ
ระดมความคิดเพื่อแก้ปัญหาหรือตัดสินใจ แต่การสนทนากลุ่มเป็นการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกพร้อมทั้งใช้การสังเกต
ผู้ร่วมสนทนาไปด้วย โดยให้คนในกลุ่มมีปฏิสัมพันธ์กันโดยมีประเด็นปัญหาเป็นตัวน�ำ  แล้วสังเกตการแสดงออกของ
แต่ละคนในด้านพฤติกรรม เจตคติ และการใช้ภาษาในการสื่อสาร ฯลฯ การจัดการสนทนากลุ่มมีแนวปฏิบัติ คือการ
จัดการสนทนากลุ่ม ควรมีผู้ร่วมสนทนาครั้งละ 6-10 คน ใช้เวลาไม่ควรเกิน 1.5 ชั่วโมง และควรมีการเตรียมการด้าน
ต่างๆ ดังนี้
            1.2.1 การเตรียมการด้านผู้วิจัย
                1) 	กำ�หนดวัตถุประสงค์การจัดสนทนากลุ่มให้ชัดเจน
                2) 	ร่างกำ�หนดการคร่าวๆ ว่ามีขั้นตอนดำ�เนินการอย่างไร กำ�หนดผู้รับผิดชอบงานด้านต่างๆ ใคร
เป็นผู้จดบันทึกการสนทนา ใครเป็นผู้บันทึกเสียงการสนทนา ใครเป็นผู้ดำ�เนินการสนทนา (ส่วนใหญ่แล้วเพื่อความ
เป็นกลาง ผู้ดำ�เนินการสนทนาควรใช้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้วิจัย แต่เป็นผู้ที่มีความเข้าใจในงานวิจัยและวัตถุประสงค์ใน
การจัดการสนทนาครั้งนั้น)
                3) 	ตั้งคำ�ถามสำ�คัญประมาณ 5-6 ข้อ เป็นคำ�ถามที่ต้องการคำ�ตอบที่เป็นประเด็นสำ�คัญของการ
วิจัยที่ผู้วิจัยต้องการทราบ คำ�ถามจำ�นวนนี้จะเหมาะสมกับเวลาประมาณ 1.5 ชั่วโมง
                4) 	คัดเลือกผู้ดำ�เนินการสนทนา ดังที่กล่าวแล้วผู้ดำ�เนินการสนทนาไม่ควรเป็นตัวผู้วิจัย เพราะ
มีส่วนได้ส่วนเสียในการสนทนา ผู้ร่วมสนทนาอาจมีความเกรงใจ ไม่กล้าแสดงออกเต็มที่ บางเรื่องอยากพูดแต่ไม่
กล้าพูด หากเป็นบุคคลอื่นผู้ร่วมสนทนาจะกล้าแสดงออกมากขึ้น ถ้ามีกลุ่มสนทนาหลายกลุ่ม อาจต้องใช้ผู้ดำ�เนินการ
สนทนาหลายคน เพราะบางครั้งอาจมีการดำ�เนินการสนทนาพร้อมๆ กันหลายกลุ่ม แต่ถ้าจัดทีละกลุ่มอาจใช้ผู้ดำ�เนิน
การสนทนาเพียงคนเดียว เพื่อให้การดำ�เนินการเป็นไปในลักษณะที่ใกล้เคียงกันมากที่สุด แต่ถ้าบางครั้งผู้ดำ�เนินการ
สนทนาบางคนไม่สะดวกมาทำ�หน้าที่ให้ ต้องเตรียมหาบุคคลสำ�รองไว้
            ผู้ดำ�เนินการสนทนากลุ่มในการวิจัยทางสารสนเทศศาสตร์ควรมีลักษณะ ดังนี้
                1) 	มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีทักษะในการสื่อสารที่ดี เพื่อจะได้สร้างความเป็นกันเองในกลุ่มผู้ร่วม
สนทนา ซึ่งมาจากที่ต่างกัน อาจยังไม่คุ้นเคยกัน
                2) 	มีความสามารถในการควบคุมการสนทนาให้ดำ�เนินไปตามกรอบความคิดที่ต้องการ สามารถ
จบั ประเดน็ ไดเ้ รว็ หากผูร้ ว่ มสนทนายงั แสดงความเหน็ ไมช่ ดั เจน ตอ้ งสามารถตัง้ ค�ำ ถามยํา้ ใหม้ กี ารแสดงความเหน็ เพิม่
เติมจนผู้ร่วมสนทนาได้แสดงความเห็น และความรู้สึกที่ชัดเจนออกมาได้
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54