Page 45 - การวิจัยเบื้องต้นทางสารสนเทศศาสตร์
P. 45
เครื่องมือการวิจัยและการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัย 5-35
1.2 การสง่ แบบสอบถามทางไปรษณยี ์ ทำ�ได้ 2 วิธีคือส่งทางไปรษณีย์โดยตรงถึงกลุ่มตัวอย่าง กรณีนี้ผู้วิจัย
ต้องได้ชื่อและที่อยู่ของกลุ่มตัวอย่างที่ถูกต้องและแน่นอนแล้ว แต่ค่อนข้างเป็นไปได้ยาก ส่วนใหญ่ใช้วิธีที่ 2 คือ ส่ง
ไปยังหน่วยงานต้นสังกัดของกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการเป็นกลุ่มก้อน แล้วให้หน่วยงานนั้นดำ�เนินการเก็บข้อมูลให้
การสง่ ทางไปรษณยี จ์ ะใชก้ บั กลุม่ ตวั อยา่ งเปา้ หมายทีก่ ระจายอยูอ่ ยา่ งกวา้ งขวาง เชน่ นกั ศกึ ษาในมหาวทิ ยาลยั
ราชภัฏทั่วประเทศ ผู้ใช้บริการโทรศัพท์ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเขตจังหวัดภาคเหนือ นักสารสนเทศ
ในสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ผู้ใช้บริการห้องสมุดเฉลิมราชกุมารีในภาคอีสาน กรณีนี้ผู้วิจัยต้องติดต่อผู้บริหาร
สูงสุดของหน่วยงานนั้นๆ เพื่ออนุมัติให้จัดเก็บข้อมูลได้เป็นการล่วงหน้า เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงดำ�เนินการจัดส่ง
แบบสอบถามไปยังสถาบันนั้นๆ ซึ่งสถาบันจะด�ำ เนินการจัดส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่าง และดำ�เนินการจัดเก็บ
ส่งคืนให้ บางกรณีผู้วิจัยอาจแจ้งให้หน่วยงานทราบด้วยว่าการส่งคืนให้ผู้ตอบส่งคืนทางไปรษณีย์ ถ้าเป็นเช่นนี้เมื่อ
ผู้วิจัยจัดทำ�แบบสอบถามเสร็จแล้ว ในแผ่นสุดท้ายของแบบสอบถามต้องพิมพ์ที่อยู่ของผู้วิจัยไว้ พร้อมผนึกตรา
ไปรษณียากรด้วย เพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามนำ�ส่งทางไปรษณีย์ต่อไป
ในการวิจัยเชิงปริมาณนั้นอาจใช้วิธีการเก็บข้อมูลอย่างใดอย่างหนึ่งใน 2 วิธี หรืออาจใช้ทั้ง 2 วิธีร่วมกัน แต่
ไม่ว่าผู้วิจัยจะเก็บข้อมูลด้วยวิธีใดสิ่งที่คำ�นึงถึงคือ จำ�นวนแบบสอบถามที่ส่งไปนั้นต้องเผื่อจากจำ�นวนที่ได้จากตาราง
กำ�หนดขนาดกลุ่มตัวอย่างประมาณร้อยละ 20 เพราะโอกาสที่จะได้รับแบบสอบถามกลับคืนครบร้อยละ 100 นั้นเป็น
ไปได้ยาก
1.3 ขอ้ ดีและข้อจำ�กดั ของการเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู โดยใช้แบบสอบถามฉบับพิมพ์
1.3.1 ขอ้ ดขี องการเก็บข้อมลู ดว้ ยการส่งแบบสอบถามท่ีเปน็ ฉบับพมิ พ์ คือ
1) ค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูลไม่สูงมาก เพราะมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสำ�เนาแบบสอบถาม
ค่าเดินทางไปยังสถานที่ที่จะเก็บข้อมูล หรือค่าดวงตราไปรษณียากรส่งไปและส่งกลับ
2) การส่งแบบสอบถามสามารถกระจายออกไปได้อย่างกว้างขวาง เช่น อาจส่งไปยังกลุ่มตัวอย่าง
ได้ทั่วประเทศ เช่น ศึกษากับหัวหน้าองค์การสารสนเทศในมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ
3) ใช้ได้ดีกับกลุ่มตัวอย่างที่มีความสามารถในการอ่านสูง
4) คุณภาพของคำ�ตอบที่ได้รับกลับคืนอยู่ในระดับใช้ได้จนถึงระดับดี
5) สามารถสอดแทรกภาพประกอบเพื่อสื่อสารให้เข้าใจในการตอบได้ดี
6) สามารถตั้งคำ�ถามที่เป็นคำ�ถามที่กระทบต่อความรู้สึกของผู้ตอบได้ เพราะคำ�ถามบางคำ�ถาม
หากถามแบบสัมภาษณ์ อาจจะถามได้แต่คำ�ตอบที่ได้อาจจะไม่ใช่ความรู้สึกที่แท้จริง แต่ถ้าถามด้วยแบบสอบถาม
ผู้ตอบอ่านแล้ว กล้าที่จะตอบอย่างจริงใจเพราะไม่มีการเผชิญหน้า
1.3.2 ข้อจำ�กัดของการเกบ็ ข้อมลู ดว้ ยการสง่ แบบสอบถามทเ่ี ป็นฉบับพิมพ์ คือ
1) ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการส่งทางไปรษณีย์จะได้ข้อมูลกลับคืนนานกว่าวิธีอื่น คือ
กว่าจะได้แบบสอบถามกลับคืนครบ เฉลี่ยแล้วอยู่ระหว่าง 5-10 สัปดาห์
2) การใช้แบบสอบถามปลายเปิดให้ผู้ตอบแสดงความเห็นเพิ่มเติมมักจะไม่ได้รับการตอบสนอง
เท่าที่ควร เพราะผู้ตอบต้องเสียเวลาในการคิดเรียบเรียงความเห็น และเขียนเป็นข้อความ จึงจะไม่ค่อยตอบในส่วนนี้
3) ไม่สามารถใช้ข้อคำ�ถามที่มีความซับซ้อนได้
4) ไม่สามารถควบคุมการตอบข้อคำ�ถามให้เป็นไปตามลำ�ดับที่ต้องการ
5) อัตราการได้รับแบบสอบถามกลับคืนอยู่ในระดับ ร้อยละ 45 ถึง ร้อยละ 75 ถ้าจะให้ได้การ
ตอบรับตามจำ�นวนที่จะนำ�ไปวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีความเชื่อมั่นสูงต้องส่งแบบสอบถามไปให้มีจำ�นวนเกินกว่า
เป้าหมายที่ต้องการจริงพอควร คือต้องส่งให้มากกว่าจ�ำ นวนเป้าหมายร้อยละ 20-30 และถ้าถึงระยะเวลาที่ก�ำ หนดหาก