Page 24 - กฎหมายระหว่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ
P. 24
15-14 กฎหมายระหว่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ
เรอ่ื งท ่ี 15.2.1
พรรคการเมอื งขา้ มช าตแิ ละขบวนการทางการเมอื ง
กลุ่มการเมืองข้ามชาติ คือการรวมกันของบุคคลตั้งแต่ 2 คนที่มีวัตถุประสงค์และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ
การเมืองข ้ามพรมแดนข องรัฐ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ กลุ่มการเมืองข้ามชาติในระบบการเมือง และกลุ่มการเมือง
ข้ามช าติน อกร ะบบก ารเมือง กลุ่มก ารเมืองข ้ามช าติในร ะบบก ารเมือง ที่ส ำ�คัญ ประกอบด้วย พรรคการเมือง ขบวนการ
ทางการเมือง
1. พรรคการเมอื ง23
พรรคการเมืองค ือ การร วมกันของบุคคลที่ม ีอ ุดมการณ์หรือแนวทางทางการเมืองเดียวกัน ตั้งแต่ 2 คนขึ้น
ไปเพื่อแสวงหาอำ�นาจทางการเมืองด้วยการลงสมัครรับเลือกตั้ง พรรคการเมืองจึงเป็นสถาบันทางการเมืองที่เป็นที่
ยอมรับในการสร้างความชอบธรรมทางการเมือง การเป็นที่รวมของบุคคลที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองเดียวกันของ
พรรคการเมืองในหลายประเทศ ทำ�ให้พรรคการเมืองในประเทศแต่ละประเทศที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองเดียวกันมี
แนวโน้มท ี่จ ะป ระชุม ปรึกษาหารือ หรือแ สวงหาค วามร ่วมม ือระหว่างกัน ทำ�ให้หน้าที่ของพรรคการเมืองที่แต่เดิมเคย
สนองต อบต อ่ ค นในร ัฐม แี นวโนม้ ก ารป ฏิบัตภิ ารกิจท กี่ ว้างข วางอ อกไปภ ายนอกร ัฐ ดังเชน่ พรรคส งั คมนิยมข องป ระเทศ
ในยุโรปตะวันตกต่างประชุมปรึกษาหารือกันเพื่อกำ�หนดนโยบายข องพรรคระหว่างก ัน แสดงถึงพรรคการเมืองแ นว
สังคมนิยมในป ระเทศห นึ่งม ีความร ่วมม ือกับพรรคฝ่ายซ้ายในอ ีกประเทศห นึ่ง เป็นต้น
พฒั นาการข องค วามร ว่ มม อื ร ะหวา่ งพ รรคการเมอื งม มี าต ัง้ แตพ่ รรคการเมอื งจ ดั ต ัง้ ข ึน้ และก ารแ พรข่ ยายค วาม
คิดท างการเมืองห นึ่งอ าจม ีผ ลต ่อค วามร ่วมม ือในก ารจ ัดต ั้งพ รรคการเมืองห รือก ารส นับสนุนก ารจ ัดต ั้งพ รรคการเมือง
ตัวอย่าง ในย ุคส งครามเย็น (ค.ศ. 1945-1989) พรรคค อมมิวนิสตข์ องส หภาพโซเวียตเป็นส ถาบันท างการเมืองท ีส่ ำ�คัญ
ในก ารเผยแ พร่อ ุดมการณ์ห รือให้การส นับสนุนก ารป ฏิวัติข องพ รรคค อมมิวนิสต์ท ี่ในเวลาน ั้นเป็นพ รรคการเมืองท ี่ผ ิด
กฎหมายในประเทศห ลายป ระเทศ เช่น จีน เวียดนาม ลาว และกัมพูชา เป็นต้น จนภายห ลังพรรคค อมมิวนิสต์บรรลุ
ผลในก ารปฏิวัติ ทำ�ให้มีการเปลี่ยนแปลงการป กครอง ความสัมพันธ์ร ะหว่างพ รรคกับพ รรคยังคงอยู่ เป็นต้น
ความเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลจากโลกาภิวัตน์ที่ทำ�ให้การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมระหว่างประเทศมีความ
สลับซ ับซ ้อน ความร ่วมม ือก ันข องป ระเทศแ ต่ละป ระเทศท ำ�ใหอ้ งค์การท ีไ่ม่ใชข่ องร ัฐในค วามส ัมพันธร์ ะหว่างป ระเทศม ี
บทบาทม ากข ึ้นก ว่าในอ ดีต ภายห ลังส งครามเย็น ความร ่วมม ือท างการเมืองร ะหว่างพ รรคการเมืองเห็นได้อ ย่างช ัดเจน
ในก รณีข องเยอรมนีภ ายห ลังก ารท ำ�ลายก ำ�แพงเบอร์ลิน ใน ค.ศ. 1989 สาธารณรัฐป ระชาธิปไตยเยอรมันห รือเยอรมนี
ตะวันอ อกม กี ารเปลี่ยนแปลงก ารป กครองจ ากร ะบอบส ังคมนิยมค อมมิวนิสตม์ าเป็นป ระชาธิปไตย ภายห ลังมกี ารเลอื ก
ตั้งอย่างเสรีเป็นค ร้ังแ รก พรรคคริสเตยี นเดโมแ ครตซ่ึงเปน็ ร ฐั บาลอยู่ในเวลาน้นั นายกร ฐั มนตรีเฮลมทุ โคลท์ (Helmut
Kohl) ประกาศสนับสนุนการจัดตั้งพรรคคริสเตียนเดโมแครตที่ถือเสมือนหนึ่งเป็นพรรคสาขาในเยอรมนีตะวันออก
และม กี ารป ระกาศน โยบายก ารร วมป ระเทศเปน็ น โยบายข องพ รรค หากพ รรคไดร้ บั เลอื กต ัง้ ค รองเสยี งข า้ งม ากในร ฐั สภา
ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรคคริสเตียนเดโมแครตชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น และภายหลังได้ผลักดันการรวม
ประเทศเยอรมนีเป็นผลส ำ�เร็จ ในวันท ี่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1990 นับเป็นต ัวอย่างที่แสดงถึงบทบาทของพ รรคการเมืองใน
ประเทศหนึ่งท ี่มีต่ออ ีกประเทศห นึ่ง
23 ธโสธร ตู้ทองคำ� “หน่วยที่ 14 องค์การที่ไม่ใช่รัฐกับกระแสโลกาภิวัตน์” ใน ประมวลสาระชุดวิชากระแสโลกศึกษา หน่วยที่ 8-15
นนทบุรี สำ�นักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรร มาธิราช 2549 หน้า 14-6 และ 14–11 – 14-12