Page 51 - ไทยในเศรษฐกิจโลก
P. 51

ประเทศไทยกบั เศรษฐกิจการเมอื งระหว่างประเทศ 3-41

เรื่องที่ 3.3.1
รูปแบบของเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศหลังสงครามเย็น

       ระเบียบเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศที่มีการเผชิญหน้ากันระหว่าง 2 ค่ายอุดมการณ์ใน
รูปแบบของสงครามเย็นได้ลดระดับลงเน่ืองจากความร้าวฉานและไม่ลงรอยกันภายในค่ายมหาอ�ำนาจ
แตล่ ะคา่ ย ไมว่ า่ จะเปน็ ความขดั แยง้ ระหวา่ งสาธารณรฐั ประชาชนจนี และสหภาพโซเวยี ตในคา่ ยสงั คมนยิ ม
หรือความตึงเครียดภายในกลุ่มนาโตของค่ายเสรีนิยมเองก็ตาม รวมถึงการผ่อนคลายความตึงเครียด
(Détente) ระหวา่ ง 2 คา่ ยอดุ มการณใ์ นชว่ งระหวา่ ง ค.ศ. 1971-199014 เปน็ การแสดงใหเ้ หน็ ถงึ ความตอ้ งการ
ท่ีจะปรับความสัมพันธ์ระหว่างกันให้กลับมาอยู่ในระดับปกติ แต่การเปลี่ยนแปลงส�ำคัญที่ส่งผลต่อบริบท
เศรษฐกจิ การเมอื งระหวา่ งประเทศหลงั สงครามโลกครงั้ ที่ 2 กค็ อื การเปลย่ี นแปลงของนโยบายของสหภาพโซเวยี ต
ภายใต้การน�ำของอดีตประธานาธิบดี กอร์บาชอฟ ด้วยนโยบายเปิดกว้างและปรับโครงสร้างเน่ืองจาก
เศรษฐกจิ แบบวางแผนสว่ นกลางสง่ ผลใหเ้ กดิ ความไรป้ ระสทิ ธภิ าพเกดิ การจลาจลและวนุ่ วายภายในประเทศ
ท�ำให้สหภาพโซเวียตมีสถานภาพท่ีตกต่�ำลง การส้ินสุดลงของสงครามเย็นเริ่มต้นด้วยการรวมประเทศ
เยอรมนผี า่ นสญั ลกั ษณข์ องการพงั ทลายของกำ� แพงเบอรล์ นิ ใน ค.ศ. 1989 ตามมาดว้ ยการลม่ สลายของสหภาพ
โซเวยี ตใน ค.ศ. 1991 ซึ่งถอื วา่ เปน็ จุดจบของสงครามเย็นทด่ี ำ� เนนิ มาเกอื บครงึ่ ศตวรรษ

       การยุติของสงครามเย็นและระเบียบเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศในยุคของสงครามเย็น
นอกจากจะเปน็ การยตุ คิ วามขดั แยง้ ทมี่ รี ะหวา่ งประเทศตา่ งๆ ใน 2 คา่ ยอดุ มการณ์ ยงั สง่ ผลใหอ้ ดุ มการณ์
เสรีนิยมก้าวขึ้นมาเป็นอุดมการณ์หลักพร้อมๆ ไปกับแนวคิดเศรษฐกิจแบบทุนนิยมอย่างไม่มีคู่ต่อกรจน
นักรัฐศาสตร์อย่าง ฟรานซิส ฟูกูยามา (Francis Fukuyama, 2006) ประกาศว่าเป็นจุดสิ้นสุดแห่ง
ประวตั ศิ าสตรเ์ พราะเปน็ พฒั นาการขน้ั สดุ ทา้ ยของสงั คมมนษุ ย์ แตก่ ารสนิ้ สดุ ของความขดั แยง้ ดงั กลา่ วมไิ ด้
หมายความวา่ ความขดั แยง้ ของประเทศตา่ งๆ ในดา้ นอน่ื ๆ จะสน้ิ สดุ ลงไปดว้ ยนกั รฐั ศาสตรอ์ ยา่ ง แซมมวล
ฮันติงตัน (Samuel Huntington, 1998) พิจารณาว่าความขัดแย้งทางด้านศาสนาและวัฒนธรรมจะเป็น
ประเด็นความขัดแย้งหลักในยุคหลังการสิ้นสุดของสงครามเย็น นอกจากน้ี ความขัดแย้งระหว่างประเทศ
ยงั ไดย้ า้ ยจากการตอ่ สแู้ ขง่ ขนั กนั ในดา้ นอดุ มการณท์ างการเมอื งและเศรษฐกจิ ไปสกู่ ารแขง่ ขนั ทางเศรษฐกจิ
ระหว่างประเทศท่ีเป็นศูนย์อ�ำนาจทางเศรษฐกิจส�ำคัญในแต่ละภูมิภาค คือ สหรัฐอเมริกา ยุโรปภายใต้
การรวมกนั ในรปู ของสหภาพยโุ รป และกลมุ่ ประเทศเอเชยี นำ� ขบวนโดยญป่ี นุ่ และประเทศอตุ สาหกรรมใหม่

         14 ในชว่ งนเี้ ปน็ ยคุ ผอ่ นคลายความตงึ เครยี ดเนอ่ื งจากประเทศมหาอำ� นาจของทง้ั 2 คา่ ย ตา่ งตอ้ งการจะปรบั ความสมั พนั ธ์
ระหว่างกันให้เข้ามาอยู่ในระดับปกติ เร่ิมตั้งแต่ ประธานาธิบดีนิกสันของสหรัฐอเมริกาปรับความสัมพันธ์กับสหภาพโซเวียตและ
สาธารณรฐั ประชาชนจีนโดยเปิดการเจรจาโดยตรงกบั ทั้ง 2 ประเทศ ตวั อย่างเชน่ สหรฐั อเมรกิ ายกเลิกนโยบายปิดล้อมและแยกจีน
ใหโ้ ดดเดยี่ วโดยเปดิ ความสมั พนั ธท์ างการทตู และใหจ้ นี เขา้ มาเปน็ สมาชกิ องคก์ ารสหประชาชาตแิ ละเปน็ สมาชกิ ถาวรของคณะมนตรี
ความมั่นคง สหรัฐอเมริกาได้เปิดการเจรจาจ�ำกัดอาวุธยุทธศาสตร์เป็นคร้ังแรกท่ีกรุงเฮลซิงกิ (Helsinki) กับสหภาพโซเวียต ใน
ค.ศ. 1972 เรียกวา่ SALT-1 ทก่ี รงุ เวยี นนา (Vienna) ใน ค.ศ. 1979 และต่อมาใน ค.ศ. 1987 ไดม้ กี ารลงนามในสนธิสญั ญาทำ� ลาย
อาวุธนวิ เคลียรพ์ สิ ัยกลางท่ีกรุงวอชงิ ตัน ดีซี
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56