Page 68 - ไทยในเศรษฐกิจโลก
P. 68

3-58 ไทยในเศรษฐกิจโลก
       อยา่ งไรกต็ าม ประเดน็ เรอื่ งความไมเ่ ทา่ เทยี มกนั ในระบบการเมอื งระหวา่ งประเทศไมไ่ ดพ้ จิ ารณา

เพียงปัญหาความไม่เท่าเทียมหรือช่องว่างของรายได้ระหว่างประเทศก�ำลังพัฒนากับประเทศพัฒนาแล้ว
หรือกลุ่มคนร�่ำรวยและม่ังมีในโลกเท่าน้ัน แต่ความไม่เท่าเทียมกันยังเกิดข้ึนระหว่างกลุ่มประชากรใน
ประเทศเดยี วกนั และประเดน็ ทนี่ า่ สนใจกค็ อื ความไมเ่ ทา่ เทยี มกนั ในประเทศอตุ สาหกรรมทพ่ี ฒั นาแลว้ เชน่
สหรัฐอเมรกิ ากลบั ถ่างกวา้ งมากขน้ึ เร่ือยๆ โดยใน ค.ศ. 2010 หน่วยขา่ วกรองอเมริกนั (CIA) รายงานวา่
ความถ่างกว้างของรายได้ของครัวเรือนในสหรัฐอเมริกาอยู่ในอันดับท่ี 93 ของโลกและอยู่อันดับที่ต่�ำกว่า
หรอื แย่กวา่ ประเทศอนิ เดยี รัสเซีย จีน และอยี ิปต์เสียอกี เพราะคนอเมริกนั ทร่ี ำ่� รวยร้อยละ 1 เปน็ เจา้ ของ
ทรัพย์สินทางการเงินร้อยละ 42 ของประเทศขณะท่ีคนอเมริกันท่ีร�่ำรวยร้อยละ 5 เป็นเจ้าของทรัพย์สิน
ทางการเงินร้อยละ 70 เงินเดือนเฉล่ียของฝ่ายบริหารของบริษัทขนาดใหญ่ (CEO) ในสหรัฐอเมริกาต่อ
เงนิ เดอื นเฉลย่ี ของคนงานอเมรกิ นั สงู เพมิ่ ขนึ้ จาก 50 เทา่ ระหวา่ งปี ค.ศ. 1960-1985 เปน็ 350 เทา่ (Business
Insider, 2011)

       ส�ำหรับประเทศไทยซ่ึงได้เข้าสู่ยุคพัฒนาในช่วงทศวรรษแห่งการพัฒนาของสหประชาชาติใน
ช่วง ค.ศ. 1960-1970 เช่นเดียวกับประเทศก�ำลังพัฒนาอ่ืนๆ ภายใต้ “ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
เพื่อความทนั สมัย” หรือ “การพฒั นาประเทศไปส่คู วามเป็นอตุ สาหกรรม” ท่เี น้นการพฒั นาอุตสาหกรรม
และมเี ปา้ หมายทค่ี วามเตบิ โตทางเศรษฐกจิ ในชว่ งแผนพฒั นาฯ ฉบบั ที่ 1 ตอ่ มาจงึ ไดห้ นั มาเนน้ การพฒั นา
สังคมควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ นับต้ังแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับท่ี 2 และฉบับต่อๆ มา แต่แนวทาง
ในการพัฒนายังคงเน้นสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่งผลท่ีส�ำคัญคือ ท�ำให้เกิดปัญหาช่องว่าง
การกระจายรายไดข้ องคนในภาคสว่ นตา่ งๆ เชน่ ความไมเ่ ทา่ เทยี มกนั ระหวา่ งเมอื งกบั ชนทบท ความไมเ่ ทา่ เทยี มกนั
ระหว่างภาคอตุ สาหกรรมกับภาคเกษตรกรรม

       กล่าวคือ เมื่อพิจารณาถึงจ�ำนวนและสัดส่วนของประชากรไทยที่อยู่ใต้เส้นความยากจนจะลด
จำ� นวนลงอย่างต่อเนอ่ื งแม้ว่าจะเกิดความผนั ผวนในช่วงส้ันในช่วงวิกฤตเศรษฐกจิ พ.ศ. 2540 โดยขอ้ มูล
จากสำ� นกั งานสถติ แิ หง่ ชาติ24 พบวา่ กอ่ นวกิ ฤตเศรษฐกจิ ความเตบิ โตทางเศรษฐกจิ ของไทยสง่ ผลใหจ้ �ำนวน
คนยากจนท่ีอยู่ต่�ำกว่าเส้นความยากจนมีแนวโน้มลดลงอย่างรวดเร็วจากร้อยละ 42.2 ของประชากรทั้ง
ประเทศหรือ 22.1 ล้านคนใน พ.ศ. 2531 เหลือเพียงร้อยละ 14.8 หรือ 8.5 ล้านคนใน พ.ศ. 2539
ภายหลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ต้มย�ำกงุ้ สดั สว่ นของคนยากจนได้เพ่มิ ข้ึน แตห่ ลังจาก พ.ศ. 2543 สดั สว่ น
ของคนจนได้ลงลงอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง จากการรายงานความยากจนใน พ.ศ. 2549 ประเทศไทยมีจ�ำนวนคนจน
ทมี่ รี ายไดต้ �่ำกว่าเส้นความยากจนท่ีระดับ 1,386 บาทต่อเดอื น รอ้ ยละ 9.5 หรือประมาณ 6.1 ลา้ นคน แต่
ถา้ พจิ ารณาถงึ การวดั ความไมเ่ ทา่ เทยี มโดยคา่ ดชั นจี นี จี ะพบวา่ ชอ่ งวา่ งระหวา่ งกลมุ่ คนรำ�่ รวยและกลมุ่ คน
ยากจนเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามคือมีความถ่างกว้างขึ้นเร่ือยๆ โดยพบว่าใน พ.ศ. 2552 ค่าดัชนีจีนี
ของไทยเท่ากับ 0.425 ซงึ่ ถือว่ามีความเหลื่อมล้�ำสูงเมอื่ เทยี บกบั ประเทศอื่นๆ ในภมู ภิ าค เชน่ มาเลเซยี
อนิ โดนเี ซยี ลาว และเวยี ดนาม มเี พยี งประเทศฟลิ ปิ ปนิ สเ์ ทา่ นน้ั ทมี่ คี า่ ดชั นจี นี สี งู กวา่ ประเทศไทยคอื 0.44
และประเทศสงิ คโปร์มีคา่ ดัชนจี นี ีเท่ากบั ไทยในปี 2552 คอื 0.425 (UNDP, 2009)

         24 ดขู อ้ มลู เพมิ่ เตมิ ใน สำ� นกั งานสถติ แิ หง่ ชาติ http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/citizen/news/news_income.jsp
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73