Page 36 - ความรู้เบื้องต้นการสื่อสารชุมชน
P. 36

9-26 ความรเู้ บ้อื งตน้ การส่อื สารชุมชน

เร่ืองท่ี 9.1.5
บทบาทของสื่อต่อการพัฒนาสตรี

       จากที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น จะเห็นได้ว่าการให้ผู้หญิงก้าวออกมาแก้ไขปัญหาของชุมชนหรือ
ทอ้ งถ่ิน ทงั้ ในลกั ษณะของการเขา้ รว่ มโดยตรงหรือเปน็ ผู้สนบั สนนุ ผ้หู ญงิ ด้วยกนั น้นั การพัฒนาผู้หญงิ ใน
มิติเรื่องการสื่อสารมักไม่ค่อยได้รับการกล่าวถึงมากนัก ทั้งๆ ท่ีการสื่อสารถูกน�ำมาใช้ในการสร้างความ
เข้าใจกับประชาคม เพ่ือช่วยให้ประชาชนมีความรู้ โดยใช้ช่องทางหรือเครือข่ายการสื่อสารท่ีเป็นทางการ
เช่น การประชมุ และการส่ือสารแบบไม่เป็นทางการ เชน่ การพบปะพดู คุยกับคนอ่นื ๆ หรือกลุ่มบุคคลใน
พ้นื ท่ตี ่างๆ

       อยา่ งไรกต็ ามหลังจากที่สหประชาชาติประกาศให้ปี พ.ศ. 2518 เป็นปีสตรีสากล และสนับสนุน
ให้เวลาหลังจากนั้นเป็นทศวรรษแห่งการส่งเสริมสตรี การก�ำหนดของสหประชาชาติมีผลต่อความ
ตระหนักถึงประเด็นความเป็นหญิงความเป็นชายต่อสังคม การศึกษาต่างๆ เหล่าน้ีสอดคล้องกับแผน
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับท่ี 4 ท่ีระบุว่า ต้องมีการปรับปรุงสถานภาพของผู้หญิงในทาง
เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง โดยให้ความส�ำคัญกับโอกาสของผู้หญิงในการสร้างรายได้แก่ครอบครัว
สามารถแบ่งได้เป็น 2 ระดบั คือ

       1.	 ระดบั ครอบครัว เช่น การคุมก�ำเนดิ การเจริญพันธุ์ การท�ำแท้ง หรอื สุขภาพผูห้ ญงิ ส�ำหรบั
ประเด็นนกี้ ารสือ่ สารโดยเฉพาะสือ่ มวลชนถกู ใช้เปน็ เครือ่ งมือในการพฒั นาสตรเี ป็นอย่างมาก

       2.	 ระดับสังคม เช่น การศึกษาด้านสถานภาพและบทบาทของผู้หญิงในด้านต่างๆ รวมทั้งการ
พฒั นาสตรกี ับปญั หาตา่ งๆ ที่เกย่ี วขอ้ ง เช่น ปัญหาการค้าบริการทางเพศ

       เน่ืองจากผู้หญิงถูกจัดให้เป็นกลุ่มที่ด้อยพัฒนาและต้องได้รับการพัฒนาดังท่ีกล่าวไปแล้ว เร่ิมมี
แนวคดิ เรอื่ ง “การใช้สื่อมวลชนเพ่ือส่งเสริมความก้าวหน้าของผู้หญิง” ซงึ่ เปน็ แนวคดิ ทมี่ คี วามเกยี่ วขอ้ ง
ระหวา่ ง 2 ฝา่ ยคอื ขบวนการเคล่อื นไหวเพือ่ ส่งเสริมความก้าวหนา้ ของผหู้ ญิง (Women’s Movement)
และฝ่ายสื่อมวลชนซึ่งถูกมองว่าเป็นสถาบันและเป็นกลไกท่ีทรงพลังในการพัฒนาศักยภาพของผู้หญิง
อย่างไรก็ตามคณะกรรมาธกิ ารวา่ ด้วยสถานภาพสตรีขององค์การสหประชาชาติได้จดั ท�ำรายงานช่ือ แมส
มีเดยี อมิ เมจโรล แอนด์ โซเชียล คอนดชิ ันส์ ออฟ วเี มน (Mass Media: Image, Role, and Social
Conditions of Women) ทร่ี วบรวมและวเิ คราะหง์ านวจิ ยั เรอ่ื ง “ผหู้ ญงิ กบั สอ่ื มวลชน” จากหลายประเทศ
ทั่วโลก ทีใ่ ชอ้ ้างองิ งานวิจัยท่ีทำ� ในช่วงปี ค.ศ. 1970 จำ� นวน 180 เร่อื ง ผลการวจิ ยั พบวา่ โดยส่วนใหญ่
แล้วส่ือมวลชนท�ำหน้าท่ีสะท้อนภาพของผู้หญิงที่ไม่ก้าวหน้า ความไม่เสมอภาค ความไม่เท่าเทียม
ระหว่างชายหญิง ตามทเ่ี ปน็ อยเู่ ทา่ นน้ั และไมส่ ามารถนำ� เสนอภาพสงั คมใหมท่ พ่ี งึ ปรารถนา ทสี่ ำ� คญั ทส่ี ดุ
คอื สอื่ มวลชนยงั ทำ� หนา้ เปน็ กลไกในการผลติ ซำ�้ ความไมเ่ สมอภาค บทบาทและสถานภาพของผหู้ ญงิ แบบ
เดิมๆ เช่น วตั ถุทางเพศ เปน็ แม่ เป็นแม่บา้ น เปน็ ตน้
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41