Page 52 - ความรู้เบื้องต้นการสื่อสารชุมชน
P. 52

9-42 ความรู้เบอ้ื งตน้ การส่อื สารชุมชน

2.	 ลักษณะการส่ือสาร

       ลกั ษณะการส่อื สารในทนี่ ้ีสามารถแบง่ ออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
       2.1	การสื่อสารแบบเป็นทางการ (formal communication) หมายถึง รูปแบบการสื่อสารที่มี
ระเบียบแบบแผนมีขั้นตอนท่ีก�ำหนดไว้ โดยผา่ นระเบยี บข้อบังคบั โครงสร้างการบรหิ ารขององค์การ โดย
อาจจะเปน็ การสอื่ สารจากบนลงลา่ ง หรอื ลา่ งขน้ึ บน หรอื ในระดบั เดยี วกนั กไ็ ด้ การสอ่ื สารในลกั ษณะนเี้ กดิ
ขึ้นระหว่างชุมชนกับองค์กรภายนอกทั้งที่เป็นองค์กรของรัฐและเอกชน การส่ือสารแบบเป็นทางการน้ี
ผู้หญิงจะมองว่าเป็นวิธีการสื่อสารแบบผู้ชาย ซึ่งส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของผู้หญิง
ด้วย ดงั จะเห็นได้จากผลการวิจัยของ เนตรดาว แพทยกลุ (2544) ทศ่ี ึกษาบทบาทของผ้หู ญิงชาวบา้ นใน
การพฒั นา: กรณศี กึ ษาบทบาทของผหู้ ญงิ ในเครอื ขา่ ยชมุ ชนเมอื ง โดยผวู้ จิ ยั ไดเ้ ขา้ รว่ มสงั เกตการณใ์ นการ
ประชมุ ทง้ั ทเ่ี ปน็ ทางการและไมเ่ ปน็ ทางการ ผวู้ จิ ยั ไดส้ กดั คณุ ลกั ษณะของรปู แบบการสอื่ ความหมายทแ่ี สดง
ความเป็นทางการดังต่อไปน้ี การจัดเวทีประชุมที่มีลักษณะเป็นทางการ การใช้ท่าทีการส่ือสารแบบเป็น
ทางการ การเนน้ เหตผุ ล การแสดงอำ� นาจ การมุ่งความสำ� เรจ็ ของงาน การเน้นความกลา้ แสดงออก และ
กลา้ โตแ้ ยง้ คุณลักษณะที่เป็นทางการดังกล่าวเป็นสัญญะท่ีแสดงถึงคุณค่าความเป็นชาย จึงท�ำให้ผู้หญิง
ชาวบ้านซึ่งโดยทั่วไปมักจะไม่ค่อยมีความม่ันใจในการพูดหรือไม่กล้าโต้แย้ง ไม่กล้าแสดงออกในเวที
ประชมุ ท่เี ครอื ข่ายจดั ข้ึน ผู้วจิ ยั สรปุ วา่ เง่อื นไขของการบริหารงานภายใต้วฒั นธรรมแบบชายเป็นใหญ่ แม้
จะมีผู้หญิงเข้าร่วมในกิจกรรมการพัฒนาเป็นจ�ำนวนมาก แต่ความเป็นตัวตนของผู้หญิงกลับถูกมองข้าม
และถูกทำ� ใหก้ ลายเป็นอ่ืน (otherness)
       อยา่ งไรกต็ ามเมอ่ื ผหู้ ญงิ ไดเ้ ขา้ สปู่ รมิ ณฑลของผชู้ าย มแี นวโนม้ วา่ ผหู้ ญงิ จะเลยี นแบบวธิ กี ารสอื่ สาร
แบบผู้ชาย ดังเช่นผลการวิจัยของปุณยนุช ยอแสงรัตน์ (อ้างแล้ว) ท่ีพบว่าผู้หญิงใช้วิธีการสื่อสารแบบ
ผู้ชาย เช่น การใช้ค�ำสบถในการส่ง SMS ในรายการเล่าข่าวทั่วไปที่ยังคงเป็นพ้ืนท่ีของผู้ชาย กรณีนี้
กาญจนา แกว้ เทพ (2544: 115) อธบิ ายวา่ เปน็ กระบวนการและผลทเ่ี กดิ ขนึ้ จากการทผ่ี หู้ ญงิ ออกจากบา้ น
มาสู่ท่ีสาธารณะท่ีเรียกว่า “กระบวนการถอดความเป็นหญิงทิ้งไป” เน่ืองจากความขัดแย้งระหว่างความ
เปน็ หญงิ กบั โลกสาธารณะ ดงั นนั้ เมอื่ ผหู้ ญงิ ถกู บบี บงั คบั ใหต้ อ้ งเลอื กเพยี งอยา่ งใดอยา่ งหนงึ่ ผหู้ ญงิ จงึ ตอ้ ง
เลอื กทจี่ ะทง้ิ คณุ ลกั ษณะของความเปน็ หญงิ บางอยา่ งออกไป เชน่ การใชภ้ าษาและวธิ กี ารสอื่ สารแบบผชู้ าย
การเอาอปุ นสิ ัยแบบผูช้ ายมาใช้ เช่น โผงผาง กลา้ ได้กล้าเสยี
       สำ� หรบั ในเรือ่ งนี้สอดคลอ้ งกบั ผลการศกึ ษาของวิษณุ (อ้างแล้ว: 237) อีกเช่นกนั ที่พบว่า ในการ
เคลื่อนไหวในประเด็นการจัดการป่าชุมชนของกลุ่มแม่บ้านบ้านทุ่งยาวนั้น เม่ือต้องเจรจาเจ้าหน้าที่ป่าไม้
ซ่ึงเป็นคนของภาครัฐ กลุ่มแมบ่ ้านจะคัดเลือกแม่บ้านสมาชกิ ที่แต่งงานแลว้ มีนิสยั ชอบโต้เถยี ง คอ่ นขา้ ง
ดื้อ ที่ชาวบ้านเรียกว่า “สาวหลึก” และไม่กลัวผู้ชาย ที่ต้องเลือกแม่บ้านท่ีมีคุณลักษณะเช่นนี้เน่ืองจาก
แมบ่ า้ นทถี่ กู คดั เลอื กจะถกู วางตวั ใหน้ งั่ แถวหนา้ ในทป่ี ระชมุ คอยสง่ เสยี งโหร่ อ้ งแสดงถงึ การคดั คา้ นไมเ่ หน็
ดว้ ยซงึ่ เปน็ วธิ กี ารแสดงออกแบบผชู้ าย จนถงึ มาตรการสดุ ทา้ ยมกี ารเตรยี มแมบ่ า้ นทใี่ จถงึ ใหบ้ กุ ประชดิ ตวั
เจา้ หน้าทผี่ ูช้ าย แล้วใชม้ อื บีบอวยั วะส่วนสำ� คญั ของผ้ชู าย มาตรการเช่นนีก้ ลุม่ แม่บ้านเชือ่ ว่าเจา้ หน้าท่ีจะ
ไม่กลา้ โตต้ อบผูห้ ญงิ
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57