Page 38 - ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
P. 38

๓-28 ภาษาไทยเพือ่ การสือ่ สาร
       ไมจ่ �ำเปน็ ตอ้ งใชป้ ระโยคสมบรู ณว์ ่า
            ก : คุณไปไหนคะ
            ข : ฉันไปตลาดคะ่
       ๒)	ค�ำภาษาตลาด ภาษาสแลง เชน่
            -	 หม่ี ช้ิน สด นํ้า ไม่งอก
            -	 คุณหนึ่งกับคุณสองกำ� ลังซดเกาเหลากนั
       ประโยคที่ ๑ เปน็ ภาษาทใี่ ชส้ ื่อสารในการส่ังกว๋ ยเตย๋ี ว ใชก้ นั ท่ัวไปเป็นภาษาตลาด ส่วนประโยค

ท่ี ๒ เป็นภาษาสแลง เกาเหลา หมายถึง ไมถ่ กู กนั ความคิดเห็นไมล่ งรอยกัน มาจากสำ� นวนวา่ ไม่กินเส้น
(เกาเหลาเป็นอาหารประเภทกว๋ ยเตี๋ยว แต่ไมใ่ ส่เสน้ กค็ อื ไมก่ นิ เสน้ ส�ำนวนไมก่ นิ เสน้ ก็คือ ไมถ่ ูกกนั )

       ๓)	คำ� ตัด/คำ� ย่อ คำ� ตดั คือ ค�ำท่ีผสู้ อ่ื สารตดั พยางค์ลง แต่ยังเขา้ ใจความหมายได้ เช่น
            ถาม : เรยี นอะไร
            ตอบ : เรยี นวทิ ย์

       คำ� วา่ วิทย์ เป็นคำ� ตัดมาจาก คำ� ว่า วิทยาศาสตร์
       ตัวอย่างค�ำตัด เช่น

            กโิ ล โล ตดั จากคำ� ว่า กโิ ลกรมั หรอื กิโลเมตร ตอ้ งดคู วามหมายตามบรบิ ท
            มหาลยั ตัดจากคำ� ว่า มหาวิทยาลยั เป็นต้น
       ค�ำยอ่ เปน็ คำ� ทย่ี อ่ เพอ่ื สะดวกในการใชแ้ ตร่ ับร้กู นั เฉพาะกลมุ่ ไมใ่ ชค่ ำ� ยอ่ ทีเ่ ปน็ สากล เชน่
            นกั ศกึ ษาต้องไปตดิ ตอ่ ที่ สทว. โดยด่วน
       สทว. ในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หมายถึง ส�ำนักทะเบียนและวัดผล แต่ สทว.
ในหน่วยงานของต�ำรวจ คือส�ำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยบริการ โรงเรียนนายร้อยต�ำรวจ ดังนี้
ไม่ควรใช้ค�ำย่อในภาษาแบบแผน แต่ถ้าเป็นภาษาพูด หรือภาษาที่ใช้ในวงการนั้นๆ เป็นการรับรู้
เฉพาะกล่มุ ก็อาจใชค้ ำ� ยอ่ ได้
       ๔)	ค�ำภาษาต่างประเทศที่มีค�ำไทยใช้แล้ว ค�ำภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะค�ำภาษาอังกฤษหรือ
ภาษาฝรั่งเศสที่ยืมมาและมีศัพท์เป็นค�ำไทยใช้แล้ว นับเป็นภาษาปาก แต่บางคร้ังคนก็นิยมใช้ภาษา
ตา่ งประเทศนนั้ เชน่ โทรทศั น์ ใช้วา่ ทีวี คือ ค�ำภาษาต่างประเทศและเปน็ คำ� ยอ่ ดว้ ย
       ตัวอย่าง
            โทรสาร	 	 ภาษาปาก ใชว้ า่ 	แฟกซ์
            หอ้ งปรบั อากาศ 	 ภาษาปาก ใช้ว่า	ห้องแอร์
            ธนาคาร	 	 ภาษาปาก ใชว้ า่ 	แบงก์
       ถา้ เป็นภาษาแบบแผนต้องใช้คำ� ไทยที่บัญญัติใหใ้ ช้แทนภาษาต่างประเทศนั้น
       ๕)	ค�ำภาษาถิ่น ภาษาถิ่นถือเป็นภาษาที่ใช้เฉพาะกลุ่มคน ไม่อาจน�ำมาใช้ส่ือสารเป็นแบบแผน
ทวั่ ไปได้ เพราะอาจรบั รคู้ วามหมายไดไ้ มต่ รงกนั คำ� ภาษาถน่ิ ทค่ี วามหมายไมต่ รงกบั คำ� ในภาษามาตรฐาน
จะท�ำให้ส่ือความหมายผิด เช่น ภาษาถิ่นเหนือ ค�ำว่า อู้ มีความหมายว่าพูด แต่ภาษาถิ่นกรุงเทพฯ
หมายถึงซอชนดิ หน่ึง หรือภาษาปากหมายถงึ ถ่วงเวลาหรอื ท�ำงานอย่างไมต่ งั้ ใจ ไม่เรง่ รบี ท�ำงาน ค�ำว่า
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43