Page 35 - ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
P. 35
หลักการใช้ค�ำ เพ่ือการสอื่ สาร ๓-25
เร่ืองที่ ๓.๓.๑
ระดับของค�ำ
ค�ำในภาษาไทยมีระดับของค�ำหรือระดับภาษา ซ่ึงแบ่งตามความสุภาพ เป็นแบบแผน ลดหลั่น
ลงไป จนถึงไม่สุภาพ มีความเป็นกันเอง ทั้งนี้เพ่ือให้ผู้ส่ือสารเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบุคคล กาลเทศะ
ประเภทของงานเขียน และประเภทของการพูด ระดับของคำ� แบง่ อยา่ งกวา้ งๆ เป็น ๓ ระดับ หรือแบ่งเป็น
๕ ระดบั ดังน้ี
๓ ระดับ ๕ ระดับ
๑. ระดบั ภาษาแบบแผน ๑. ระดบั ภาษาพิธกี าร
๒. ระดบั ภาษาราชการ
๒. ระดบั ภาษากึง่ แบบแผน ๓. ระดบั ภาษาก่ึงราชการ
๔. ระดับภาษาสนทนา
๓. ระดบั ภาษาปาก ๕. ระดับภาษาปาก หรอื เรียกว่าระดบั ภาษา
ตลาด ภาษาคะนอง ภาษาสแลง
๑. ระดับภาษาแบบแผน (Formal)
ภาษาแบบแผน คือ ค�ำที่มีความสุภาพ เป็นแบบแผน ถ้าเป็นระดับภาษาพิธีการ จะรวมค�ำ
ราชาศัพท์ และค�ำสภุ าพด้วย ภาษาแบบแผนจะใช้กับข้อเขยี นประเภทงานวิชาการ เช่น ตำ� รา บทความ
ทางวชิ าการ งานวจิ ยั หนงั สอื ราชการ ถา้ เปน็ การพดู กจ็ ะใชส้ ำ� หรบั คำ� กลา่ วทเ่ี ปน็ พธิ กี ารหรอื ทางการ เชน่
พระบรมราโชวาท พระราโชวาท คำ� กลา่ วรายงาน คำ� กราบบงั คมทลู คำ� กลา่ วเปดิ งานทเี่ ปน็ ทางการ เปน็ ตน้
ลักษณะของภาษาแบบแผน มดี ังนี้
๑) ใชค้ ำ� สุภาพ เปน็ ศัพท์ราชการ ศพั ท์บญั ญัติ
๒) ไมใ่ ชค้ �ำยอ่ เชน่ ต�ำแหนง่ ค�ำนำ� หนา้ ช่อื (นางสาว) วนั เดอื น เปน็ ตน้ ต้องเขียนคำ� เต็ม
๓) ไม่ใชค้ ำ� ภาษาต่างประเทศทีม่ คี ำ� ไทยใช้แลว้
๔) น้าํ เสียงของขอ้ เขียน มีลักษณะเครง่ ขรึม เป็นกลาง ไมเ่ สยี ดสยี ั่วลอ้ หรอื ตลกขบขัน คำ� ศพั ท์
ท่ีเป็นภาษาวิชาการ และศัพท์บัญญัติต้องเป็นค�ำที่ราชบัณฑิตยสถานก�ำหนดและผู้ใช้ยอมรับใช้ รับรู้
ความหมายรว่ มกัน เช่น
แบงก์ (bank) ใชว้ ่า ธนาคาร
แบงก์ (bank-note) ใชว้ ่า ธนบตั ร
แท็กซี่ (taxi) ใชว้ ่า รถยนตโ์ ดยสารรับจา้ ง