Page 17 - ความเป็นครู
P. 17
คุณธรรมจริยธรรมส�ำหรับครู 14-7
เรอ่ื งที่ 14.1.1 ความส�ำคญั ของคณุ ธรรมจริยธรรมต่อครูและ
วิชาชีพครู
คุณธรรมจริยธรรมมีความส�ำคัญต่อครูและวิชาชีพครู ครูจึงต้องเข้าใจความหมายและความส�ำคัญ
ของคุณธรรมจริยธรรมที่มีต่อบุคลากรครูและวิชาชีพครู ดังน้ี
1. ความหมายของคุณธรรมจริยธรรม
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายของคุณธรรมและจริยธรรมไว้
แตกต่างกัน ดังนี้
คุณธรรม หมายถึง สภาพคุณงามความดี (2556, น. 263)
จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม (2556, น. 303)
นอกจากความหมายข้างต้นแล้ว พจนานุกรมลองแมน (Longman, 2003) ได้ให้ความหมายของ
ค�ำว่าคุณธรรมและจริยธรรม สรุปได้ดังนี้
คุณธรรม (Virtue) คือ สภาพความดีของลักษณะและพฤติกรรม คุณภาพความดีเฉพาะในลักษณะ
ของบุคคล ประโยชน์หรือข้อได้เปรียบท่ีท�ำให้ของบางอย่างดีกว่าหรือให้ประโยชน์ได้มากกว่า (Longman,
2003, p. 1841)
จริยธรรม (Ethic) คือ ความคิดหรือความเชื่อท่ีมีอิทธิพลต่อความประพฤติและเจตคติของบุคคล
หลักการของความประพฤติส�ำหรับการตัดสินใจว่าสิ่งใดผิดหรือถูก (Longman, 2003, p. 533)
ศีลธรรม (Moral) คือ หลักการหรือมาตรฐานของความประพฤติดี (Longman, 2003, p. 1066)
ความหมายของคุณธรรมจริยธรรมที่ใช้ในสังคมจึงยังไม่ชัดเจนตายตัว แต่ก็มีความหมายหลักใน
แนวทางเดียวกันคือเป็นหลักของการท�ำดีเพื่อประโยชน์ของผู้ปฏิบัติ ผู้เกี่ยวข้อง และสังคม อนึ่งในหน่วยน้ี
จะกล่าวถึงคุณธรรมจริยธรรม ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554
คณุ ธรรมและจรยิ ธรรมจงึ มคี วามหมายใกลเ้ คยี งกนั และมคี วามสมั พนั ธก์ นั โดยคณุ ธรรมเปน็ สภาพ
ท่ีพึงประสงค์ในด้านความดี ความควร ความถูกต้อง ส่วนจริยธรรมเป็นการปฏิบัติไปสู่สภาพที่พึงประสงค์
นั้น คุณธรรมจึงเป็นสภาพทางจิตใจท่ีจะโน้มน�ำการกระท�ำให้เกิดการประพฤติปฏิบัติสิ่งท่ีดี และไม่ประพฤติ
สิ่งที่ไม่ดี ดังนั้น คุณธรรมจะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้เกิดจริยธรรม และจริยธรรมเป็นผลของการมีคุณธรรม
หรืออีกนัยหน่ึงคุณธรรมเป็นเรื่องของความจริงแท้หรือสัจธรรม ส่วนจริยธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์ท�ำขึ้น แต่งขึ้น
ตามเหตุผลของมนุษย์ หรือตามความต้องการของมนุษย์