Page 20 - ความเป็นครู
P. 20
14-10 ความเป็นครู
1.2 ความเข้มแข็ง แบ่งเป็นความเข้มแข็งทางกายภาพ ได้แก่ กล้าเส่ียง กล้าเผชิญความยาก
ล�ำบาก อันตราย และความตายเพื่ออุดมการณ์ และความเข้มแข็งทางจิตใจ รวมท้ังกล้าเผชิญการถูกใส่ร้าย
การเยาะเย้ย การถูกเข้าใจผิดโดยมั่นใจว่าตนท�ำดี
1.3 ความพอเพยี ง มนุษย์มีสัญชาตญาณท่ีจะกระตุ้นให้ท�ำกิจการบางอย่างเพ่ือการอยู่รอดของตน
และเผ่าพันธุ์ ซึ่งเม่ือหมดความจ�ำเป็นสัญชาตญาณนั้นก็จะหยุดท�ำงานโดยอัตโนมัติ นอกจากน้ันมนุษย์ยัง
สามารถสำ� นกึ และปลกุ สญั ชาตญาณไดต้ ามใจ มนษุ ยจ์ งึ ใชส้ ญั ชาตญาณเลยเถดิ เกนิ ความจำ� เปน็ ตามธรรมชาติ
จนบางครั้งเป็นการใช้สัญชาตญาณเพ่ือความพึงพอใจเท่าน้ัน การไม่รู้จักควบคุมพลังในตัวให้อยู่ในขอบเขต
ของจุดมุ่งหมายของชีวิต มักจะก่อให้เกิดปัญหายุ่งยากมากมายแก่ตัวเองและสังคม เนื่องจากเม่ือคนหนึ่งใช้
พลังเกินขอบเขตอย่างไม่ถูกต้อง ก็มักจะก้าวก่ายสิทธิอันชอบธรรมของผู้อ่ืน เช่น การส่ังสมสมบัติด้วยวิธีที่
ไม่ถูกต้อง คุณธรรมความพอเพียงจึงช่วยให้รู้ว่าอะไรควรอยู่ในขอบเขตแค่ไหน ขณะเดียวกันการไม่ใช้
สญั ชาตญาณเลยจะทำ� ใหเ้ ปน็ คนไร้พลงั และไร้ประโยชน์ การใชส้ ญั ชาตญาณเกนิ ขอบเขตก็จะกอ่ ใหเ้ กิดความ
เดือดร้อน จึงต้องฝึกให้รู้จักใช้พลังและสัญชาตญาณในขอบเขตอันควรตามสภาพและฐานะของบุคคล
ความพอเพียง เป็นการเดนิ สายกลางระหว่างกเิ ลสทีต่ รงกนั ขา้ ม เชน่ ความเขม้ แข็งเปน็ ทางสายกลาง
ระหว่างความขี้ขลาดกับความบ้าบิ่น ความพอเพียงเป็นทางสายกลางระหว่างการขาดกับการเกิน ท้ังน้ีทาง
สายกลางมิได้หมายถึงการบวกกันหารสองด้วยวิธีการทางเลขคณิต แต่หมายถึงการเก็บข้อดีจากท้ังสองข้าง
ที่เลยเถิด เพื่อด�ำเนินชีวิตให้สูงข้ึนไปเรื่อย ๆ ดังน้ัน แม้ทางสายกลางจะอยู่ระหว่างกิเลสท่ีตรงข้ามกัน
แต่ก็อยู่คนละระดับกับกิเลส
1.4 ความยุติธรรม ได้แก่ การให้แก่ทุกคนตามความเหมาะสมโดยต้องรู้ว่าเรามีก�ำลังให้เพียงใด
ควรใหแ้ กใ่ คร อยา่ งไร โดยจำ� เปน็ ตอ้ งมคี ณุ ธรรมความรรู้ อบ ความเขม้ แขง็ และความพอเพยี งเขา้ มาก�ำกบั ดว้ ย
ความยุติธรรมน้ีถือเป็นคุณธรรมพ้ืนฐานของคุณธรรมทุกอย่าง เป็นแก่นหรือสารัตถะของคุณธรรม
ทุกชนิด คุณธรรมอ่ืน ๆ เป็นเพียงแง่ต่าง ๆ ของความยุติธรรม ผู้ที่มีความยุติธรรมสูงจึงเพียบพร้อมด้วย
คุณธรรมทุกอย่าง มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยในตัว แต่สังคมพยายามนิยามความยุติธรรมเพื่อตอบสนอง
ความเห็นแก่ตัวอยู่เนือง ๆ จึงต้องพิจารณาว่าอะไรคือความยุติธรรมท่ีต้องปฏิบัติในสังคม ใครควรได้รับ
ความยุติธรรมแค่ไหน ใครเป็นผู้ก�ำหนดกรอบและกระบวนการความยุติธรรม
2. คุณธรรมตามหลกั ศาสนา
ศาสนาตา่ ง ๆ มีหลกั ธรรมทช่ี ่วยให้บคุ คลเปน็ คนดีโดยมีตวั อย่างหลกั คุณธรรมจรยิ ธรรมทางศาสนา
ท่ีส�ำคัญ ได้แก่
2.1 ศาสนาพทุ ธ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) (2547, น. 21-22) ได้ระบุว่าคนมีศีลธรรมหรือ
มีมนุษยธรรมที่เรียกได้ว่าเป็นอารยชน เป็นผู้มีธรรม 10 ข้อ เรียกว่า กุศลธรรมบถ (ทางท�ำกรรมดี) หรือ
ธรรมจริยา ซึ่งจัดเป็นอารยธรรมที่ครบถ้วนสมบูรณ์โดยท�ำให้คนเจริญข้ึนพร้อมท้ังทางกาย ทางวาจา ทางใจ
ธรรมจริยา 10 ข้อนี้ ประกอบด้วย