Page 16 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 16
1-6 ส่ือ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เรื่องท่ี 1.1.1 สอ่ื การศึกษา
การศึกษา หรือการเรียนการสอนโดยท่ัวไปเป็นกระบวนการถ่ายทอดความรู้ ทักษะ ประสบการณ์
และเจตคตจิ ากผสู้ อนไปยงั ผเู้ รยี น ซงึ่ การเรยี นการสอนวทิ ยาศาสตรก์ ม็ กี ระบวนการเชน่ เดยี วกนั กระบวนการ
ถ่ายทอดความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และเจตคติจากผู้สอนไปยังผู้เรียนน้ีเป็นกระบวนการสื่อสาร ดังนั้น เรา
จึงต้องท�ำความเข้าใจเก่ียวกับกระบวนการส่ือสารเสียก่อนว่ากระบวนการสื่อสารของคนเรานั้นเป็นอย่างไร
และมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ท้ังนี้ เพื่อท่ีจะได้เข้าใจถึงบทบาทของส่ือในกระบวนการส่ือสาร หรือในท่ีนี้คือ
ส่ือในการเรียนการสอนได้ดียิ่งข้ึน
กระบวนการส่อื สาร
กระบวนการส่ือสาร หมายถึง กระบวนการถา่ ยทอดขอ้ มูล ข่าวสาร ความรู้ ทกั ษะ หรือประสบการณ์
จากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร เดวิด เค. เบอร์โล (David Berlo) ได้อธิบายกระบวนการส่ือสาร โดยเขียนเป็น
โมเดลง่าย ๆ ดังนี้
SMCR Model of Communication
(ผู้ส่งสาร) (สาร) (ช่องทาง) (ผู้รับสาร)
ภาพท่ี 1.1 David Berlo's (1960) SMCR Model of Communication
โมเดลการสื่อสารของเดวิด เบอร์โล น้ันอธิบายไว้ว่า ในกระบวนการสื่อสารจะประกอบไปด้วย
4 องค์ประกอบคือ 1) ผู้ส่งสาร (Source) 2) สาร (Message) 3) ช่องทาง (Channel) และ 4) ผู้รับสาร
(Receiver) หรือท่ีรู้จักกันท่ัวไปว่าโมเดล S-M-C-R โดยมีรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบ ดังนี้
1) ผู้สง่ สาร (Source) ได้แก่ ผู้ที่เป็นต้นก�ำเนิดของสาร หรือข้อมูลที่จะส่งไปยังผู้รับสาร
2) สาร (Message) ได้แก่ ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ เจตคติที่ผู้ส่งต้องการส่งไปให้ผู้รับ
3) ช่องทาง (Channel) หมายถึง ช่องทางในการรับสาร ได้แก่ ประสาทในการรับรู้ท้ัง 5 ของคนเรา
คือ การฟัง การมองเห็น การสัมผัส การดมกลิ่น และการรับรส ซ่ึงการสื่อสารจะส่งผ่านช่องทางเหล่านี้
ทางใดทางหนึ่งหรือหลายทาง ข้ึนอยู่กับสารที่จะส่ง
4) ผรู้ บั สาร (Receiver) ผู้รับสารจะท�ำหน้าที่ในการรับข้อมูล หรือสารท่ีผู้ส่งสารส่งมา