Page 17 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 17

แนวคิดเก่ียวกับส่ือและนวัตกรรมทางการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ 1-7

       โมเดลการสื่อสารของเบอร์โลนี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานท่ีว่า การส่ือสารจะด�ำเนินไปได้อย่างมี
ประสิทธิภาพและประสบผลส�ำเร็จนั้น ผู้ส่งสารและผู้รับสารจะต้องมีคุณสมบัติที่คล้ายคลึงกัน เช่น มีทักษะ
ทางด้านการสื่อสาร อันได้แก่ ความสามารถในการอ่าน เขียน พูด หรือฟัง ท่ีใกล้เคียงกัน มีสังคม วัฒนธรรม
ท่ีเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน เป็นต้น

       โมเดลการส่ือสารของเบอร์โลแม้จะดูเรียบง่าย แต่ก็ยังมีข้อจ�ำกัดและข้อบกพร่องอีกหลายประการ
เช่น

       1) 	ผู้ส่งสารและผู้รับสารต้องมีคุณสมบัติ หรือปัจจัยท่ีเกี่ยวข้องต่าง ๆ ที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่
เป็นไปไม่ได้ในชีวิตจริง เช่น ผู้ส่งสารที่เป็นผู้สอนและผู้รับสารท่ีเป็นผู้เรียนน้ัน จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน
อย่างมาก

       2) 	กระบวนการส่ือสารเป็นแบบทางเดียวจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารเท่านั้น ไม่มีผลย้อนกลับหรือ
ไม่มีการตอบสนองจากผู้รับสาร เช่น ถ้าเราถามนักเรียนว่า “พืชใช้อะไรในการสังเคราะห์แสง” หากไม่มี
ผลย้อนกลับ หรือไม่มีค�ำตอบจากนักเรียน การสื่อสารนั้นก็ยังไม่สมบูรณ์เพราะเรายังไม่ได้รับค�ำตอบ
นั่นก็คือยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของการสื่อสารนั่นเอง

       3) 	ไม่ได้กล่าวถึงอุปสรรค (Barrier) หรือสิ่งรบกวน (Noise) ในการสื่อสาร เช่น ผู้รับไม่มีความ
สนใจท่ีจะรับ หรือผู้รับสนใจแต่จะรับสารท่ีตนเองชอบ หรือตรงกับความต้องการของตนเองเท่าน้ัน นอกจาก
น้ันปัจจัยภายนอก เช่น สภาวะแวดล้อม และส่ิงเร้าอ่ืน ๆ ท่ีส่งผลต่อการสื่อสารก็ไม่ได้กล่าวถึงด้วย
เช่นเดียวกัน

       เพื่อที่จะแก้ไขปรับปรุงโมเดลของเบอร์โล วิลเบอร์ แชรมพ์ (Wilbur Schramm) ได้เสนอรูปแบบ
ของกระบวนการสื่อสารที่มีลักษณะเป็นห่วง (Loop) ของกระบวนการที่ต่อเนื่องกันไป เขาให้ความส�ำคัญกับ
การเข้ารหัสและการถอดรหัสมาก โดยให้เหตุผลว่าข้อมูลจะไม่มีประโยชน์อะไรจนกว่ามันจะถูกถ่ายทอด
ไปสู่ผู้รับ การเข้ารหัส (Encode) เป็นข้ันตอนที่ส�ำคัญเพราะเป็นขั้นตอนแรกเร่ิมของกระบวนการสื่อสาร
ที่จะแปลงความรู้ ความคิด ทักษะหรือประสบการณ์ให้กลายเป็นสาร (Message) ที่จะส่งไปยังผู้รับ เมื่อผู้รับ
ได้รับสารก็จะต้องท�ำความเข้าใจว่าผู้ส่งต้องการที่จะส่ือสารอะไร โดยท�ำการถอดรหัส (Decode) สารท่ีส่ง
มาน้ัน แต่ตราบใดท่ีผู้รับสารยังไม่สามารถถอดรหัสได้ว่าผู้ส่งสารต้องการจะสื่อสารอะไร สารท่ีส่งมาน้ัน
ก็จะไม่มีประโยชน์อะไร
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22