Page 18 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 18
1-8 ส่ือ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ภาพที่ 1.2 Schramm’s Model of communication
ที่มา: ปรับจาก http://www.tutorialspoint.com/management_concepts/communication_models.htm
โมเดลกระบวนการสื่อสารของแชรมพ์ประกอบไปด้วย 8 องค์ประกอบ คือ
1) ผู้ส่งสาร (Interpreter/Source) หรือจุดเริ่มต้นของการสื่อสาร ซ่ึงหมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล
หรือองค์กร ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการในการถ่ายทอดสาร
2) สาร (Message) ได้แก่ เนื้อหาสาระที่จะถ่ายทอดหรือแลกเปล่ียนกัน สารน้ีเป็นได้ทั้งค�ำพูด
ตัวอักษร สัญลักษณ์หรือลักษณะท่าทางต่าง ๆ ที่ใช้เพ่ือสื่อความหมาย
3) การเข้ารหัส (Encode) เป็นการแปลงสารให้อยู่ในรูปแบบท่ีจะสามารถใช้ส่งไปตามช่องทาง
การสื่อสารได้ ซึ่งโดยปกติแล้วรูปแบบเหล่านี้จะเป็นรูปแบบท่ีคนเราไม่สามารถเข้าใจหรือแปลความหมายได้
เช่น การแปลงเสียงพูด หรือคลื่นเสียงให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นแสง หรือคล่ืนวิทยุ เป็นต้น
4) ช่องทาง หรือส่ือ (Channel) คือ ตัวกลางหรือระบบท่ีใช้ในการถ่ายทอดสารที่ได้มีการเข้ารหัส
แล้วจากท่ีหนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง (จากผู้ส่งไปยังผู้รับ)
5) การถอดรหัส (Decode) เป็นการแปลงสารที่เข้ารหัสมาแล้ว ให้กลับไปเป็นสารในรูปแบบท่ี
คนเราสามารถเข้าใจความหมายได้ เช่น การแปลงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าให้กลับไปเป็นเสียงหรือภาพ เป็นต้น
6) ผู้รับสาร (Interpreter/Receiver) หรือจุดหมายปลายทางของการสื่อสาร หมายถึง บุคคล
กลุ่มบุคคล หรือองค์กรที่เป็นเป้าหมายในการรับสารของผู้ส่งสาร
7) ผลย้อนกลับ (Feedback) เป็นปฏิกิริยาตอบสนองที่ผู้รับสารมีต่อผู้ส่งสาร เป็นวิธีการระหว่าง
ผู้ส่งและผู้รับท่ีใช้ในการปรับการเลื่อนไหล (flow) ของกระบวนการส่ือสาร
8) ส่ิงรบกวน (Interference) ได้แก่ ส่ิงรบกวนท่ีเกิดขึ้น ในระหว่างการแลกเปล่ียนข้อมูลข่าวสาร
ที่อาจท�ำให้เกิดการแปลความหมายผิด หรือบิดเบือนไป