Page 21 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 21
แนวคิดเกี่ยวกับสื่อและนวัตกรรมทางการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ 1-11
2) ส่อื โสตทัศน์ ได้แก่ กราฟิก วัสดุลายเส้น รูปภาพ เทปเสียง และวีดิทัศน์ เป็นต้น
3) สื่อมวลชน ได้แก่ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์
4) ส่ืออิเลก็ ทรอนิกส์และโทรคมนาคม ได้แก่ โทรศัพท์ โทรสาร วิทยุสื่อสาร โทรทัศน์ปฏิสัมพันธ์
ระบบการประชุมทางไกล เครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
หรือถ้าแบ่งสื่อตามช่องทางในการส่งและรับสาร สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1) สือ่ บคุ คล หรือส่ือแบบเผชญิ หน้า (บางครั้งเรียกสื่อปฏิสัมพันธ์ เนื่องจากเป็นสื่อท่ีผู้เรียน
สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนได้ แต่ปัจจุบันปฏิสัมพันธ์ก็สามารถด�ำเนินการผ่านส่ือในระบบการศึกษา
ทางไกลได้ โดยไม่จ�ำเป็นต้องเป็นการสอนแบบเผชิญหน้า) หมายถึงครูผู้สอนหรือบุคคลที่มีความรู้ความ
สามารถในการถ่ายทอดความรู้ และทกั ษะตา่ ง ๆ ให้กบั ผูเ้ รียน เชน่ ผู้เช่ียวชาญหรือผู้ทีม่ คี วามรคู้ วามสามารถ
ผู้ที่มีประสบการณ์เฉพาะด้าน ผู้ท่ีเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่าง ๆ
เป็นต้น
2) ส่ือที่ส่งทางไปรษณีย์ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์หรือส่ืออื่นที่สามารถจัดส่งได้ทางไปรษณีย์ เช่น
ซีดีเสียง หรือวีซีดี เป็นต้น
3) สื่ออิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม หมายถึง ส่ือที่ผลิต หรือพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ควบคู่กับ
อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือเครือข่ายโทรคมนาคม เช่น ภาพยนตร์ รายการวิทยุโทรทัศน์ รายการ
วิทยุกระจายเสียง เทปวีดิทัศน์ ส่ือคอมพิวเตอร์ช่วยสอน รายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมหรือผ่านเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต อีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) หรือเอ็มเลิร์นน่ิง (m-Learning) เป็นต้น
ปจั จบุ นั การแบง่ ประเภทของส่อื ทำ� ไดย้ ากขึ้น เน่อื งจากสอื่ ส่วนใหญเ่ ปลี่ยนไปอยใู่ นรูปของส่ือดิจทิ ลั
ท�ำให้เกิดการหลอมรวมของส่ือ (Media convergence) ท�ำให้ยากที่จะระบุ หรือจ�ำแนกว่าเป็นสื่อ
ประเภทใด ส่งผลให้สื่อที่เกิดจากการหลอมรวมมีคุณสมบัติของสื่อหลาย ๆ ประเภทรวมอยู่ด้วยกัน ดังท่ีจะ
ได้กล่าวโดยละเอียดในเร่ืองของการหลอมรวมของส่ือในตอนต่อไป
หลังจากศึกษาเน้ือหาสาระเรื่องที่ 1.1.1 แล้ว ปฏิบัติกิจกรรม 1.1.1
ในแนวการศึกษาหน่วยท่ี 1 ตอนท่ี 1.1 เร่ืองท่ี 1.1.1