Page 36 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 36

2-26 ส่ือ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

เรื่องที่ 2.1.3 	สอ่ื ของจรงิ และของตวั อยา่ งทใ่ี ชใ้ นการนำ� เสนอแนวคดิ
          ทางชวี วิทยา

       ในการน�ำเสนอแนวคิดทางชีววิทยา ส่ือที่ดีท่ีสุดก็คือการให้ผู้เรียนได้ศึกษาจากของจริง หรือของ
ตวั อยา่ ง ของจรงิ หรอื ของตวั อยา่ งมคี ณุ คา่ มากตอ่ การเรยี นการสอนชวี วทิ ยา เนอื่ งจากเหมาะสมแกก่ ารสงั เกต
โดยใช้ประสาทสัมผัสได้ครบท้ัง 5 ด้าน สามารถต้ังแสดงหรือใช้ประกอบการอภิปรายได้ เป็นต้น ซึ่งใน
เรื่องน้ีจะได้น�ำเสนอความหมายและประเภทของของจริงและของตัวอย่าง ของจริงและของตัวอย่างท่ีใช้ใน
การน�ำเสนอแนวคิดทางชีววิทยา และการเตรียมของจริงและของตัวอย่างเพื่อใช้ในการน�ำเสนอแนวคิดทาง
ชีววิทยา

1. 	ความหมายและประเภทของจรงิ และของตวั อยา่ ง

       1.1 	ของจริง (Real things) อาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ของจริงตามสภาพเดิมและของจริง
แปรสภาพ

            1) 	ของจรงิ ตามสภาพเดมิ (Unmodified real) หมายถึง ของจริงท่ียังคงรักษาลักษณะเดิมตาม
ความเป็นจริงทุกอย่าง ยังไม่ถูกแปรสภาพ นอกจากน�ำออกมาจากสิ่งแวดล้อมเดิม ของจริงเหล่านี้อาจเป็น
ของจริงตามธรรมชาติหรือสิ่งท่ีมนุษย์สร้างขึ้น ตัวอย่างของจริง ได้แก่ ต้นไม้และสัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นต้น
ในการน�ำเสนอแนวคิดทางชีววิทยาน้ันการใช้ของจริงเป็นส่ิงท่ีดีที่สุดเพราะผู้เรียนจะได้แนวคิดหรือข้อมูล
ที่ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด

            2) 	ของจริงแปรสภาพ (Modified real) หมายถึง ของจริงท่ีถูกเปล่ียนสภาพจากลักษณะเดิม
ของมัน ซึ่งอาจตัดหรือเลือกเฉพาะส่วนที่ส�ำคัญมา เช่น หัวใจหมู หัวกะโหลก ชิ้นส่วนของโครงกระดูก
พืชอบแห้ง และสัตว์ดอง เป็นต้น
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41