Page 38 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 38

2-28 ส่ือ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

                                    ภาพท่ี 2.10 สไลดถ์ าวร

ทม่ี า: 	 จรรยา วรรัตน์. (2559). โรงเรียนชุมชนวัดแสนตุ้ง จังหวัดตราด.

2. 	ของจริงและของตวั อยา่ งท่ีใช้ในการน�ำเสนอแนวคิดทางชีววทิ ยา

       ของจริงและของตัวอย่างที่ครูผู้สอนชีววิทยาสามารถใช้ในการน�ำเสนอแนวคิดทางชีววิทยาน้ัน
มีอยู่เป็นจ�ำนวนมาก ในท่ีนี้ขอน�ำเสนอของจริงและของตัวอย่างที่เป็นพืชและสัตว์ ดังนี้

       2.1 	พชื ของจริงและของตัวอย่างที่เป็นพืชมักถูกใช้ในการน�ำเสนอแนวคิดทางชีววิทยา ดังตัวอย่าง
ต่อไปนี้

            1) 	การน�ำเสนอแนวคิดทางชีววิทยาท่ีเก่ียวกับโครงสร้างและส่วนประกอบทางสัณฐานวิทยา
(Morphology) ของพืช ซ่ึงผู้เรียนเรียนรู้แนวคิดทางชีววิทยาจากการสังเกตและทดลอง ดังตัวอย่างต่อไปน้ี

                (1) 	ของจรงิ ทเ่ี ปน็ พืช ตัวอย่างเช่น มอส หวายทะนอย เฟิน สาหร่ายหางกระรอก ว่าน
กาบหอย ต้นชบา เป็นต้น มักถูกน�ำมาใช้ในการน�ำเสนอแนวคิดทางชีววิทยาเกี่ยวกับลักษณะและโครงสร้าง
หรือส่วนตา่ ง ๆ ของพชื โดยใหผ้ ้เู รียนสังเกต เช่น ลำ� ต้น ดอก ราก ใบ เปน็ ตน้ ซึง่ สามารถสังเกตไดท้ ัง้ ลกั ษณะ
ภายนอกและลักษณะภายใน เช่น ลักษณะภายนอกของดอก และลักษณะภายในออวุล โดยการสังเกต
ด้วยตาเปล่าหรือใช้แว่นขยาย เป็นต้น

                (2) 	ของตัวอย่างท่ีเป็นพืช ตัวอย่างเช่น สไลด์ถาวรท่อล�ำเลียงพืชใบเลี้ยงเดี่ยว/
ใบเลี้ยงคู่ ซึ่งมีท้ังท่อล�ำเลียงในล�ำต้น ราก ใบ สไลด์ถาวรเซลล์พืช เซลล์คุมหรือปากใบ เป็นต้น มักถูกน�ำมา
ใช้ในการน�ำเสนอโครงสร้างภายในท่ีไม่สามารถสังเกตได้โดยตรงจากตาของมนุษย์จากของจริง เช่น
ท่อล�ำเลียงน้ําและอาหาร (xylem/phloem) รูปร่างลักษณะ และส่วนประกอบของเซลล์พืช โดยการใช้เทคนิค
เช่น การย้อมสีส่วนที่ต้องการเน้นให้ผู้เรียนสังเกตเห็น เป็นต้น “สไลด์ถาวรเน้นให้ผู้เรียนสังเกตเพื่อสร้าง
แนวคิดทางวิทยาศาสตร์โดยไม่ต้องท�ำสไลด์ด้วยตนเอง”
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43