Page 43 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 43

สื่อที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนชีววิทยา 2-33

เรอื่ งท่ี 2.2.1 	สอื่ ทใ่ี ชส้ ำ� หรับการสงั เกตทางชีววทิ ยา

       การสังเกต หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหน่ึง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู
จมูก ล้ิน และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งการสังเกตเชิงปริมาณ
การสังเกตเชิงคุณภาพ และการสังเกตการเปลี่ยนแปลง โดยไม่ลงความเห็นของผู้สังเกต

       การสังเกตอาจใช้ประสาทสัมผัสโดยตรงหรือใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ท่ีช่วยขยายขอบเขตของ
การสังเกตในแต่ละประสาทสัมผัสให้กว้างหรือลึกย่ิงข้ึน

       นอกจากน้ี การสังเกตทางชีววิทยา ประกอบด้วย การสังเกตลักษณะภายนอก การสังเกตลักษณะ
ภายใน ท้ังเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมท้ังมีการสังเกตการเปล่ียนแปลงที่เกิดขึ้นจากกระบวนการต่าง ๆ
ของส่ิงมีชีวิตด้วย

       ดงั นนั้ ในการนำ� เสนอเรอื่ งสอื่ ทใ่ี ชส้ ำ� หรบั การสงั เกตทางชวี วทิ ยานี้ จงึ ขอนำ� เสนอสอื่ ทใ่ี ชใ้ นการสงั เกต
ตามประสาทสมั ผัสทั้ง 5 รวมทั้ง ควบคู่ไปกับเคร่อื งมอื หรอื อปุ กรณท์ ี่ช่วยขยายขอบเขตของการสังเกต พร้อม
กบั น�ำเสนอตวั อย่างของการสงั เกตลักษณะภายนอก การสงั เกตลกั ษณะภายในท้ังเชงิ คณุ ภาพและเชงิ ปรมิ าณ
รวมท้ังการสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากกระบวนการของส่ิงมีชีวิตด้วย

1. 	สอ่ื ทีใ่ ชส้ ำ� หรับการสังเกตทางตา

       1.1 	การสงั เกตโดยใช้ตาเปลา่ ผู้เรียนจะสามารถสังเกตของจริงที่มีขนาดใหญ่พอท่ีจะเห็นด้วยตาเปล่า
หรือลักษณะของของจริงท่ีมีความแตกต่างมีความแตกต่างกันชัดเจน เพ่ือให้ได้ข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูล
เชิงคุณภาพ ตัวอย่างการสังเกตเชิงปริมาณ เช่น การสังเกตดอกไม้ เพื่อให้ได้ข้อมูลน�ำมาสู่การสรุปแนวคิด
เก่ียวกับจ�ำนวนกลีบของดอกไม้ เช่น จ�ำนวนกลีบของดอกเข็ม ดอกชบา ดอกผักบุ้ง ตัวอย่างการสังเกต
เชิงคุณภาพ เช่น การสังเกตใบไม้เพื่อให้ได้แนวคิดว่าใบไม้ส่วนใหญ่มีสีเขียวแต่ใบของพืชบางชนิดก็มีสี
แตกต่างไป ส่วนรูปร่างลักษณะของใบก็มีท้ังคล้ายกันและต่างกัน เช่น ใบมะนาวไม่มีแฉก ใบต�ำลึงมีแฉก
เป็นต้น หรือการสังเกตรูปทรงต่าง ๆ ของพืช เช่น เป็นล�ำต้นตรงสูงขึ้นไป หรือเป็นเถาเล้ือยเกาะกับต้นอ่ืน
การสังเกตความแตกต่างของดอกไม้และผลไม้ต่าง ๆ เช่น ดอกอัญชันมีสีม่วงเข้ม ส่วนดอกมะลิมีสีขาว หรือ
การสังเกตเมล็ดพืชหลาย ๆ ชนิดในด้านลักษณะรูปร่าง ขนาด สี เป็นต้น

       การสังเกตด้วยตาเปล่าสามารถใช้ในการสังเกตการเปลี่ยนแปลงท่ีเกิดจากการกระบวนการต่าง ๆ
ในสิ่งมีชีวิตได้ เช่น การสังเกตการล�ำเลียงนํ้าของพืช โดยใช้ต้นผักกะสังหรือผักกาดขาวแช่ในนํ้าสี หรือการ
สังเกตการคายนํ้าของพืช โดยใช้ก่ิงไม้ที่มีใบ แช่ในน้ํา ใช้ถุงพลาสติกใสครอบใบมัดไว้ และวางไว้กลางแดด
เป็นต้น
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48