Page 44 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 44

2-34 ส่ือ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

       1.2 	การสังเกตโดยใช้แว่นขยาย แว่นขยาย สามารถใช้เป็นสื่อให้ผู้เรียนได้สังเกตส่ิงมีชีวิตหรือ
ชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิตท่ีมีขนาดเล็กได้ มีประโยชน์มากส�ำหรับการสังเกต เนื่องผู้เรียนมักต่ืนเต้นที่ได้เห็นสิ่ง
ต่าง ๆ มีขนาดใหญ่ข้ึน และเห็นรายละเอียดอย่างชัดเจน เช่น ตัวมด ตัวแมลงหวี่ ใบไม้ เส้นผม ผิวหนัง
เป็นต้น

       ส�ำหรับการสังเกตลักษณะภายในก็สามารถใช้แว่นขยายได้ เช่น การสังเกตรังไข่ของดอกไม้ ซ่ึงต้อง
ใช้ใบมีดโกนในการผ่ารังไข่ออกเป็นสองส่วนก่อน ซึ่งผ่าได้ท้ังตามยาวและตามขวาง แล้วใช้แว่นขยายในการ
ส่องดูลักษณะของรังไข่และออวุล เป็นต้น

       1.3 	การสังเกตโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ กล้องจุลทรรศน์มีหลักการท�ำงานโดยใช้ความรู้พ้ืนฐานทาง
วิทยาศาสตร์เก่ียวกับการสะท้อนและการหักเหของแสง ครูผู้สอนชีววิทยาสามารถใช้กล้องจุลทรรศน์ให้
ผู้เรียนสังเกตสิ่งท่ีมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เช่น ตรวจดูหยดนํ้าจากบึง แม่น้ํา และน้ําฝน ศึกษาเซลล์พืชและ
เซลล์สัตว์ เช่น เซลล์คุมของใบ เซลล์เยื่อบุแก้ม เซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว เซลล์กล้ามเนื้อ เพื่อ
ตรวจดูรูปร่างและส่วนประกอบของเซลล์ เช่น นิวเคลียส ใช้เพ่ือศึกษาจุลินทรีย์หรือแบคทีเรีย เป็นต้น

       กล้องจุลทรรศน์ สามารถใช้เป็นสื่อให้ผู้เรียนได้สังเกตสิ่งมีชีวิตหรือช้ินส่วนของสิ่งมีชีวิตท่ีมี
ขนาดเล็กได้ เช่น อบั เรณูของเกสรตัวผู้ ใช้ในการศึกษาเน้ือเยื่อทัง้ ทต่ี ัดตามขวางและตดั ตามยาว เช่น เนอ้ื เยอื่
ของล�ำต้นพืช ใบพืช รากพืช และเน้ือเย่ือสัตว์ การสังเกตการไหลของเลือด การสังเกตเซลล์เม็ดเลือด
การสังเกตหัวใจหอยทาก

       ใช้กล้องจุลทรรศน์ในการสังเกตสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น แบคทีเรีย ยีสต์ ยูกลีนา
       ใช้กล้องจุลทรรศน์ในการสังเกตเซลล์พืช เช่น ใบสาหร่ายหางกระรอก เม่ือสังเกตภายใต้
กล้องจุลทรรศน์โดยให้แสงสว่างมาก ๆ จะเห็นการเคลื่อนไหวภายในเซลล์ท่ีเรียกว่า ไซโคลซิส หรือโพรโท-
พลาสมิก สตรีมมิง (Cyclosis หรือ Protoplasmic streaming)
       ใช้กล้องจุลทรรศน์ในการสังเกตลักษณะของโครโมโซมและข้ันต่าง ๆ ของการแบ่งเซลล์
       ใชก้ ลอ้ งจลุ ทรรศนอ์ เิ ลก็ ตรอนในการสงั เกตออรแ์ กเนลล์ ทง้ั โครงสรา้ งและตำ� แหนง่ ทอ่ี ยภู่ ายในเซลล์
เช่น ไมโทคอนเดรีย เป็นต้น
       1.4 	เครื่องมือท่ีช่วยในการสังเกตลักษณะภายใน เคร่ืองมือผ่าตัด เป็นส่ือท่ีใช้ในการจัดการเรียน
การสอนชีววิทยา ที่ใช้ในการสังเกตลักษณะภายในของพืชและสัตว์ เช่น ลักษณะภายในของดอกไม้ ลักษณะ
ภายในของไส้เดือนดิน ลักษณะภายในของตั๊กแตน ลักษณะภายในของปลา ลักษณะภายในของกบ ลักษณะ
ภายในของนก ลักษณะภายในของหัวใจ เป็นต้น เครื่องมือที่ใช้ในการผ่าตัด ได้แก่ มีดผ่าตัด กรรไกรผ่าตัด
กรรไกรตัดกระดูก ถาดผ่าตัด เป็นต้น
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49