Page 39 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 39

ส่ือท่ีใช้ในการจัดการเรียนการสอนชีววิทยา 2-29

            2) 	การน�ำเสนอแนวคิดทางชีววิทยาท่ีเก่ียวกับสรีรวิทยา (Physiology) ของพืช เช่น
การล�ำเลียงนํ้า การสังเคราะห์ด้วยแสง การตอบสนองต่อปัจจัยทางกายภาพและชีวภาพของพืช ซ่ึงผู้เรียน
เรียนรู้แนวคิดทางชีววิทยาจากการสังเกตและทดลอง เช่น การใช้ผักกะสังหรือผักกาดขาว (ทั้งต้นหรือตัดมา
เพียงบางส่วน) ในการทดลองและสังเกตการล�ำเลียงนํ้าของพืช การใช้ผักบุ้งในการทดลองและสังเกตผลของ
การสังเคราะห์ด้วยแสง ปัจจัยท่ีจ�ำเป็นส�ำหรับการสังเคราะห์ด้วยแสง หรือแนวคิดเกี่ยวกับการตอบสนอง
ต่อแสงของพืชโดยการเบนเข้าหาแสง การตอบสนองต่อการสัมผัส การตอบสนองต่อฮอร์โมน รวมท้ังการใช้
เมล็ดผักบุ้งหรือเมล็ดถ่ัวในการน�ำเสนอแนวคิดทางชีววิทยาโดยให้ผู้เรียนทดลองและสังเกตเกี่ยวกับปัจจัย
ท่ีส�ำคัญที่เกี่ยวข้องกับการงอกของเมล็ด เป็นต้น

            3) การนำ� เสนอแนวคดิ ทางชวี วทิ ยาทเ่ี ปน็ กระบวนการระดบั เซลล์ เช่น ใช้พืชโตเร็ว เพื่อศึกษา
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ลักษณะเด่น ลักษณะด้อย โดยการทดลองปลูกพืชโตเร็วที่มีลักษณะ
ต่าง ๆ ท้ังลักษณะเด่นและลักษณะด้อย ผสมพันธุ์พืช แล้วสังเกตลักษณะปรากฏในรุ่นลูกและรุ่นหลาน

       2.2 	สตั ว์ ของจริงและของตัวอย่างที่เป็นสัตว์ท่ีมักใช้ในการน�ำเสนอแนวคิดทางชีววิทยา ดังตัวอย่าง
ต่อไปน้ี

            1) 	การน�ำเสนอแนวคิดทางชีววิทยาท่ีเก่ียวกับโครงสร้างและส่วนประกอบทางสัณฐานวิทยา
ภายนอก (Morphology) และโครงสร้างและอวัยวะภายใน (Anatomy) ของสัตว์ ซึ่งผู้เรียนเรียนรู้แนวคิด
ทางชีววิทยาจากการสังเกตและทดลอง ดังตัวอย่างต่อไปน้ี

                (1) 	ของจริงที่เป็นสัตว์ ตัวอย่างเช่น พลานาเรีย ไส้เดือน หมึก แมลง กบ ปลา
หัวใจหมู เป็นต้น มักถูกน�ำมาใช้ในการน�ำเสนอแนวคิดทางชีววิทยาเก่ียวกับลักษณะและโครงสร้าง
หรืออวัยวะต่าง ๆ ของสัตว์โดยให้ผู้เรียนสังเกต ซึ่งสามารถสังเกตได้ทั้งลักษณะภายนอกและลักษณะภายใน
โดยการสังเกตด้วยตาเปล่าหรือใช้แว่นขยาย เช่น ส่วนหัว ล�ำตัว อก ท้อง ปีก ครีบ กระดูก แขน ขา ล�ำไส้
หัวใจ ลักษณะภายในหัวใจ เส้นเลือด ล้ินหัวใจ ผนังห้องหัวใจ เป็นต้น

                (2) 	ของตัวอย่างที่เป็นสัตว์ ตัวอย่างเช่น สไลด์ถาวรพลานาเรียท้ังตัว สไลด์ถาวร
พลานาเรียตัดตามขวางและตัดตามยาว สไลด์ถาวรเซลล์สัตว์ เป็นต้น

            2) 	การน�ำเสนอแนวคิดทางชีววิทยาที่เก่ียวกับสรีรวิทยา (Physiology) ของสัตว์ เช่น การ
ตอบสนองต่อปัจจัยทางกายภาพและชีวภาพต่าง ๆ เช่น แสง อุณหภูมิ การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต โดย
ใช้พลานาเรีย ไส้เดือน โดยให้ผู้เรียนทดลองและสังเกตเก่ียวกับการตอบสนองต่อแสง อุณหภูมิ พฤติกรรม
การสืบพันธุ์ เป็นต้น

            3) 	การนำ� เสนอแนวคดิ ทางชวี วทิ ยาทเี่ ปน็ กระบวนการระดบั เซลล์ เช่น ใช้แมลงหว่ี เพื่อศึกษา
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ลักษณะเด่น ลักษณะด้อย โดยการทดลองเลี้ยงแมลงหวี่ที่มีลักษณะ
ต่าง ๆ ทั้งลักษณะเด่นและลักษณะด้อย เช่น ลักษณะสีตา (ตาแดง ตาขาว) ลักษณะปีก (ปีกยาว ปีกกุด)
เป็นต้น ให้แมลงหว่ีผสมพันธุ์กัน แล้วสังเกตลักษณะปรากฏในรุ่นลูกและรุ่นหลาน
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44