Page 78 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 78

5-68 สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

       สื่อการสอนที่ใช้คือ วัสดุต่าง ๆ ท่ีน�ำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามองค์ประกอบ
ที่ส�ำคัญท้ัง 4 ส่วน ดังนี้

       3.1 	ฉาก
       ฉากเป็นองค์ประกอบแรกของ storyline ที่ผู้สอนต้องก�ำหนดขึ้นเพ่ือให้เป็นฐานรองรับเร่ืองราว
ที่จะเกิดข้ึนจากการใช้เส้นทางการเดินเรื่องท้ังหมด ซ่ึงต้องพิจารณาจากข้อมูลในเนื้อหาหลักสูตร การใช้
storyline ในการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ท่ีต้องการบูรณาการเน้ือหาวิทยาศาสตร์เข้ากับเนื้อหา
วิชาอ่ืน ๆ ต้องจัดการให้เน้ือหาวิทยาศาสตร์เป็นแกนหลัก การก�ำหนดฉากท่ีจะใช้จึงต้องพิจารณาจากเนื้อหา
วิชาวิทยาศาสตร์เป็นส�ำคัญ เช่น
       ตัวอย่างที่ 1 – เนื้อหาวิทยาศาสตร์เป็นเร่ืองสารและสมบัติของสาร การจ�ำแนกประเภทของสาร
การใช้ประโยชน์ของสารแต่ละชนิดในชีวิตประจ�ำวัน การเก็บรักษา อันตรายและข้อควรระวังในการใช้
สารประเภทต่าง ๆ ผลกระทบของการใช้สารแต่ละชนิดที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ผู้สอนได้ก�ำหนดฉากเป็น
ห้างสรรพสินค้าท่ีมีหลายช้ันหลายแผนกจ�ำหน่ายสินค้าที่ผลิตจากวัสดุหลากหลายชนิด
       ตวั อยา่ งที่ 2 – เนอื้ หาวทิ ยาศาสตรเ์ ปน็ เรอื่ งมลภาวะมเี นอื้ หายอ่ ยเกย่ี วกบั ประเภทของมลภาวะ สาเหตุ
ของการเกิดมลภาวะต่าง ๆ ผลกระทบของมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมท้ังมีชีวิตและไม่มีชีวิต การป้องกันและ
แกไ้ ขปญั หาทเี่ กดิ จากมลภาวะผสู้ อนไดก้ ำ� หนดฉากเปน็ ชมุ ชนทม่ี เี มอื งอตุ สาหกรรมหลายประเภทอยใู่ นชมุ ชน
       ตัวอย่างที่ 3 – เน้ือหาวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ และแร่ธาตุ ผู้สอนก�ำหนด
ฉากให้เป็นหมู่บ้านในชนบทที่อยู่ใกล้แห่งทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ
       เมื่อผู้สอนก�ำหนดฉากแล้วผู้เรียนจะต้องสร้างบ้านและก�ำหนดต�ำแหน่งท่ีอยู่บ้านของตัวเองลง
ในฉากนั้นโดยต้องพิจารณาตามเงื่อนไขที่ผู้สอนก�ำหนดข้ึนเพื่อให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
       3.2 	ตวั ละคร
       ตัวละครเป็นภาพสมมติท่ีผู้เรียนคิดจินตนาการแทนตัวเองใน storyline ผู้เรียนสามารถสมมติให้
ตัวเองเป็นคนอีกคนหนึ่งที่มีเพศ วัยและสถานภาพต่าง ๆ ต่างจากความเป็นจริงโดยต้องพิจารณาไปพร้อม
กับเงื่อนไขที่ผู้สอนก�ำหนดขึ้นเพ่ือให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
       3.3 	การด�ำเนินชีวติ
       การด�ำเนินชีวิตเป็นหัวข้อท่ีผู้เรียนจะต้องคิดรายละเอียดของการด�ำเนินชีวิตของตัวละครที่สร้างขึ้น
เป็นแบบแผนการด�ำเนินชีวิตของตัวละครตลอดการสร้างเส้นทางการเดินเรื่องเหมือนละครซีรีส์ในโทรทัศน์
ที่ตัวละครแต่ละตัวมีลักษณะการด�ำเนินชีวิตเหมือนกันทุกตอนไม่ว่าละครเร่ืองน้ีจะแสดงตอนใดก็ตาม
ตัวละครแต่ละตัวยังคงรักษาแนวทางการด�ำเนินชีวิตไว้เป็นแบบเดิม เช่น ตัวละครตัวใดมีอาชีพเป็นครูต้อง
สอนหนังสือทุกวันก็จะยังแสดงการด�ำเนินชีวิตเป็นครูที่ต้องไปสอนหนังสือทุกตอน
       3.4 	เหตุการณ์
       เหตุการณ์เป็นช่องทางท่ีผู้สอนสามารถสอดแทรกการสอนเร่ืองใดเร่ืองหนึ่งโดยเฉพาะลงไปได้ และ
สามารถเพิ่มเติมเหตุการณ์ใหม่ได้อีกในการสอนครั้งต่อไปบนฐานของฉากตัวละครและการด�ำเนินชีวิตเดิม
เหมือนละครซีรีส์ในโทรทัศน์ที่แสดงเหตุการณ์ท่ีเกิดขึ้นแตกต่างกันได้ทุกช่วงเวลาของการแสดง
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83