Page 22 - พื้นฐานสังคมเเละวัฒนธรรมเขมร
P. 22
2-12 พ้ืนฐานสังคมและวัฒนธรรมเขมร
การค้านานาชาติทางทะเลดังกล่าวเร่ิมขึ้นตั้งแต่ราวสองถึงสามศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล
(Manguin, 1993; Manguin, 2011) บ้านเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ท่ีเข้าไปมีส่วนเก่ียวข้องกับ
กิจกรรมดงั กล่าวคือบ้านเมืองตามแนวชายฝั่งท่ีตง้ั อยู่บนเสน้ ทางการค้านานาชาติน้ัน รวมถึงบ้านเมอื งที่
ตงั้ อย่บู ริเวณดินดอนสามเหลีย่ มปากแมน่ ้าโขงใกลก้ บั ชายฝั่งทะเลในทางตอนใต้ของเวียดนามในปัจจุบัน
บ้านเมืองเหล่าน้ีมีการติดต่อทาการค้าและแลกเปลี่ยนสินค้ากับชุมชนและ บ้านเมืองที่ต้ังอยู่ในดินแดน
ตอนในของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้าโขงทางตะวันออกเฉียงใต้ของกัมพูชาในปัจจุบันด้วย การค้า
ดังกล่าวโดยเฉพาะการค้าลูกปัดจากอินเดียอาจจะไปไกลถึงชุมชนและบ้านเมืองในเขตลุ่มน้ามูลในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือของไทย (Carter, 2013: 401-416) บา้ นเมืองในเขตดนิ ดอนสามเหล่ียมปากแม่น้าโขง
ทั้งที่ตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลและที่อยู่ทางตอนในน้ีเองที่จะรวมตัวกันเป็นรัฐที่มีรู้จักกันในช่ือว่า ฟูนัน
(Fou-nan/Funan)
2. กมั พูชากบั อารยธรรมอนิ เดยี
คาอธิบายหลักและเป็นที่ยอมรับกันอย่างกวา้ งขวางเก่ียวกับฟูนัน (Fou-nan/Funan) กล่าวว่า
ฟูนันเป็นอาณาจักรแบบอินเดีย (Indianized Kingdom) แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เกิดขึ้น
ในคริสต์ศตวรรษท่ี 1 คาว่า “ฟูนัน” เป็นการถอดเสียงของคาในภาษาเขมรว่า “วน” (หรือ พนม) ซ่ึง
แปลว่าภูเขา อาณาจักรแห่งน้ีมีศูนย์กลางอยู่ท่ีบาพนมซ่ึงต้ังอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกัมพูชาใน
บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้าโขง กษัตริย์องค์แรกของฟูนันคือ Houen-t’ien/Hun-t’ien (ฮุน-
เทียน) ซึ่งคือ โกณฑินยะผู้เดินทางมาจากอินเดยี หรือคาบสมุทรมาเลย์หรือเกาะทางใต้ การเดินทางของ
ฮุนเทียนเกิดขึ้นเน่ืองจากวันหน่ึงฝันไปว่าได้รับมอบธนูวิเศษจากเทพเจ้าและได้รับคาแนะนาให้ออก
เดินเรือไป รุ่งข้ึนเมื่อฮุนเทียนเข้าไปในวิหารก็พบธนูวางอยู่แทบเท้าเทวรูป เขาจึงออกเดินเรือไปจ นถึง
ฟูนันซ่ึงมีผู้ปกครองเปน็ หญิงนามลวิ เย (Lieou-ye/Liu-ye) ลิวเยสัง่ ให้บริวารยึดเรือของฮุนเทยี นไวแ้ ต่
ก็ถูกสยบด้วยธนูวเิ ศษ ลิวเยจึงยอมแพ้และยอมเป็นเมียของฮุนเทียนซึ่งจะได้ครองฟูนนั สืบมา (Cœdès,
1975: 36-37) กล่าวอีกแบบหน่ึงคือการพบกันระหว่างฮุนเทียนกับลิวเยแสดงให้เห็นถึงกระบวนการ
“การทาใหเ้ ป็นอนิ เดยี (Indianization)” หรอื กระบวนการแพรข่ ยายของอารยธรรมอินเดยี ไปยังดินแดน
อนื่ ๆ นอกอินเดยี ซง่ึ ทาใหเ้ กิดการปรับเปลีย่ นความเชือ่ ทางศาสนา รปู แบบการปกครอง ขนบธรรมเนยี ม
วิทยาการ ศิลปะ วรรณกรรม ฯลฯ ตามแบบอย่างอินเดียขึ้นในหมู่ผู้คนในดินแดนอื่นๆ นอกอินเดียน้ัน7
“การทาให้เป็นอินเดยี ” ยังแฝงไว้ด้วย “ความเหนือกวา่ ” ทางอารยธรรมของอินเดยี ดังน้ันเร่ืองเล่าของ
7 ดูข้อถกเถียงในเรื่อง “การทาให้เปน็ อนิ เดีย (Indianization)” ใน Wolters, 2004: 15-26.