Page 24 - พื้นฐานสังคมเเละวัฒนธรรมเขมร
P. 24
2-14 พื้นฐานสังคมและวัฒนธรรมเขมร
คาอธบิ ายท่ีวา่ อาณาจกั รฟนู นั เกดิ ขน้ึ ในครสิ ต์ศตวรรษที่ 1 และเป็น “อาณาจักรแบบอินเดียแห่ง
แรก (The first Indian Kingdom)” ยงั ไม่สอดคลอ้ งกบั ข้อเท็จจริงท่ีว่า ในคริสต์ศตวรรษท่ี 1 น้ัน ยงั ไม่
พบร่องรอยของศาสนา ศิลปะ สถาปัตยกรรม และความคิดเก่ียวกับรัฐแบบอินเดียในเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ น่ียังไม่นับรวมข้อเท็จจริงที่ว่าชุมชนและบ้านเมืองในกัมพูชา (และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดย
รวม) มีพฒั นาการมาโดยลาดบั ดงั เหน็ ไดจ้ ากผลของการศึกษาทางโบราณคดสี มัยก่อนประวัติศาสตรด์ งั ท่ี
กลา่ วแล้วในเรื่องที่ 2.1.19 กมั พชู าจึงไมไ่ ด้ “เปล่าเปลือย” หากแตม่ วี ฒั นธรรมของตน และรจู้ ักและรบั เอา
วัฒนธรรมทางวัตถุ (material culture) จากอินเดียแล้วตั้งแต่ก่อนหน้า “การทาให้เป็นอินเดีย” ซึ่งใน
กรณีนี้หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางสังคม-การเมืองที่เกิดข้ึนจากการรับความคิดเกี่ยวกับรัฐ ศาสนา
และองค์ประกอบ (ศาสนสถานและรูปเคารพ) และภาษาสันสกฤต (Manguin, 2011) อย่างน้อยที่สุดใน
หมู่ชนชั้นนาซึ่งเกิดข้ึนในราวคริสต์ศตวรรษที่ 3-5 โดยวัฒนธรรมอินเดียท่ีชาวพื้นเมืองรับมานั้นมีท้ัง
การปรับแต่งและปรับปรุงให้รับกับวัฒนธรรมและความต้องการของตน และปฏิเสธวัฒนธรรมอินเดีย
บางสว่ น ผ่านกระบวนการทีเ่ รียกวา่ “การทาใหเ้ ป็นทอ้ งถิน่ (localization)”10
กจิ กรรม 2.1.2
อะไรคอื ความหมายของคาว่า การรบั อารยธรรมอนิ เดีย
แนวตอบกจิ กรรม 2.1.2
การรับอารยธรรมอินเดียหมายความถึงการรับเอาคติความเชื่อ ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ทางวตั ถขุ องอินเดยี มาเป็นของตนเอง โดยทีก่ ารรับอารยธรรมดงั กลา่ วทาผ่านกระบวนการการทาให้เป็น
ท้องถ่ิน (localization) ซึง่ หมายความถงึ การปรบั แต่งและปรบั ปรุงอารยธรรมอนิ เดียให้รับกับวัฒนธรรม
และความต้องการของตน และปฏิเสธวฒั นธรรมอินเดยี บางส่วน ไม่ใช่การรับผ่านกระบวนการการทาให้
เป็นอินเดีย (Indianization) ซ่ึงเป็นการรับอารยธรรมอินเดียโดยถูกบังคับหรือรับโดยปราศจากการ
ปรับแต่ง ปรับปรงุ และปฏิเสธ
9 เกย่ี วกับเรอ่ื งน้ี ดรู ายละเอยี ดเพมิ่ เตมิ ไดใ้ น Higham, 1989a; Higham, 1989b; Higham, 1996.
10 ดขู อ้ ถกเถียง เรื่อง “การทาให้เป็นอินเดีย (Indianization)” ใน Wolters, 2004: 15-26.