Page 29 - พื้นฐานสังคมเเละวัฒนธรรมเขมร
P. 29

ประวตั ิศาสตร์ 2-19

ปลายครสิ ต์ศตวรรษท่ี 7 ที่จานวนประชากรและความเขม้ ข้นของการใช้ประโยชน์ท่ีดนิ ลดลง (Bishop et
al., 2003: 360, 387-388) ซึ่งปรากฏการณ์ในลกั ษณะเดียวกันนี้เหน็ ไดใ้ นกรณีของออกแกว้ ด้วยเช่นกัน
(Stark, 2006b: 152) กระทงั่ ราวคริสต์ศตวรรษท่ี 7-8 ฟูนนั ก็เส่ือมอานาจลงและตกอยู่ในอานาจของรัฐท่ี
มีศนู ยอ์ านาจซ่ึงตัง้ อย่ลู กึ เขา้ ไปยงั ดนิ แดนตอนในทีร่ ้จู กั กันในชอ่ื วา่ เจนละ

2. เจนละ

       เชน่ เดยี วกบั คาวา่ ฟูนัน คาว่าเจนละกเ็ ปน็ คาทปี่ รากฏในบันทึกของจนี ทมี่ อี ายอุ ยู่ในปลายคริสต์-
ศตวรรษท่ี 6 ถงึ ต้นครสิ ตศ์ ตวรรษท่ี 7

       เอกสารจนี ระบุว่าเมอื งหลวงของเจนละอยู่ใกลก้ ับภเู ขาช่ือ Ling-chia-po-p’o ซึง่ สนั นษิ ฐานว่า
คือลิงคบรรพตอนั เปน็ ท่ีตั้งของปราสาทวัดภู ซึ่งปจั จุบันตงั้ อยู่ในแขวงจาปาสกั สาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาว เซเดส์ยงั เสนอดว้ ยวา่ กษตั ริย์พระองคแ์ รกๆ ของเจนละคือพระเจา้ ศรุตวรมันและโอรสของ
พระองค์ซึ่งคือพระเจ้าเศรษฐวรมัน พระนามกษัตริย์พระองค์หลังจะกลายมาเป็นชื่อของเศรษฐปุระอัน
เป็นเมืองท่ีตั้งอยู่ใกล้กับปราสาทวัดภู เรื่องของพระเจ้าศรุตวรมันน้ันเซเดส์ได้มาจากจารึกปักษีจากรุง
(K. 286, ค.ศ. 947) ซ่ึงทาขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 (ครองราชย์ ค.ศ. 944-968) จารึก
ดังกล่าวเล่าว่าฤๅษีตนหนึ่งชื่อกัมพุได้รับประทานนางอัปสรานามว่าเมรามาจากพระศิวะ ฤๅษีกัมพุและ
นางอัปสราเมราจะกลายเป็นต้นวงศ์ของกษัตรยิ ก์ ัมพูชา พระเจ้าศรุตวรมันก็สืบเช้ือสายมาจากกมั พุเมรา
ซึ่งอย่ใู นอาทิตยวงศ์ (Solar dynasty) ต่างวงศ์กนั กับกษัตริย์ฟนู นั ซึง่ สืบเช้อื สายมาจากโกณฑนิ ยะ (หรอื
พระทอง)-นางนาคีโสมาซ่ึงอยู่ในจันทรวงศ์ (Lunar dynasty) เซเดส์อธิบายด้วยว่าเดิมทีเดียวนั้น
เจนละอยู่ในอานาจของฟูนัน ก่อนท่ีจะไม่ยอมรับอานาจและสามารถพิชิตฟูนันได้ในครึ่งหลังของคริสต์-
ศตวรรษท่ี 6 (Cœdès, 1975: 65-66) ก่อนท่ีในตอนต้นครสิ ตศ์ ตวรรษท่ี 8 จะเกิดความขัดแยง้ ซึง่ นาไปสู่
การแบง่ แยกเจนละออกเป็น 2 สว่ นคอื เจนละบกและเจนละน้า (Cœdès, 1975: 85)

       กระนั้นก็ดี ไม่มีหลักฐานชัดเจนมากพอท่จี ะบอกได้อย่างปราศจากข้อสงสยั ว่าเจนละเป็นชื่อของ
อะไรในระหว่างเมือง รัฐ หรืออาณาจักร มีความเป็นไปได้ว่าการจัดโครงสร้างทางการเมอื งของเจนละเป็น
แบบรวมศูนย์น้อยกวา่ ทปี่ ราชญ์ฝรั่งเศสในสมัยอาณานิคมเสนอไว้ นักวิชาการจานวนหนึ่งยังเห็นดว้ ยวา่
เมอื งหลวงของเจนละน่าจะอยแู่ ถบปราสาทสมโบรไ์ พรกุก จังหวัดกาปงธม ซงึ่ เป็นทต่ี ั้งของเมอื งสมยั กอ่ น
พระนครที่มีชื่อว่า อีศานปุระมากกว่าที่จะอยู่บริเวณปราสาทวัดภู (Stark, 2004: 100) นอกจากน้ี การ
เสื่อมความสาคัญลงของฟูนันไม่ได้มีเหตุผลจากตกอยู่ในอานาจของเจนละ แต่อาจเป็นผลมาจากการที่
ศรีวิชัยซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะสุมาตราก้าวข้ึนมาควบคุมเส้นทางการ ค้าทางทะเลท่ีผ่านเข้ามาใน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความเฟ่ืองฟูทางการค้าซ่ึงสัมพันธ์กับอานาจทางการเมืองท่ีลดลงของฟูนันทา
ให้ชุมชนและบ้านเมืองที่มีวิถีชีวิตและอานาจทางการเมืองสัมพันธ์กับการทาเกษตรกรรมซ่ึงต้ังอยู่ทาง
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34