Page 28 - พื้นฐานสังคมเเละวัฒนธรรมเขมร
P. 28

2-18 พ้นื ฐานสงั คมและวฒั นธรรมเขมร

เพิม่ มากขึ้นของผ้ปู กครองและชนช้นั นา แต่เรากย็ งั ไม่ทราบอยา่ งแน่ชดั วา่ วิธีการควบคมุ กาลังคนในสมัย
ฟนู ันเปน็ อย่างไร แตม่ คี วามเป็นไปได้ว่าความเชื่อทางศาสนาจากอินเดียจะมสี ่วนอยา่ งสาคญั ในการควบคุม
ผคู้ นและดึงผลผลติ ส่วนเกินจากผู้ใต้ปกครองมาไว้ที่ผปู้ กครอง (Stark, 2003: 104)

       จดหมายเหตุของจีนราชวงศ์ Song หรือ Liu Song (ค.ศ. 420-479) บันทึกไว้ว่า ชื่อสกุลของ
กษัตริย์ฟูนันคือ “Chiao Chen-ju” และชื่อตัวคือ “She-yeh-pa-mo” ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นคาถอด
เสียงของคาว่า “โกณฑินยะ” และ “ชัยวรมัน” ตามลาดับ13 ช่ือและคาแบบอินเดียน้ีช้ีให้เห็นถึงว่าเกิด
“การทาให้เป็นอินเดีย” ขึ้น สอดคล้องกับหลักฐานจากจารึกปราสาทปรัมโลเวง (K. 5, เรียกอีกช่ือหน่ึง
ว่าจารึก Tháp Mười ตามสถานที่ต้ังของปราสาทปรัมโลเวง) ซึ่งพบในเขตวัฒนธรรมออกแกว้ อายุราว
คริสต์ศตวรรษท่ี 5 ซ่ึงจารเปน็ ภาษาสันสกฤตกลา่ วถึงการฉลองศาสนสถานนาม “ศฺรีจักราตีรถ” อันเป็น
ท่ีประดิษฐานรอยบาทของพระภควัท (วิษณุ) ซึ่งสถาปนาโดยบตุ รแห่งกษตั ริย์ (Cœdès, 1931: 1-12) ท่ี
แสดงให้เห็นอย่างปราศจากข้อสงสัยว่าเกิด “การทาให้เป็นอินเดีย” ข้ึนแล้วอย่างน้อยที่สุดในหมู่ชนช้ัน
ปกครองของฟูนัน และคติการบูชารูปเคารพท้ังในศาสนาพุทธและฮินดูที่เห็นได้อย่างชัดเจนในฟูนัน
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6 หรือคริสต์ศตวรรษท่ี 7 เม่ือพบพระพุทธรูป รูปพระวิษณุ และเทวรูปอื่นๆ ได้
ท่ัวไปในเขตดินดอนสามเหล่ียมปากแม่น้าโขงและเขตพื้นท่ีอ่ืนๆ (Stark, 2003: 103-104) ก็ชี้ให้เห็นถึง
การขยายตวั ของอารยธรรมอนิ เดียไปอยา่ งกว้างขวาง อย่างนอ้ ยท่สี ดุ ในแงข่ องพื้นท่ีทางกายภาพ

       ราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษท่ี 6 ก็เกิดความเปล่ยี นแปลงขนานใหญ่ข้ึนในรัฐ
ฟูนัน เวลาท่ีความเปล่ียนแปลงท่ีว่าไม่เกยี่ วข้องกบั การลดจานวนลงอยา่ งมากของประชากรซ่ึงจะเป็นสง่ิ
ที่เกิดข้ึนในคริสต์ศตวรรษที่ 7 เมื่อศูนย์อานาจทางการเมืองย้ายข้ึนไปทางเหนือ (Bishop et al., 2004:
321, 333, 334; Vickery, 1998: 20) แต่อังกอร์โบเร็ยและชุมชนและเมืองในเขตลุ่มน้าโขงตอนล่างไม่ได้
ถูกละทิ้ง ยังคงรักษาความสาคัญในทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจเอาไว้ได้จนถึงราวกลางหรือ

         13 ในบนั ทกึ อกี ช้นิ หนง่ึ ที่รวบรวมภายหลังใหร้ ายละเอยี ดว่า Chiao Chen-ju เป็นพราหมณ์จากอินเดยี ผู้ไดย้ ินเสยี งจาก
อานาจเหนอื ธรรมชาตใิ ห้ออกเดินทางมาฟนู ัน เมือ่ Chiao Chen-ju มาถงึ P’an p’an ทางตอนใต้ ชาวฟูนนั กม็ าพบและเลอื กเขา
เป็นกษตั ริย์ Chiao Chen-ju กเ็ ปลี่ยนการปกครองของฟนู นั ให้เปน็ แบบอนิ เดยี (Vickery, 2003-2004: 114) เรอ่ื งของพราหมณ์
จากอินเดยี นาม Chiao Chen-ju นมี้ ีแกนเรอ่ื งและโครงเร่อื งในทานองเดยี วกนั กบั เร่ืองของฮนุ เทียนดังทก่ี ล่าวถงึ ขา้ งต้น

         ไมเคิล วิกเคอรี สันนษิ ฐานว่า เรื่องของ Chiao Chen-ju ในบันทกึ ของจนี ทัง้ สองฉบับนี้ไม่ใช่หลักฐานทีแ่ สดงว่าโกณฑินยะ
ตัวจริงเดินทางมาจากอินเดียหรือจากที่อ่ืนใดในคริสต์ศตวรรษที่ 4 หรือ 5 หากแต่แสดงให้เห็นว่า ชนชั้นปกครองฟูนันรับเอา
ตานานอินเดียเรื่องโกณฑินยะมาเป็นของตนเอง ดังที่จารึกปราสาทปรัมโลเวง (K. 5) ซึ่งพบในเขตดินดอนสามเหล่ียมปากแม่น้า
โขงทางใต้ของเวียดนาม อายุราวคริสต์ศตวรรษท่ี 5 ระบุว่าคุณวรมันซึ่งเป็นผู้ให้ทาจารึกกล่าวว่าตนเป็นบุตรของกษัตริย์ผู้เป็น
“ดวงจันทรแ์ ห่งโกณฑนิ ยวงศ์” (Vickery, 2003-2004: 114-115) ดคู ากลา่ วของคุณวรมันในจารึกปราสาทปรมั โลเวง (K. 5) โศลก
ท่ี 7 ใน Cœdès, 1931: 6-8.
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33