Page 23 - พื้นฐานสังคมเเละวัฒนธรรมเขมร
P. 23
ประวตั ศิ าสตร์ 2-13
ฮุนเทียน-ลิวเยขา้ งต้นจงึ อาจตีความได้ว่าธนวู ิเศษเป็นสัญลกั ษณ์ของความเหนือกว่าทางเทคโนโลยีและ
อารยธรรมของอินเดีย ความเหนือกว่าของอินเดียนาไปสู่การแทนท่ีผู้ปกครองเดิมท่ีเป็นหญิงพื้นเมือง
ดว้ ยผปู้ กครองท่เี ป็นชายชาวอินเดียและมีฐานะเปน็ กษัตริย์
คาอธิบายข้างตน้ อิงอย่กู บั ข้อความในบันทึกทูตจนี ท่ีเดนิ ทางมาเยือนฟนู นั ในระหว่าง ค.ศ. 245-
250 ต้นฉบับของเอกสารดังกล่าวสูญหายไปแล้วแต่มีบันทึกไว้ในเอกสารสมัยหลัง อย่างไรก็ดี มีบันทึก
ของจีนเกี่ยวกับฟูนันซึ่งมีรายละเอียดท่ีต่างไป บันทึกฉบับหน่ึงออกช่ือชายผู้พิชิตลิวเยว่า Hun-houei
ซึ่งเป็นชาวตา่ งชาติ ฉบบั หน่ึงวา่ ชอื่ Houen-t’ien จากอาณาจักร Ki และเล่าดว้ ยวา่ ลิวเยน้นั เนอ้ื ตวั เปลา่
เปลือยกระทั่งฮุนเทียนสวมใส่เสื้อผ้าให้ และอีกฉบับหน่ึงว่า Houen-t’ien มาจากดินแดนทางใต้ท่ี
เรียกว่า Kiao และเม่ือเป็นกษัตริย์แล้วก็ให้ลูกชายไปปกครองเมืองทั้ง 7 (Vickery, 2003-2004: 105-
106) การสันนิษฐานว่า Houen-chen, Houen-houei และ Houen-t’ien คือพราหมณ์นามโกณฑินยะ
ผเู้ ดินทางมาจากอินเดีย และฟูนันเปน็ อาณาจกั รแบบอินเดียแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเกิดขึ้น
ในครสิ ต์ศตวรรษที่ 1 จึงเปน็ ขอ้ สนั นิษฐานท่ีเกินกว่าที่หลักฐานบอก8
นอกจากน้ีแล้ว ยังมีข้อโต้แย้งคาอธิบายหลักและเป็นท่ียอมรบั กันอย่างกว้างขวางเกีย่ วกับฟูนัน
อีก หลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชื่อของฟูนันท่ีอาจจะไม่ได้มาจากคาว่า “วน” เพราะตัวอักษรจีนที่
ออกเสียงว่า “nan” (และ “nam”) ในเอกสารจีนโบราณน้ันแปลวา่ “ทิศใต้” และใช้บรรยายถึงท่ีตั้งทาง
ภูมิศาสตร์ในช่ือท่ีประกอบด้วยคาว่า “nan/nam” เช่น หนานเยฺว่ (Nan-Yueh, เยฺว่ทางใต้) หนานไห่
(Nan Hai, ทะเลใต้) และอันนาม (Annam, ดินแดนทาง) ใต้อันสงบสุข) ชื่อ “Fou-nan/Funan” ใน
เอกสารจนี โบราณจงึ ควรจะมาจากคาวา่ Fu + nan มากกว่าเปน็ การถอดเสียงคาวา่ “วน” หรอื ชอ่ื Hun-
tien ซึ่งมี 2 พยางคน์ ้ันก็ไม่น่าจะเปน็ การถอดเสยี งจากคาวา่ โกณฑินยะ ทม่ี ี 3 พยางคเ์ พราะผิดวสิ ยั ของ
จีนที่ได้ช่ือว่ามีความสามารถสูงในการถ่ายถอดเสียงคาในภาษาอ่ืน (Vickery, 2003-2004: 107, 125-
126)
8 ดตู วั อย่างใน Cœdès, 1975: 37-38. ทง้ั น้ี ขอ้ สนั นิษฐานดังกล่าวอาศัยหลักฐานสมยั หลังลงมา คือจารกึ จามปาท่ีหมีเซิน
และตานานโคกธฺลอกประกอบการสนั นิษฐาน
จารึกจามปาท่ีหมีเซินเล่าว่า โกณฑินยะเป็นพราหมณ์ซึ่งได้รับมอบหอกจากพราหมณ์อัศวัตถามันบุตรของโทฺรณะ
โกณฑนิ ยะได้มาแตง่ งานกบั นางโสมาซ่ึงเป็นธิดานาคราชแลว้ ต้งั วงศ์ปกครองอาณาจกั รสืบมา ส่วนตานานโคกธลฺ อกเล่าวา่ เจ้าชาย
จากอินเดียนามพระทองซงึ่ ถูกบิดาเนรเทศออกจากเมืองเดินเรือเข้ามาถึงเกาะธฺลอก ได้พบกับธิดานาคราช นามโสมาและเกิดจิต
ปฏิพัทธ์ นางนาคีโสมาก็ปลงใจด้วยและให้พระทองเกาะชายสไบนางเพื่อลงไปสู่พิภพนาค พญานาคราชบิดาของนางนาคีโสมา
ก็อภเิ ษกให้พระทองครองคกู่ ับนางนาคโี สมาแลว้ ดื่มนา้ โดยรอบเกาะธฺลอกใหเ้ หอื ดแหง้ หายกลายเป็นแผน่ ดนิ จากนั้นกส็ รา้ งเมอื งให้
ลูกเขยปกครอง