Page 21 - พื้นฐานสังคมเเละวัฒนธรรมเขมร
P. 21
ประวตั ศิ าสตร์ 2-11
การจัดการน้าที่โลเวียซ่ึงจะถูกปรับเปล่ียนให้กลายเป็นระบบการจัดการน้าที่ซับซ้อนมากขึ้นใน
สมัยพระนคร (O’Reilly and Shewan, 2016: 479-481) และที่โลเวียนั้นก็ปรากฏการตั้งถิ่นฐานและ
การใช้ประโยชน์พื้นท่ีดงั กล่าวต่อเน่ืองลงมาถึงสมัยพระนคร เห็นได้จากบาราย (ขนาดความกว้าง 1,210
เมตรในแนวเหนือ-ใต้ และยาว 2,354 เมตรในแนวตะวันออก-ตะวันตก) ท่ีอยู่ถัดลงไปทางใต้ของ
แนวคันดิน และมีปราสาทสมัยพระนครขนาดย่อมๆ 2 หลังต้ังอยู่ทางเหนือและตะวันตกของบาราย
นอกจากนี้ยังมีปราสาทบ็อนเตียสระ (644 700 เมตร) ตั้งอยู่ห่างออกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของ
โลเวียราว 2.75 กิโลเมตร และมีตระพังขนาด 240 340 เมตร ตั้งอยู่ทางตะวันออกของปราสาท
ปราสาทแห่งน้ีสร้างข้ึนในสมัยพระนคร (O’Reilly and Shewan, 2015: 35; O’Reilly and Shewan,
2016: 470-471, 473)
แหล่งโบราณคดยี ุคเหลก็ อกี แห่งหนึง่ ทสี่ ฺนาย จงั หวัดบอ็ นเตียเมียนเจย็ (348 ปีกอ่ น ครสิ ตกาล-
ค.ศ. 239) มีการขุดค้นพบอาวุธ เช่น ดาบ กริช ปลายหอก ที่พบในหลุมฝังศพ (Lapteff, 2013: 140,
143) และพบด้วยว่ากะโหลกและกระดูกมนุษย์มีร่องรอยซ่ึงเป็นผลของอาการบาดเจ็บ หลักฐานและ
ร่องรอยเหล่าน้ีแสดงให้เห็นถึงการใช้ความรุนแรงระหว่างบุคคลต่อบุคคล หลักฐานของการใช้ความ
รุนแรงท่ีสฺนายอาจแสดงให้เห็นถึงการแข่งขันแย่งชิงทรัพยากรทเี่ พิ่มสงู ขึ้นในพื้นที่ดงั กล่าว (Domett et
al., 2011) การแข่งขันระหว่างชุมชนและบ้านเมืองต่างๆ เป็นแรงขับดันให้เกิดพัฒนาการของสังคมท่ีมี
การแบง่ ชนชั้นอยา่ งเข้มข้น ซ่ึงท้ายทส่ี ดุ แลว้ ก็จะนาไปสกู่ ารเกิดขนึ้ ของรัฐยุคแรกเริม่
ชุมชนยุคเหล็กในกมั พูชามกี ารติดต่อกันเองและการติดต่อกบั ชุมชนยุคเหล็กในเอเชยี ตะวันออก
เฉียงใต้ ดังจะเห็นได้จากการพบภาชนะดินเผาชนิดสีดาท่ีมีรอยถูเป็นเส้นขัดมันประดับซ่ึงพบได้
แพร่หลายทั่วไปในชุมชนและบ้านเมืองในสมัยโลหะของประเทศไทย (หรือแบบที่เรียกกันว่าพิมายดา)
ที่สฺนาย เปร็ยเกฺมง จังหวัดเสียมราฐ (ค.ศ. 5-216) และโซภี จังหวัดบ็อนเตียเมียนเจ็ย (ค.ศ. 25-562)
(O’Reilly and Shewan, 2016: 477) และในสมัยแรกเร่ิมประวัติศาสตร์นเ้ี องที่เรมิ่ มีการติดต่อกันระหวา่ ง
บ้านเมืองในกัมพูชากับเอเชียใต้และจีน6 การติดต่อดังกล่าวสัมพันธ์กับการเติบโตของการค้านานาชาติ
ทางทะเลทเี่ ชอื่ มโยงเอเชยี ตะวันออก เอเชียตะวนั ออกเฉียงใต้และเอเชียใตเ้ ข้าด้วยกนั
6 ดังมหี ลักฐานคอื หนิ ก่ึงอัญมณีอย่างเช่น หินอาเกตและหินคารน์ เี ลยี น ลกู ปดั แก้ว และวัตถุอน่ื ๆ เชน่ เหรียญ ฯลฯ ซ่งึ
พบในหลุมฝังศพที่โลเวีย สฺนาย และหลุมฝังศพท่ีแหล่งโบราณคดีสมัยเหล็กอ่ืนๆ ได้แก่ พนมโบเร็ย อังกอร์โบเร็ย จังหวัดตาแกว
(350-100 ปกี ่อนครสิ ตกาล), หม่บู ้าน 10.8 จังหวดั กาปงจาม (ศตวรรษที่ 4-1 ก่อนครสิ ตกาล), ปรฺ อเฮีย จงั หวดั เปรย็ เวง (340-40
ปีก่อนคริสตกาล), วดั กอ็ มนู อังกอรโ์ บเร็ย จงั หวดั ตาแกว (ราว 200 ปกี ่อนครสิ ตกาล-ค.ศ. 200), กรอแซงทเม็ย จงั หวัดบ็อนเตีย
เมียนเจ็ย (51 ปีก่อนคริสตกาล-ค.ศ. 341) และเปร็ยเกฺมง จังหวัดเสียมราฐ (ค.ศ. 5-216) นั้น มีแหล่งกาเนิดจากเอเชียใต้ เอเชีย
ตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (O’Reilly and Shewan, 2016: 472, 477; Sophy, 2010; Carter, 2013; Reinecke et al.,
2009: 123-124; Ikehara-Quebral et al., 2017: 195-196, 197, 204, 228; 123-124).