Page 46 - พื้นฐานสังคมเเละวัฒนธรรมเขมร
P. 46

2-36 พน้ื ฐานสังคมและวฒั นธรรมเขมร

       การครอบครองดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่นา้ โขงของเวียดนามเป็นเหตุสาคัญประการหนึง่ ทท่ี า
ให้กัมพูชาเขา้ สู่ช่วงตกต่าทางการค้าในปลายครสิ ต์ศตวรรษท่ี 17 นอกเหนือไปจากเหตุปัจจยั อย่างการท่ี
กัมพูชาไม่มีเมืองท่าท่ีดึงดูดพ่อค้าต่างชาติ และการสิ้นสุดลงของยุคการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(แอนโทนี รีด, 2548) ในช่วงไล่เลยี่ กนั นัน้ เองก็เกดิ ความแตกแยกในราชสานักกัมพชู า แตผ่ ลทต่ี ามมานนั้
ตา่ งไปจากเดมิ เพราะในเวลานั้นเจ้านายกัมพูชามีท่ใี ห้ไปพึ่งพิงได้ถึง 2 ทางคอื อยุธยาทางตะวนั ตก และ
เวียดนามทางตะวันออก แต่ไม่ว่าเจ้านายที่ฝักใฝ่หรือได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายใดข้ึนมามีอานาจก็
จาตอ้ งยอมเป็นขา้ สองฝ่ายฟา้ กล่าวคือต้องส่งบรรณาการใหท้ ง้ั อยุธยา (รวมท้ังธนบุรีและรัตนโกสินทรใ์ น
เวลาต่อมา) และเวยี ดนาม

       ในช่วงคร่ึงหลังของคริสต์ศตวรรษท่ี 18 สยามประสบความสาเร็จในการสถาปนาอานาจของตน
ในกัมพูชา ดังจะเห็นได้จากการสถาปนากษัตริย์กัมพูชาหลายพระองค์และการเข้าไปจัดการราชการ
บ้านเมืองในกัมพูชา ช่วงน้ันเป็นช่วงเวลาท่ีเวียดนามกาลังเผชิญกับการสู้รบเพื่อแย่งชิงอานาจทาง
การเมืองในระหว่างขุนนางตระกลู จง่ิ ซึ่งปกครองเวยี ดนามภาคเหนอื ในนามของจักรพรรดิราชวงศ์เลและ
ขุนนางตระกูลเหงวียนที่ปกครองเวียดนามภาคกลางและภาคใต้พวกหนึ่ง กับไตเซินซึ่งเป็นกบฏชาวนา
อีกพวกหน่ึง ที่สุดแล้วไตเซินสามารถปราบปรามขุนนางใหญ่ท้ังสองตระกูลลงและสถาปนาราชวงศ์ขึ้น
ปกครองเวียดนามใน ค.ศ. 1778 ก่อนที่ใน ค.ศ. 1802 ขุนนางตระกูลเหงวียนสามารถปราบไตเซินลงได้
และสถาปนาราชวงศใ์ หม่ขน้ึ ปกครองเวยี ดนามโดยต้ังเมอื งหลวงที่เว้

4. กมั พชู าในครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษท่ี 19

       ต้ังแต่ต้นคริสต์ศตวรรษท่ี 19 เป็นต้นมา การแบ่งฝักแบง่ ฝ่ายในกัมพูชาก็ปรากฏชัดเจนขึ้น ฝ่าย
ที่ฝักใฝ่เวียดนามนาโดยสมเด็จพระอุทัยราชา (พระองค์จันท์) ส่วนฝ่ายท่ีฝักใฝ่สยามนาโดยอนุชาของ
สมเด็จพระอุทัยราชาอันได้แก่ พระองค์สงวน พระองค์อิ่ม และพระองค์ด้วง ความขัดแย้งที่เกิดขึน้ นามา
ซ่ึงสงครามและความทกุ ข์ยากอยา่ งแสนสาหสั ของไพร่บา้ นพลเมอื งในกมั พูชา

       ราว ค.ศ. 1820 ชาวเขมรจานวนมากถูกเวียดนามเกณฑ์มาขุดคลอง ซึ่งได้ช่ือในภายหลังว่า
คลองหวิญเต๊เป็นคลองท่ีเช่ือมระหว่างห่าเตียนของเวียดนาม เมืองท่าชายฝั่งทะเลกับเจิวด๊ก (เมือง
ชายแดนเวียดนาม-กัมพูชาซ่ึงต้ังอยู่ริมแม่น้าบาสัก) การขุดคลองแห่งนี้เป็นงานท่ีเต็มไปด้วยยากแค้น
อย่างแสนสาหัสนามาซ่งึ การลุกฮือขึน้ ตอ่ ต้านเวียดนามของชาวเขมร แต่ก็ถูกกองทหารเหวียดปราบปราม
ลงได้ (Chandler, 1996a; Sok, 2002; Wook, 2004: 58) ไม่เพียงแต่จะต้องทนทกุ ข์ทรมานจากเวียดนาม
เท่านั้น ชาวเขมรจานวนมากต้องทนทุกข์จากการถูกเกณฑ์กาลังคนและเสบียงโดยกองทัพสยามเพ่ือ
ยกไปรบกับเวียดนามอกี ด้วย โดยกรุงเทพฯ ซง่ึ หวงั จะสถาปนาอานาจของตนในกมั พูชาอีกครง้ั ไดเ้ คลื่อน
กาลังเข้าไปในกัมพูชาเม่ือ ค.ศ. 1833 และยึดกรุงพนมเปญซ่ึงเป็นท่ีตั้งราชสานักของสมเด็จพระอุทัย-
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51