Page 43 - พื้นฐานสังคมเเละวัฒนธรรมเขมร
P. 43

ประวตั ิศาสตร์ 2-33

       นอกจากจะอยู่ทศ่ี ูนย์กลางของเส้นทางและเครือขา่ ยทางการค้าแลว้ ศูนย์กลางอานาจแห่งใหม่ของ
กัมพูชาจตุมุขเป็นทาเลที่เหมาะแก่การควบคุมดินแดนตอนในทางเหนืออันเป็นเส้นทางขึ้นไปสู่ล้านช้าง
และดินแดนตอนในทางตะวนั ตกเฉยี งเหนอื ทั้งบริบรู ณ์ โพธสิ ัตว์ พระตะบอง และเสียมราฐ

       บริเวณจตุมุขซึ่งจะหมายถึงพ้ืนท่ีอันอยู่ในระยะไม่เกิน 50 กิโลเมตรนับจากศูนย์กลางที่จตุมุข
เป็นท่ีต้ังราชธานีสมัยหลังพระนครเร่ือยมาจนถึงปัจจุบัน โดยสลับไปมาในระหว่าง 2 พื้นที่ คือ บริเวณ
แมน่ า้ โขง (บาสานและศรสี นั ธร) กับบรเิ วณรมิ แม่น้าสาบ คือ พนมเปญ ละแวก และอดุ ง

       ราชธานีแห่งแรกหลังการละท้ิงพระนครคือ บาสาน (Basan) พงศาวดารกัมพูชาหลายฉบับ
บันทึกเหตุการณ์นี้เอาไว้คล้ายกนั อย่างสั้นๆ โอลิเวอร์ ดับเบิลยู. โวลเตอร์ส (Oliver W. Wolters) เชื่อ
วา่ กษตั รยิ ์เขมรอาจประทับอยู่ทบ่ี าสานมาต้ังแตก่ ่อน ค.ศ. 1371 (Wolters, 1966) ดงั นั้นบาสานในเวลาท่ี
กษัตริย์กัมพูชาเสด็จมาประทับและสร้างวังในต้นทศวรรษที่ 1430 นั้น น้ันน่าจะมีชุมชนตั้งอยู่หนาแน่น
แล้วในฐานะหวั เมืองสาคัญทางตะวนั ออก

       บาสานเป็นราชธานีอยู่ไม่นาน กษัตริย์กัมพูชาก็ย้ายไปต้ังราชธานีท่ีพนมเปญ มีตานานเล่ากัน
มาว่า หญิงชราผู้หน่ึงชื่อยายเพ็ญพบพระพุทธรูปและเทวรูปลอยมาตามน้า จึงรวบรวมพรรคพวกพูนดนิ
เป็นเนินเขา แล้วสรา้ งวหิ ารประดิษฐานพระพทุ ธรูปและเทวรูปบนเนินเขานั้นซง่ึ จะได้ชือ่ วา่ พฺนโฎนเพญ
(แปลว่า เขายายเพ็ญ) และกลายมาเป็นชื่อเมอื งว่า พนมเพ็ญ หรือพนมเปญ แม้ว่าตานานเรือ่ งนี้อาจจะ
แต่งหลังจากท่ีเมืองมีชีวิตชวี ามากข้ึน แต่เป็นได้ว่าน่าจะมีชุมชนอยู่ในบริเวณอยู่แต่กอ่ นแล้ว ดังที่ เดวิด
แชนด์เลอร์ (2557: 113) กล่าวถึงผู้ปกครองที่ต้ังรกรากมานานแล้วในบริเวณน้ี ซ่ึงเคยเป็นหัวใจของ
อาณาจกั รฟนู นั มาก่อนและเคยปฏเิ สธอานาจหรือคาส่ังจากเมอื งพระนครบอ่ ยครัง้
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48