Page 38 - พื้นฐานสังคมเเละวัฒนธรรมเขมร
P. 38

2-28 พื้นฐานสังคมและวัฒนธรรมเขมร

       อีกส่ิงหนึ่งท่ียังไม่เข้าใจพอกันกับการจัดการและควบคุมกาลังคนคือ ชีวิตและเร่ืองราวในชีวิต
ของคนเหล่าน้ัน เพราะในขณะที่กษัตริย์และชนชั้นนาในสังคมท้ิงเร่ืองราวที่กระท่อนกระแท่นและมีอคติ
เอาไว้ในจารึกจานวนมากกว่า 1,500 หลัก ชาวบ้านและชาวเมือง ไพร่และทาส ผู้สร้างปราสาทแห่ง
พระนครและระบบการจัดการน้าอันยิ่งใหญ่และซับซ้อนไม่ท้ิงหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับ
ตัวเขาเองไว้เลย เรารจู้ ักคนเหลา่ นี้ผ่านการกล่าวถึงชนชน้ั ตา่ งๆ ในสังคมในจารกึ ของชนชั้นนาและภาพสลัก
นูนตา่ ที่ปราสาทต่างๆ โดยเฉพาะอยา่ งยิง่ ที่ปราสาทบายน ท่ีพอจะทาให้เห็นไดถ้ ึงการแตง่ กาย เคร่อื งมือ
เคร่ืองใช้ในชีวิต ประจาวัน แบบแผนของบ้านเรือน สัตว์เลี้ยง การละเล่น เป็นต้น แต่น่ันก็เป็นภาพที่
เลือนลางมาก

4. การค้า

       การสร้างบารายตะวนั ออกในรัชสมัยพระเจ้ายโศวรมันท่ี 1 ในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 และ
บารายตะวันตกในราวรัชสมัยพระเจ้าสูรยวรมันที่ 1 หรือพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 ในตอนกลาง
คริสต์ศตวรรษท่ี 11 ทาให้พื้นที่เพาะปลูกเพ่ิมขึ้นอย่างมาก การขยายตัวของการเพาะปลูกนี้เองที่เป็น
ปัจจัยสาคัญในการขยายอานาจท้ังการเมืองและเศรษฐกิจของอาณาจักรพระนคร ดังเห็นได้จากจานวน
เมืองหรือ “ปุระ” ท่ีเพ่ิมจาก 12 แห่งในคร่ึงแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 10 เป็น 24 แห่งในคร่ึงหลังของ
ศตวรรษเดียวกัน และเพ่ิมจานวนข้ึนเป็น 47 แห่งในราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 11 (Hall, 1979: 423-
424)

       แม้ว่าอาณาจกั รพระนครจะตั้งศูนยอ์ านาจทางการเมืองอย่ลู ึกเขา้ ไปในดินแดนทางตอนในและให้
ความ สาคัญกับการเพาะปลูก แต่อาณาจักรพระนครก็ให้ความสนใจกับการค้านานาชาติด้วย โดยใน
คริสต์ศตวรรษท่ี 11 ผลประโยชน์ทางการค้าของอาณาจักรพระนครอยู่ในดินแดนทางตะวันออกของ
อาณาจักร จนในรัชสมัยพระเจ้าสูรยวรมันท่ี 1 พระองค์หันความสนใจมายังดินแดนทางตะวันตกแทน
โดยในครึ่งแรกของครสิ ตศ์ ตวรรษที่ 11 กมั พชู าก็ขยายอานาจของตนเองเขา้ มาในแถบลมุ่ แมน่ า้ เจ้าพระยา
เร่ือยไปจนถึงคอคอดกระ การควบคุมลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาตอนล่างเป็นการเปิดช่องทางไปสู่การค้า
นานาชาติท่ตี ามพรลงิ ค์ซ่ึงต้ังอยู่ทางตะวันออกของคอคอดกระ และเท่ากับเป็นการเปดิ โอกาสให้กมั พชู า
ได้เข้าไปสู่เส้นทางการค้านานาชาติได้โดยตรงมากขึ้นด้วย (Hall, 1979: 423; Hall and Whitmore,
1976: 307) และหลังจากทโ่ี จฬะทาลายอิทธพิ ลของศรีวชิ ยั ท่ีมีเหนอื คอคอดกระแลว้ กด็ เู หมือนว่ากัมพชู า
จะสถาปนาอทิ ธิพลของตนเหนอื ตามพรลงิ ค์เข้าแทนท่ศี รีวิชยั (Hall and Whitmore, 1976: 307)

       แต่ในราว ค.ศ. 1050 ความสัมพันธ์ของกัมพูชากับบ้านเมืองแถบคอคอดกระก็ถูกท้าทายจาก
การขยายตัวของพม่าลงมาในคาบสมุทรมาเลย์ และดูเหมือนว่ามีการต่อต้านของกัมพูชาเพียงเล็กน้อย
(Hall, 1979: 424-425) ในปีนั้นเอง จามปาก็บุกเข้าโจมตีสัมภูปุระของกัมพูชาตามมาด้วยการสิ้น-
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43