Page 36 - พื้นฐานสังคมเเละวัฒนธรรมเขมร
P. 36
2-26 พืน้ ฐานสงั คมและวัฒนธรรมเขมร
คะเนเยีย่ งนไี้ มม่ ขี อ้ สนบั สนุนเชิงเทคนิค สาหรับ ฟาน เลียร์ แลว้ บารายเป็นงานก่อสร้างขนาดใหญ่ในทาง
ศาสนาเพื่อประโยชน์ทางการเมืองการปกครอง กล่าวคือบารายเป็นสระศักดิ์สิทธ์ิตามคติจักรวาลวิทยา
แบบฮินดซู ่งึ เปน็ สว่ นสาคญั ที่สร้างให้เมืองบนโลกมนุษย์เปน็ แบบจาลองของสวรรค์ในเทวโลก ฟาน เลียร์
เสนอว่าการทานาในพระนครไมไ่ ด้อาศัยระบบชลประทานขนาดใหญ่ แตใ่ ช้คันนาและโครงสร้างขนาดเล็ก
ในการเก็บกักและชะลอน้า ท้ังน้าฝน น้าไหลบ่าหน้าดินและน้าท่ีเอ่อท้นขึ้นมาจากทะเลสาบในหน้าน้า
(Van Liere, 1980: 271-274) ข้อวิจารณข์ อง ฟาน เลียรใ์ นประเดน็ ชอ่ งทางน้าไหลออกและการกระจาย
น้าเป็นทย่ี อมรับอยา่ งกว้างขวางในบรรดาผู้ท่วี ิพากษว์ จิ ารณแ์ ละไม่เหน็ ดว้ ยกบั แนวคดิ เรอ่ื งเมืองพระนคร
เปน็ เมืองพลังนา้ ของโกรสลเิ ยร์ (Fletcher et al., 2008b: 660)
ควรกลา่ วด้วยวา่ การศกึ ษาของโกรสลเิ ยร์เพ่ือหาข้อมูลมาสนับสนนุ ข้อเสนอเรื่องเมืองพระนคร
เป็นเมืองพลังน้าน้ันยุติลงในต้นทศวรรษที่ 1970 อันเน่ืองมาจากความขัดแย้งและความวุ่นวายทาง
การเมืองในกัมพูชา กระท่ังในทศวรรษท่ี 1990 ก็เร่ิมมีการศึกษาพระนครโดยการสารวจระยะไกลอีกครัง้
โดยใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากกว่าก่อน ผลการศึกษาล่าสุดชี้ให้เห็นถึงโครงข่ายการ
จัดการน้าท่ีครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 1,000 ตารางกิโลเมตร (Kummu, 2009: 1413; Fletcher et al.,
2008b: 660-662) โดยสามารถแบ่งพื้นท่ีดังกล่าวได้เป็น 3 พ้ืนที่ท่ีมีโครงข่ายของระบบการจัดการน้า
เชื่อมโยงกัน คือ 1) พ้ืนท่ีตอนเหนือ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตภูเขา (พนมกุเลน) กับบาราย เป็นพื้นที่รวบรวม
น้าและควบคุมให้น้าไหลลงไปทางใต้ด้วยทางน้าและพนังกั้นน้า 2) พ้ืนที่ตอนกลาง ซ่ึงเป็นท่ีตั้งของ
บารายขนาดใหญ่ท้ัง 4 แห่ง16 และคูน้ารอบปราสาท ซึ่งสร้างขึ้นในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 9 และ 13
เขตตอนกลางน้ีเป็นพื้นท่ีเก็บกักน้าขนาดใหญ่ท่ีรองรับน้าที่ไหลมาจากเขตตอนเหนือ ผลการศึกษายัง
แสดงให้เห็นว่ามที างนา้ ไหลออกจากบารายอีกดว้ ย (Fletcher et al., 2008b: 663; Stone, 2006: 1367)
ซึ่งเป็นคาตอบว่าบารายเป็นแหล่งกักเก็บน้าเพ่ือการชลประทาน และ 3) พื้นที่ตอนใต้เป็นพื้นท่ีรับน้าท่ี
กระจายออกจากเขตตอนกลางไปทางตะวันออกและใต้ (Stone, 2006: 1365) เขตตอนใต้น้เี ปน็ พ้ืนท่ีปลูก
ขา้ วท่หี ลอ่ เลีย้ งอาณาจักรพระนคร (Fletcher et al., 2008b: 661-668; Kummu, 2009: 1416-1418)
16 บารายขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งคือ อินทรตฏากะหรือบารายแห่งหริหราลัย ขนาด 700 3,200 เมตร สร้างในรัชสมัย
พระเจ้าอินทรวรมันท่ี 1 (ครองราชย์ ค.ศ. 887-889) ยโศธรตฏากะหรือบารายตะวันออก ขนาด 1,800 7,500 เมตร สร้างในรัชสมัย
พระเจ้ายโศวรมันท่ี 1 (ครองราชย์ ค.ศ. 889-910) บารายตะวันตก ขนาด 2,000 8,000 เมตร สร้างในราวกลางคริสต์ศตวรรษ
ท่ี 11 ราวรชั สมยั พระเจ้าสูรยวรมนั ที่ 1 (ครองราชย์ ค.ศ. 1006-1050) และพระเจ้าอทุ ัยทติ ยวรมันท่ี 2 (ครองราชย์ ค.ศ. 1050-1066)
และชยตฏากะหรือบารายเหนือ ซึ่งเป็นบารายที่ล้อมรอบปราสาทนาคพันทางตอนเหนือของนครธม ขนาด 900 3,500 เมตร
สรา้ งในรชั สมัยพระเจา้ ชัยวรมนั ท่ี 7 (ครองราชย์ ค.ศ. 1181-1218)