Page 35 - พื้นฐานสังคมเเละวัฒนธรรมเขมร
P. 35
ประวตั ิศาสตร์ 2-25
เซเดสเ์ สนอวา่ ในคร้ังแรกเริม่ ของการตง้ั พิธี “กมั รเตง ชคัต ต ราช” (ซงึ่ เซเดสเ์ ชอื่ ว่าคือ ศวิ ลงึ ค์)
แห่งลัทธิเทวราชาประดิษฐานอยู่บนมเหนทรบรรพตอันเป็นภูเขาธรรมชาติ ในรัชสมัยต่อมาการประดิษฐาน
“กัมรเตง ชคัต ต ราช” จะกระทา ณ ศาสนบรรพต ปราสาทที่สร้างบนฐานซ้อนช้ันอันจาลองแบบมาจาก
ภูเขาศักดิ์สิทธิ์) ท่ีใจกลางเมือง (เซเดส์, 2529: 47-48; Coedès and Dupont, 1943: 56-134) กล่าวคือ
ปราสาทบากองในรัชสมัยพระเจ้าอินทรวรมันท่ี 1 (ครองราชย์ ค.ศ. 887-889) ปราสาทบาแค็ง (ซึ่งเป็น
ศาสนบรรพตที่สร้างบนยอดเขาธรรมชาติ) ในรัชสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 (ครองราชย์ ค.ศ. 889-910)
ปราสาทแปรรูปในรัชสมัยพระเจ้าราเชนทรวรมันท่ี 2 (ครองราชย์ ค.ศ. 944-968) และปราสาทบายน
ในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันท่ี 7 (ครองราชย์ ค.ศ. 1181-1218) (Stern, 1951: 684-685) ในรัชสมัยของ
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ลัทธิเทวราชาถูกแปลงเป็นลัทธิพุทธราชา กล่าวคือกษัตริย์อ้างพระองค์ว่าเป็น
พระพุทธเจา้
3. สังคมพลงั นา้
ต้ังแต่ทศวรรษท่ี 1950 ถึงทศวรรษท่ี 1970 แบร์นาร์ด ฟิลิป โกรสลิเยร์ (Bernard Philippe
Groslier) นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสเสนอแนวคิดท่ีว่า เมืองพระนครเป็นเมืองพลงั น้า (hydraulic city)
ไว้ในงานเขียนหลายช้ิน15 แนวคิดท่ีว่าเมืองพระนครเป็นเมืองพลังน้าหมายความว่า เมืองพระนครเป็น
เมืองขนาดใหญ่ท่ีดารงอยู่ได้ด้วยระบบการจัดการน้าขนาดใหญ่ที่ซับซ้อนโดยรัฐ ระบบการจัดการน้า
ดังกล่าวมีศูนย์กลางท่ีบาราย (หรืออ่างเก็บน้าขนาดใหญ่) และคูคลอง โกรสลิเยร์พัฒนาข้อความคิด
ดังกล่าวจากข้อเสนอและงานศึกษาของนักวิชาการก่อนหน้าน้ัน และการศึกษาเพ่ิมเติมโดยการใช้
ภาพถ่ายทางอากาศและการทาแผนที่พระนคร (Fletcher et al., 2008b: 658-660; Kummu, 2009:
1413)
แนวคิดที่ว่าเมืองพระนครเป็นเมืองพลังน้าน้ีมีอิทธิพลอย่างมากในการอธิบายการทา เกษตร-
กรรมรวมถึงลักษณะทางสังคมและประวัติศาสตร์สมัยพระนคร แนวคิดน้ีถูกท้าทายจาก ดับเบิลยู. เจ.
ฟาน เลียร์ (W.J. van Liere) ในทศวรรษที่ 1980 เมื่อเขาเสนอคาอธิบายแย้งว่า “ไม่มีสระน้าที่สร้างคู่
กับศาสนสถานหรือคูเมืองแห่งใดเลยที่มีระบบกระจายน้าไปหล่อเลี้ยงทุ่งนาท่ีอยู่โดยรอบ แม้กระท่ัง
บารายตะวันออกที่พระนครซ่ึงเป็นสระน้าที่สร้างคู่กับศาสนสถานที่ใหญ่ท่ีสุดในลุ่มน้าโขงตอนล่างก็ไม่มี
ระบบกระจายนา้ โกรสลิเยร์สนั นษิ ฐานวา่ น้าจากบารายซึมผา่ นฐานของคนั ดนิ ซง่ึ อยูโ่ ดยรอบเป็นขอบของ
บารายไปสู่ช่องทางเก็บรวมน้าท่ีอยู่ดา้ นนอกและขนานกับคันดิน จากนั้นจึงไหลไปสู่ท้องทุ่งนา การคาด
15 โกรสลเิ ยร์สรปุ แนวคดิ เรื่อง เมืองพระนครเป็นเมอื งพลังน้าไว้ใน Groslier, 1979.