Page 62 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 62

1-52 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

ประเมินผล การประชุมครูเพ่ือช่วยกันทบทวนข้อสอบ การให้ความรู้และตัวอย่างงานท่ีเป็นรูปธรรมเก่ียวกับ
การประเมินแฟ้มสะสมงานแก่ครู การใช้ระบบดูแลช่วยเหลืออิเล็กทรอนิกส์กับครูในเรื่องการประยุกต์ใช้
เทคโนโลยีในกระบวนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การให้ครูประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในกระบวนการวัด
และประเมินผลการเรยี นรู้ในรูปแบบของการท�ำงานเป็นคู่ การกำ� กับติดตามผลปฏิบตั ิงานของครูเกย่ี วกบั การ
วัดและประเมินผลการเรียนรู้ การมีช่องทางติดต่อกับผู้ปกครองที่หลากหลายเก่ียวกับการวัดและประเมิน
ผลการเรียนรู้ของนักเรียน และการจัดหาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ของนักเรียน

       ตัวอย่างท่ี 10 เป็นการวิจัยพัฒนารูปแบบประเมินสมรรถนะ เป็นการวิจัยพัฒนาคล้ายกับกรณี
ตัวอย่างที่ 9

       ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบประเมินสมรรถนะด้านการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล
วิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก (ชวนนท์ จันทร์สุข, 2559)

       วัตถปุ ระสงค์การวจิ ัย
       1.	 เพ่ือศึกษาสมรรถนะ ตัวบ่งช้ีและเกณฑ์การประเมินสมรรถนะด้านการดูแลอย่างเอ้ืออาทร
ของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก
       2.	 เพ่ือพัฒนารูปแบบประเมินสมรรถนะด้านการดูแลอย่างเอ้ืออาทรของนักศึกษาพยาบาล
       3.	 เพ่ือประเมินคุณภาพของรูปแบบประเมินสมรรถนะด้านการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษา
พยาบาล
       กลุ่มตวั อยา่ งและเคร่ืองมอื วิจยั และการวเิ คราะห์ข้อมูล
       ระยะที่ 1 การศึกษาสมรรถนะ ตัวบ่งช้ีและเกณฑ์การประเมินสมรรถนะด้านการดูแลอย่างเอ้ืออาทร
ของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 15 คน และนักศึกษาพยาบาลชั้นปี
ท่ี 3 จํานวน 32 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบประเมินสมรรถนะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้
ค่าดัชนีความสอดคล้อง ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
       ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบประเมินสมรรถนะด้านการดูแลอย่างเอ้ืออาทรของนักศึกษาพยาบาล
กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้เช่ียวชาญ จํานวน 9 คน อาจารย์พยาบาล จํานวน 15 คน พยาบาลพ่ีเล้ียง
จาํ นวน 15 คน และนกั ศกึ ษาพยาบาล จาํ นวน 120 คน เครอื่ งมอื วจิ ยั ไดแ้ ก่ รา่ งรปู แบบประเมนิ แบบสอบถาม
ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ และแบบประเมินสมรรถนะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย
และส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน
       ระยะท่ี 3 การประเมินคุณภาพของรูปแบบ ประเมินสมรรถนะด้านการดูแลอย่างเอื้ออาทรของ
นักศึกษาพยาบาล โดยนํารูปแบบท่ีพัฒนาข้ึนไปใช้กับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท ผู้ให้ข้อมูล
ได้แก่ อาจารย์พยาบาล จํานวน 7 คน พยาบาลพี่เล้ียง จํานวน 7 คน และนักศึกษาพยาบาลช้ันปีท่ี 4 จํานวน
9 คน เคร่ืองมือวิจัย ได้แก่ รูปแบบประเมิน แบบบันทึก ประเด็นสนทนากลุ่มและแบบสอบถาม วิเคราะห์
ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉล่ีย ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เน้ือหา
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67