Page 60 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 60
1-50 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
2. สร้างรูปแบบการประเมินฯ โดยสังเคราะห์ข้อมูลแนวคิดและทฤษฎี ข้อมูลสภาพปัญหาและ
ความต้องการของสถานศึกษา และข้อมูลการสนทนากลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรที่เก่ียวข้อง
จํานวน 8 คน ปรับปรุงรูปแบบการประเมินฯ ตามข้อวิจารณ์และเสนอแนะของผู้เช่ียวชาญ จํานวน 9 คน
ตามผลการทดลองใช้เคร่ืองมือในรูปแบบในโรงเรียน 11 โรง จํานวนครู 57 คน
3. ตามผลการประเมินรูปแบบของผู้ใช้รูปแบบในโรงเรียน 3 โรง จํานวนครู 33 คน
การวเิ คราะหข์ อ้ มูล ใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวจิ ัย พบว่า
1. ด้านสภาพปญั หาและความตอ้ งการของสถานศกึ ษาระดับมัธยมศึกษาเกย่ี วกับการประเมนิ แผน
งานและโครงการ พบว่าสถานศึกษามีปัญหาเก่ียวกับการประเมินแผนงานและโครงการอยู่ในระดับปานกลาง
และมีความต้องการช่วยเหลือในการแก้ปัญหาดังกล่าวอยู่ในระดับปานกลางทุกรายการ
2. ด้านการพัฒนารูปแบบการประเมินแผนงานและโครงการในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ได้
รูปแบบท่ีมีองค์ประกอบ 3 ข้ันตอน คือ 1) ข้ันเตรียมการประเมิน ประกอบด้วย การแต่งตั้งคณะทํางาน
ประเมิน ประชุมชี้แจงคณะทํางานประเมินพร้อมมอบคู่มือการประเมินและเอกสารที่เกี่ยวข้อง และจัดทํา
ปฏิทินดําเนินงานประเมิน 2) ขั้นดําเนินการประเมิน ประกอบด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ แปลผล
และสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลการดําเนินงานตามแผนงานและโครงการเป็นรายด้านและรายโครงการ
เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลกับเกณฑ์ขั้นต่ําเพื่อแก้ไข และประเมินซํ้าในกรณีผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ไม่ผ่านเกณฑ์ และสรุปผลการประเมิน 3) ข้ันรายงานผลการประเมินแผนงานและโครงการ โดยภาพรวม
ประกอบด้วย การนําเสนอผลการดําเนินงานตามแผนงานและโครงการของสถานศึกษาเป็นรายด้าน
และรายประเภทโครงการ ในลักษณะตารางประกอบความเรียง และรายงานผลต่อบุคลากรท่ีเก่ียวข้อง
โดยเคร่ืองมือการประเมินตามรูปแบบจํานวน 9 ฉบับ มีค่าอํานาจจําแนกรายข้อต้ังแต่ 47 ถึง 91 และ
ค่าความเช่ือมั่นท้ังฉบับ ระหว่าง .94 ถึง .96
3. ด้านผลการประเมินแผนงานและโครงการในสถานศึกษา โดยใช้รูปแบบที่พัฒนาข้ึน ระยะ
การประเมินที่ 1 และ 2 โดยคณะทํางานประเมิน พบว่าสถานศึกษาดําเนินงานเกี่ยวกับแผนงานและโครงการ
มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินตามรูปแบบเป็นส่วนใหญ่
4. ผลการประเมินรูปแบบท่ีพัฒนาข้ึน โดยคณะทํางานประเมิน พบว่าลักษณะของรูปแบบและ
การใช้รูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากเป็นส่วนใหญ่
โดยสรุปผลการวิจัยคร้ังนี้ ทําให้ได้รูปแบบการประเมินแผนงานและโครงการในสถานศึกษาระดับ
มัธยมศึกษา ที่มีความเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาและสามารถนําไปใช้ได้จริง จึงสมควรนํารูปแบบ
การประเมินที่พัฒนาข้ึนไปใช้ประเมินในสถานศึกษาอ่ืน ๆ ระดับดังกล่าวต่อไป