Page 55 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 55
แนวคิดเกี่ยวกับการวิจัยทางการศึกษา 1-45
เคร่ืองมือท่ีใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า
(rating scale) 5 ระดับ มีค่าความเช่ือม่ันทั้งฉบับเท่ากับ 0.983 ข้ันแรกทําการวิเคราะห์องค์ประกอบ
เชิงสํารวจโดยทําการสกัดองค์ประกอบด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (principal component
analysis) และทําการหมุนแกนแบบมุมฉาก (orthogonal rotation) ด้วยวิธีแวรีแมกซ์ (varimax
method) โดยใช้โปรแกรม SPSS แล้วทําการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยใช้โปรแกรม LISREL
ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนาตัวชี้วัดคุณลักษณะความพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ-
พอเพียงสําหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตพ้ืนที่จังหวัดเชียงราย ได้องค์ประกอบตัวช้ีวัด
คุณลักษณะความพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จํานวน 5 องค์ประกอบ 18 ตัวชี้วัด โดย
สามารถอธิบายองค์ประกอบความพอประมาณ มีความแปรปรวนร่วมได้ร้อยละ 43.729 องค์ประกอบความ
มีเหตุผล มีความแปรปรวนร่วมร้อยละ 41.333 องค์ประกอบการมีภูมิคุ้มกันในตัวเอง มีความแปรปรวนร่วม
ได้ร้อยละ 44.430 องค์ประกอบด้านความรู้ มีความแปรปรวนร่วมได้ร้อยละ 46.175 และองค์ประกอบด้าน
คุณธรรม มีความแปรปรวนร่วมได้ร้อยละ 50.402 ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูล
เชิงประจักษ์ พบว่า ค่าไคสแควร์ มีค่า 5.26 (p = 0.38) องศาอิสระมีค่า 5 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง
(GFI) มีค่า 1.00 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGF) มีค่า 0.96 ค่าดัชนีรากค่าเฉล่ีย
กําลังสองของส่วนเหลือมาตรฐาน (Standardized RMR) มีค่าเท่ากับ 0.0052 แสดงว่าโมเดลองค์ประกอบ
ตัวช้ีวัดคุณลักษณะความพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสําหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
ตอนต้น ในเขตพื้นท่ีจังหวัดเชียงราย มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์
ตัวอย่างที่ 4 เป็นการวิจัยเชิงประเมิน ประเภทการประเมินหลักสูตร งานวิจัยลักษณะน้ีส่วนใหญ่
ผวู้ ิจยั จะเป็นผเู้ ลือกรปู แบบการประเมนิ ที่เหมาะสมกบั เรอ่ื งท่จี ะประเมนิ งานวิจยั เรอ่ื งนใ้ี ช้โมเดลซิปป์ (CIPP)
ดังน้ันการวิจัยเร่ืองน้ีจะต้องประเมินบริบท ปัจจัยน�ำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ของหลักสูตร
ชอื่ เรอ่ื ง การประเมินหลักสูตรโปรแกรมการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ โรงเรียนอนุบาล
ศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ (อารีรัตน์ ผาลี, 2559)
วัตถุประสงค์การวจิ ยั
1. เพื่อประเมินบริบทของหลักสูตรโปรแกรมการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ โรงเรียน
อนุบาลศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
2. เพื่อประเมินปัจจัยเบ้ืองต้นของหลักสูตรโปรแกรมการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ
โรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
3. เพ่ือประเมินกระบวนการของหลักสูตรโปรแกรมการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ
โรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
4. เพ่ือประเมินผลผลิตของหลักสูตรโปรแกรมการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ
โรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ