Page 54 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 54
1-44 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
มีนัยส�ำคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 โรงเรียนขนาดกลาง มีค่าความเที่ยงของแบบสอบชุด A และแบบสอบชุด
B อยู่ในระดับสูงทั้ง 2 ชุด เมื่อทดสอบความแตกต่างของค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาเป็นรายคู่ พบว่า
ค่าสัมประสิทธ์ิแอลฟาของแบบทดสอบทั้ง 2 ชุด ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ
โรงเรียนขนาดใหญ่ มีค่าความเที่ยงของแบบสอบชุด A และแบบสอบชุด B อยู่ในระดับต่ําท้ัง 2 ชุด เม่ือ
ทดสอบความแตกต่างของค่าสัมประสิทธ์ิแอลฟาเป็นรายคู่ พบว่า ค่าสัมประสิทธ์ิแอลฟาของแบบสอบทั้ง
2 ชุด ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติท่ีระดับ .05
3. ผลการวิเคราะห์ค่าฟังก์ชันสารสนเทศของข้อสอบโดยเฉล่ียของแบบสอบชุด A และแบบสอบ
ชุด B พบว่า แบบสอบทั้ง 2 ชุด ในโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดกลาง และในโรงเรียนขนาดใหญ่ มีค่า
ฟังก์ชันสารสนเทศของข้อสอบโดยเฉลี่ยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 ทั้งหมด และ
การวิเคราะห์ค่าฟังก์ชันสารสนเทศของแบบสอบโดยเฉลี่ยของแบบสอบชุด A และแบบสอบชุด B พบว่า
ในโรงเรยี นขนาดเลก็ คา่ ฟงั กช์ นั สารสนเทศโดยเฉลย่ี ของแบบสอบทง้ั 2 ชดุ แตกตา่ งกนั อยา่ งมนี ยั สำ� คญั ทาง
สถิติท่ีระดับ .05 โรงเรียนขนาดกลาง ค่าฟังก์ชันสารสนเทศโดยเฉลี่ยของแบบสอบท้ัง 2 ชุด แตกต่างกัน
อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และในโรงเรียนขนาดใหญ่ ค่าฟังก์ชันสารสนเทศโดยเฉล่ียของ
แบบสอบท้ัง 2 ชุด ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. การวิเคราะห์ข้อสอบตามทฤษฎีการทดสอบแบบด้ังเดิม และทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่ พบว่า
คะแนนสอบของนักเรียนที่สอบแบบสอบชุด A และแบบสอบชุด B โดยแบ่งตามขนาดโรงเรียนเล็ก ขนาด
กลาง และขนาดใหญ่ แบบสอบท้ัง 2 ชุด มีค่าความยากและค่าอ�ำนาจจ�ำแนก ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05
ตวั อยา่ งท่ี 3 เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาตัวชี้วัด การวิจัยในลักษณะน้ีจะเป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบ
ของคุณลักษณะที่ต้องการวัด เพื่อน�ำไปก�ำหนดเป็นตัวชี้วัดคุณลักษณะนั้น งานวิจัยนี้เร่ิมจากการวิเคราะห์
องค์ประกอบเชิงส�ำรวจ แล้วตามด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ชอื่ เรอื่ ง การพฒั นาตวั ชวี้ ดั คณุ ลกั ษณะความพอเพยี งตามหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี งสำ� หรบั
นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตพ้ืนท่ีจังหวัดเชียงราย (มนัสนันท์ ค�ำตัน, 2560)
วตั ถุประสงค์การวจิ ัย
1. เพอื่ ศกึ ษาองคป์ ระกอบเชงิ สาํ รวจตวั ชว้ี ดั คณุ ลกั ษณะพอเพยี งของนกั เรยี นระดบั ชนั้ มธั ยมศกึ ษา
ตอนต้นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. เพ่ือศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยันขององค์ประกอบตัวช้ีวัดคุณลักษณะความพอเพียงของ
นกั เรยี นระดบั ชนั้ มธั ยมศกึ ษาตอนตน้ ตามหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี งตามโมเดลสมมตฐิ านกบั ขอ้ มลู
เชิงประจักษ์
ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคร้ังนี้ ประกอบด้วยนักเรียนที่ศึกษาในระดับช้ันมัธยมศึกษาตอนต้น
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนในเขตพื้นท่ีจังหวัดเชียงราย จํานวน 1,000 คน การได้มาของ
กลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบหลายข้ันตอน (multistage random sampling)