Page 58 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 58

1-48 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

อย่างหลากหลายวิธีโดยเฉพาะใช้การช้ีแนะจากครูรุ่นเก่าที่เป็นผู้เช่ียวชาญการสอน และจัดหาสื่อและ
เทคโนโลยีสําหรับการเรียนการสอนอย่างเพียงพอและเหมาะสมกับการเปล่ียนแปลง

       2.	 ด้านกระบวนการดําเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ
(TQA) ในภาพรวมและทุกด้านอยู่ในระดับมาก แต่ด้านการมุ่งเน้นการดําเนินการยังต้องการการพัฒนา
เพ่ิมขึ้น จึงควรส่งเสริมให้บุคลากรเรียนรู้การบริหารจัดการคุณภาพอย่างแท้จริง และควรมีการรายงาน
กํากับติดตามหลังการอบรมอย่างต่อเน่ือง

       3.	 ด้านผลผลิต ประสิทธิผลของโรงเรียนในภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก แต่ผลลัพธ์ของ
ผเู้ รยี นควรครอบคลมุ ดา้ นคณุ ลกั ษณะทพ่ี งึ ประสงค์ และควรประเมนิ ผลการปฏบิ ตั งิ านอยา่ งสมาํ่ เสมอ พรอ้ ม
ทั้งนํามาใช้ในการวางแผนการดําเนินงานคร้ังต่อไป

       4.	 ด้านความพึงพอใจของนักเรียนต่อการบริหารงานของโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับ
ปานกลาง ส่วนของผู้ปกครองในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

       ตัวอย่างที่ 7 เป็นการวิจัยการสังเคราะห์ผลการประกันคุณภาพการศึกษา หรือการวิจัยอภิมาน
เป็นการน�ำผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ทว่ั ไป ระดบั ประถม-มธั ยมทว่ั ประเทศมาสงั เคราะห์ เพอื่ ใหเ้ หน็ ภาพรวมของผลการประเมนิ คณุ ภาพภายนอก
รอบสาม

       ช่ือเร่ือง การสังเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) ของ
สถานศึกษาข้ันพ้ืนฐานท่ัวไป ระดับประถม-มัธยม (สุภมาส อังศุโชติ และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์, 2559)

       วัตถุประสงค์การวจิ ัย
       1.	 เพ่ือสังเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558)
       2. 	เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสองและรอบสาม และ
สังเคราะห์ข้อเสนอแนะของผู้ประเมินภายนอก
       ข้อมูลที่น�ำมาใช้ในการสังเคราะห์ ประกอบด้วยผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.
2554-2558) และผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสอง (พ.ศ. 2549-2553) ของสถานศึกษาข้ันพื้นฐาน
ทั่วไปที่เปิดสอนระดับประถม-มัธยม ได้รับการรับรองผลการประเมินจากคณะกรรมการบริหารส�ำนักงาน
รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) แล้ว จ�ำนวนท้ังหมด 32,834 แห่ง และความคิดเห็น
ของผู้ประเมินภายนอกในเล่มรายงาน จ�ำนวน 329 เล่ม ผู้เข้าร่วมประชุมสนทนากลุ่มประกอบด้วยผู้มีส่วน
ได้เสียรวม 33 คน
       เครือ่ งมือทใ่ี ช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล และประเด็นการสนทนากลุ่ม
       การวเิ คราะหข์ อ้ มลู ใชก้ ารแจงนบั ความถี่ รอ้ ยละ คา่ เฉลย่ี สว่ นเบยี่ งเบนมาตรฐาน และการวเิ คราะห์
เนื้อหา
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63