Page 50 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 50

1-40 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

3. 	ขอบเขตของการวจิ ยั ทางการวัดและประเมินผลการศกึ ษา

       ขอบเขตของการวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษาอาจจ�ำแนกได้หลายลักษณะ เพ่ือให้เป็น
แนวทางในการวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา ผู้เขียนจะจ�ำแนกขอบเขตของการวิจัยทางการวัด
และประเมินผลการศึกษาตามเน้ือหาสาระในการวิจัย ดังที่วรรณ์ดี แสงประทีปทอง และสมคิด พรมจุ้ย
(2558) ได้สังเคราะห์งานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา สาขาวิชา
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชท่ีจัดพิมพ์ระหว่างปีการศึกษา 2545-2556 จ�ำนวน 163 เร่ือง
ดังน้ี

       3.1	 การวิจัยเกี่ยวกับการสร้างเครื่องมือวัดผลการศึกษา เป็นการวิจัยในประเด็นเก่ียวกับการสร้าง
เครื่องมือวัดผลการศึกษาด้านพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย หรือเจตพิสัย โดยส่วนใหญ่ก�ำหนดวัตถุประสงค์
การวิจัย 2 ข้อ คือ เพ่ือสร้างแบบวัดหรือแบบทดสอบ และเพ่ือตรวจสอบคุณภาพแบบวัดหรือแบบทดสอบ
การตรวจสอบคุณภาพของเคร่ืองมือวัด ส่วนใหญ่ตรวจสอบคุณภาพของเคร่ืองมือในด้านความตรง
ความเที่ยง ความยาก และอํานาจจําแนกตามประเภทของเครื่องมือวัด เช่น การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัย
การพัฒนาแบบประเมินการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียน การพัฒนาเคร่ืองมือวัดคุณธรรม จริยธรรม และ
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ การพัฒนาแบบประเมินทักษะ และการพัฒนาแบบประเมินความสามารถใน
การจัดการเรียนการสอน การวิจัยลักษณะน้ีประกอบด้วย การวิจัยการสร้างแบบวัดตามกรอบ หรือทฤษฎี
ท่ีใช้อ้างอิงถึงสิ่งที่ต้องการวัด การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดท่ีสร้างข้ึน

       3.2	 การวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาตัวช้ีวัด เกณฑ์ และมาตรฐานการประเมิน การวิจัยลักษณะน้ี
ส่วนใหญ่ก�ำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยเป็น 2 ข้อ คือ เพ่ือสร้างตัวช้ีวัด เกณฑ์ และมาตรฐานการประเมิน
และเพื่อตรวจสอบคุณภาพของตัวชี้วัด เกณฑ์ และมาตรฐานการประเมิน การตรวจสอบคุณภาพของตัวชี้วัด
เกณฑ์ และมาตรฐานการประเมิน ส่วนใหญ่ตรวจสอบคุณภาพในด้านความเหมาะสม ความตรง และความ
เท่ียง จําแนกเป็น การพัฒนาตัวชี้วัด การพัฒนาเกณฑ์การประเมิน และการพัฒนามาตรฐานการประเมิน

       3.3	 การวิจัยเกี่ยวกับการบริหารการวัดและประเมินผลการศึกษา เช่น การพัฒนาคลังข้อสอบ
การสอบด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ การทดสอบแบบปรับเหมาะ

       3.4	 การวจิ ยั เกย่ี วกบั การประเมนิ หลกั สตู ร สว่ นใหญเ่ ปน็ หลกั สตู รสถานศกึ ษา กำ� หนดวตั ถปุ ระสงค์
การประเมินโดยอิงรูปแบบประเมินเชิงระบบ รูปแบบซิปป์ และรูปแบบการประเมินแบบเสริมพลัง ประเด็น
ที่ศึกษา ได้แก่ บริบทของหลักสูตร ปัจจัยเบื้องต้นของหลักสูตร กระบวนการใช้หลักสูตร และผลผลิตของ
หลักสูตร เช่น หลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรฝึกอบรม

       3.5	 การวิจัยเกี่ยวกับการประเมินนโยบาย แผนงาน และโครงการ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ
ต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นการก�ำหนดรูปแบบการประเมินเชิงระบบ และรูปแบบซิปป์ วัตถุประสงค์การประเมิน
ได้แก่ ประเมินบริบทของโครงการ ปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ กระบวนการดําเนินโครงการ และผลผลิต
ของโครงการ
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55