Page 16 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 16

3-6 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

เรื่องท่ี 3.1.1 ความหมายและความส�ำคัญของการออกแบบการวิจัย

       การทำ� วจิ ยั ใด ๆ กต็ ามควรมกี ารออกแบบการวจิ ยั (research design) เพอื่ เปน็ การกำ� หนดแนวทาง
การท�ำวิจัยให้ชัดเจน และมีความเป็นไปได้ การออกแบบการวิจัยมีหลักการคล้ายกับการสร้างส่ิงปลูกสร้างที่
ผู้อยู่อาศัยต้องการ เช่น หากต้องการสิ่งก่อสร้างส�ำหรับอยู่อาศัย สิ่งก่อสร้างที่ต้องการอาจเป็นบ้านสองช้ัน
บ้านช้ันเดียว คอนโดมิเนียม หรืออาคารรูปแบบอื่น ๆ ก็ได้ การสร้างอาคารเหล่าน้ีต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ
มากมายหลายประเภท เชน่ อิฐ หนิ ทราย ปูน เหลก็ ไม้ และกระจก เป็นตน้ เพือ่ ใชส้ ร้างอาคารให้ใชป้ ระโยชน์
ได้ตามต้องการ แต่ก่อนท่ีอาคารจะถูกสร้างขึ้นมา เราจะไม่สามารถระบุได้เลยว่าจะต้องใช้วัสดุ
อะไรบ้าง จนกว่าเราจะสามารถระบุได้ว่าเราต้องการอาคารประเภทใด รูปทรงใด ขนาดเท่าใด หรือต้องการ
บ้านแบบไหน เช่นเดียวกับการออกแบบการวิจัย นักวิจัยจะไม่สามารถบอกได้เลยว่าเขาจะต้องท�ำอะไรบ้าง
หรือต้องใช้อะไรบ้างในระหว่างการท�ำวิจัย หากนักวิจัยไม่เริ่มต้นท่ีการออกแบบการวิจัยให้ชัดเจนเสียก่อน
เช่น นักวิจัยอาจจะไม่ทราบว่าจะใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นใคร ตัวแปรอะไรที่ต้องการวัด หรือเครื่องมือวิจัยท่ีต้อง
ใช้มีอะไรบ้าง ซึ่งเป็นเพราะนักวิจัยยังไม่ได้ออกแบบการวิจัย

1.	 ความหมายของการออกแบบการวิจยั

       นักวิชาการหลาย ๆ ท่านได้ก�ำหนดความหมายของการออกแบบการวิจัยไว้จ�ำนวนมาก เช่น
       เคอลิงเจอร์ และลี (Kerlinger & Lee, 2000, p. 449) กล่าวว่า การออกแบบการวิจัย หมายถึง
การท�ำแผนการท�ำงาน (plan) และก�ำหนดโครงสร้าง (structure) ของการศึกษา/ตรวจสอบ เพ่ือให้ได้มาซ่ึง
ค�ำตอบต่อค�ำถามวิจัยที่ก�ำหนดขึ้น ค�ำว่า “แผนการท�ำงาน” หมายถึง แผนการ รายการ หรือโครงการการท�ำ
วจิ ยั ซงึ่ เปน็ โครงรา่ งทนี่ กั วจิ ยั จะตอ้ งทำ�  เรม่ิ ตน้ จากการเขยี นสมมตฐิ านการวจิ ยั ไปจนถงึ แนวทางการวเิ คราะห์
ข้อมูล ส่วนค�ำว่า “โครงสร้าง” หมายถึง กรอบงาน (framework) หรือองค์ประกอบ (organization) หรือ
โครงรา่ ง (configuration) ของสว่ นประกอบของโครงสรา้ ง ซง่ึ ตอ้ งจดั วางใหส้ อดคลอ้ ง/สมั พนั ธก์ นั เคอลงิ เจอร์
และลีอธิบายเพิ่มเติมว่า ถ้าอธิบายง่าย ๆ โครงสร้างจะหมายถึง “โมเดล” ท่ีแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปร
โดยส่วนใหญ่การท�ำโมเดลการวิจัยมักจะท�ำไดอะแกรมหรือวาดภาพความสัมพันธ์ของตัวแปรท่ีน�ำมาศึกษา
ซ่ึงนักวิจัยต้องอธิบายว่าตัวแปรเหล่านั้นมาจากแนวคิดหรือทฤษฎีใด มีความสัมพันธ์กันอย่างไร นอกจากน้ี
การออกแบบการวิจัยจะต้องแสดงโครงสร้างของปัญหาวิจัย และแผนการตรวจสอบหรือการวิเคราะห์ข้อมูล
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่น�ำมาตอบปัญหาวิจัยได้
       โตรชิม (Trochim, 2001, p. 1) กล่าวว่า การออกแบบการวิจัย (research design) หมายถึง การ
ก�ำหนดกลุ่มตัวอย่าง (sample) การวัด (measurement) และตัวแปรท่ีจะศึกษา (treatment) เข้าด้วยกัน
ซึ่งต้องอธิบายให้เห็นถึงความสอดคล้องของท้ังสามส่วนน้ี
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21