Page 18 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 18

3-8 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

       2.1 	เพื่อตอบค�ำถามวจิ ัย (to provide answer to research questions) ค�ำถามวิจัย หมายถึง ส่ิงท่ี
นักวิจัยสงสัยและต้องการหาค�ำตอบ หรือเป็นสิ่งที่นักวิจัยต้องการแก้ไข ค�ำถามวิจัยอาจเป็นค�ำถามที่ชัดเจน
หรือค�ำถามตรง ๆ เช่น วิธีการสอน X1 ดีกว่าวิธีการสอน X2 หรือไม่ หรือเป็นการอธิบายปัญหาวิจัย
ซึ่งเป็นการอธิบายความตั้งใจของนักวิจัยท่ีต้องการศึกษาประเด็นต่าง ๆ ก็ได้ (Meltzoff, 1998, p. 13)
การออกแบบการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักวิจัยตอบค�ำถามวิจัยได้อย่างเหมาะสม ชัดเจน ถูกต้อง
และประหยัดมากที่สุดเท่าที่จะท�ำได้

       2.2 	เพ่ือควบคุมความแปรปรวน (to control variance) ความแปรปรวนของความคลาดเคลื่อนที่
นักวิจัยต้องการควบคุมด้วยการออกแบบการวิจัยท่ีดี คือ ความแปรปรวนของความคลาดเคล่ือนจากการ
ทดลอง ความคลาดเคล่ือนจากปัจจัยแทรกซ้อน และความคลาดเคล่ือนจากการวัด การออกแบบการวิจัยที่
เหมาะสมจะช่วยให้นักวิจัยขจัดความคลาดเคล่ือนของสิ่งเหล่านี้ได้ ซ่ึงจะช่วยให้สามารถสรุปผลการวิจัยได้
ชัดเจนมากข้ึน

       เคอร์ลิงเจอร์ และลี กล่าวโดยสรุปว่า วัตถุประสงค์ของการออกแบบการวิจัยทั้งสองข้อสามารถยุบ
เป็นวัตถุประสงค์หลักได้ข้อเดียว คือ เพื่อควบคุมความแปรปรวน (control variance) ด้วยเหตุว่าการ
ออกแบบการวิจัยถือว่าเป็นการจัดกระท�ำเง่ือนไขต่าง ๆ ของงานวิจัย ซึ่งถือเป็นกลไกของการควบคุมนั่นเอง
โดยกลไกน้ีมีหลักการพื้นฐาน 3 ประการ คือ การท�ำให้ความแปรปรวนเชิงระบบให้มากท่ีสุด (maximize
systematic variance) การควบคุมความแปรปรวนเชิงระบบจากปัจจัยแทรกซ้อน (control extraneous
system variance) และการลดความแปรปรวนของความคลาดเคลื่อน (minimize error variance)

3. 	ความสำ� คัญของการออกแบบการวิจยั

       การออกแบบการวิจัยมีความส�ำคัญต่อนักวิจัย รวมถึงผู้เก่ียวข้องกับการวิจัยมาก กล่าวคือ การ
ออกแบบการวิจัยที่รัดกุมและเหมาะสมจะช่วยให้นักวิจัยสามารถได้หลักฐานหรือข้อมูลจากการท�ำวิจัยที่ตรง
กับความต้องการของนักวิจัย สามารถน�ำมาใช้ตอบค�ำถามวิจัยได้อย่างชัดเจน ถ้าการออกแบบการวิจัยไม่
สอดคล้องกับค�ำถามวิจัยจะท�ำให้นักวิจัยตอบค�ำถามวิจัยได้ไม่ครบถ้วน หรือไม่ชัดเจน เพราะข้อมูลที่ได้มา
ไม่มีสารสนเทศเพียงพอที่จะใช้ตอบค�ำถามวิจัยได้ครบทุกแง่มุม นอกจากน้ี การออกแบบการวิจัยยังเป็นการ
ก�ำหนดแนวทางการท�ำวิจัยอย่างคร่าว ๆ ให้นักวิจัยด�ำเนินการได้อย่างมีคุณภาพ กล่าวคือ การออกแบบการ
วิจัยท่ีดีจะต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการ ขั้นตอน และส่ิงท่ีนักวิจัยต้องปฏิบัติ การมีข้อมูลเหล่านี้
จะช่วยให้นักวิจัยรู้ทิศทางของการท�ำวิจัย ไม่เสียเวลา และประหยัดงบประมาณในการท�ำวิจัย แต่ถ้าหาก
นักวิจัยออกแบบการวิจัยไม่ชัดเจน จะท�ำให้นักวิจัยเองไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นท�ำวิจัยอย่างไร และจะส้ินสุดเมื่อไร
ซึ่งจะต้องเสียเวลาค้นคว้าเพิ่มเติมอีกมาก

              หลังจากศึกษาเนือ้ หาสาระเร่อื งที่ 3.1.1 แล้ว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 3.1.1
                      ในแนวการศกึ ษาหนว่ ยที่ 3 ตอนที่ 3.1 เร่อื งท่ี 3.1.1
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23