Page 19 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 19
การออกแบบการวิจัย 3-9
เร่ืองที่ 3.1.2 หลักการออกแบบการวจิ ัย
เพอ่ื ใหก้ ารออกแบบการวจิ ยั มคี ณุ ภาพ คอื ชว่ ยใหน้ กั วจิ ยั สามารถตอบคำ� ถามวจิ ยั ไดอ้ ยา่ งเหมาะสม
ชัดเจนและประหยัด นักวิจัยควรเข้าใจหลักการออกแบบการวิจัย เพราะความเข้าใจในหลักการของการ
ออกแบบการวิจัยจะช่วยในการวางแผนการท�ำวิจัย และเลือกวิธีการท�ำวิจัยให้สามารถตอบค�ำถามวิจัยได้
อย่างแท้จริง
จากท่ีกล่าวมาแล้วว่า การออกแบบการวิจัยมีวัตถุประสงค์ส�ำคัญ คือ ควบคุมความแปรปรวนท้ัง
สามแบบท่ีกล่าวมาข้างต้นตามค�ำกล่าวของเคอลิงเจอร์ และลี (Kerlinger & Lee, 2000) ซ่ึงถือว่าเป็นหลัก
การสำ� คญั ทน่ี กั วจิ ยั ควรคำ� นงึ ถงึ ในการออกแบบการวจิ ยั เราเรยี กหลกั การนอ้ี ยา่ งยอ่ ๆ วา่ หลกั แมกซ์ มนิ คอน
(Max Min Con principle) ซึ่งมาจากค�ำว่า maximize system variance, minimize error variance
และ control extraneous systematic variance ตามล�ำดับ การอธิบายหลักการน้ี จะเห็นภาพได้ชัดเจน
มากในการวจิ ยั เชงิ ทดลอง แตอ่ ยา่ งไรกต็ าม การออกแบบการวจิ ยั ประเภทอน่ื ๆ กค็ วรประยกุ ตใ์ ชห้ ลกั การนี้
ด้วยเช่นกัน เพราะเป็นหลักการส�ำคัญของการออกแบบการวิจัยท่ีช่วยให้การท�ำวิจัยมีความรัดกุม และ
เหมาะสม ท�ำให้ผลการวิจัยมีความชัดเจน ซึ่งจะเกิดประโยชน์อย่างมากในการน�ำผลการวิจัยไปใช้ ไม่ว่าจะ
เป็นการน�ำไปใช้ด้านการก�ำหนดนโยบาย ด้านการปฏิบัติงาน และการปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
1. แมกซ์ (max) มาจากค�ำภาษาอังกฤษ maximize แปลว่า ท�ำให้เพ่ิมข้ึน ในการออกแบบการวิจัย
ค�ำนี้หมายถึง การออกแบบการวิจัยท่ีท�ำให้ความแปรปรวนของตัวแปรตามเกิดมาจากตัวแปรอิสระท่ีต้องการ
ศกึ ษาใหม้ ากทสี่ ดุ ตวั อยา่ งการออกแบบนี้ คอื การออกแบบการวจิ ยั เชงิ ทดลอง โดยใหเ้ งอื่ นไขของการทดลอง
ต่างกันมากที่สุด เช่น ในการออกแบบการวิจัยเพ่ือเปรียบเทียบคุณภาพของวิธีสอนของครูสองห้องท่ีใช้วิธี
การสอนต่างกัน หลักการที่ควรจะท�ำในการเปรียบเทียบน้ี คือ นักเรียนท้ังสองห้องควรได้รับวิธีการสอนที่
แตกต่างกัน เพื่อให้สามารถตรวจสอบผลการเรียนของนักเรียนท้ังสองห้องที่เรียนด้วยวิธีการต่างกันได้
นักวจิ ยั ควรออกแบบการวิจยั ใหส้ ามารถทราบวา่ ความแตกตา่ งของคะแนนสอบหลังเรยี นของนักเรียนทั้งสอง
ห้องเป็นผลมาจากวิธีสอนของครูท่ีแตกต่างกัน ไม่ใช่ผลจากปัจจัยอ่ืน ๆ หากนักเรียนท้ังสองห้องได้คะแนน
สอบต่างกันเนื่องมาจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น ครูห้องแรกเรียนจบตรงสาขาที่สอน ส่วนครูห้องที่สองสอนไม่ตรง
สาขาที่เรียนมา จะไม่ช่วยให้ทราบได้เลยว่าวิธีการสอนใดมีประสิทธิภาพมากกว่ากัน เพราะนักเรียนทั้งสอง
ห้องอาจมีคะแนนสอบต่างกันเพราะวุฒิการศึกษาของครูด้วย ไม่ใช่เพราะวิธีสอนอย่างเดียว
นอกจากน้ี การออกแบบการวิจัยที่มีการจัดกลุ่มตัวอย่างออกเป็นกลุ่ม ๆ และท�ำวิจัยเชิงทดลองกับ
กลุ่มเหล่าน้ี เช่น การศึกษาเปรียบเทียบผลการสอนสองวิธี (A1 และ A2) นักวิจัยอาจทราบว่านอกจากวิธี
สอนแล้ว ความสนใจในการเรียนของนักเรียนก็มีส่วนส�ำคัญต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ซ่ึงจะส่งผลต่อ
ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียน ดังน้ันนักวิจัยจึงควรออกแบบการวิจัยโดยน�ำความสนใจในการเรียน
มาวิเคราะห์ด้วย ดังภาพท่ี 3.1 โดยวัดความสนใจของนักเรียนแล้วแบ่งนักเรียนออกเป็นสองระดับ คือ